การ present งาน (paper) ชาวบ้าน

มีอย่างนึงที่การศึกษาบ้านเราชอบ(ให้)ทำกัน คือ การหา paper งานวิจัยใหม่ๆ ที่ได้รับการตีิพิมพ์ใน journal หรือว่า proceeding ของ conference ดังๆ แล้วเอามา present ให้คนอื่นฟัง ถ้าเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือว่างานวิจัย ก็มักจะเรียกกันว่า Journal Club แต่ว่าก็มักมีในวิชาทำนอง Research Methodology เหมือนกัน ซึ่งโดยมากนักศึกษาก็จะหา paper ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับงานที่ตัวเองต้องทำเป็น thesis/project จบ

จากประสบการณ์ในการนั่งฟังมาหลายปี หลายครั้ง ก็มีข้อคิดฝากถึงน้องๆ ทุกคนดังนี้

  • การ present paper งานคนอื่น ไม่ใช่การมานั่งแปล paper ให้ฟังนะครับ การแปลคำๆ หนึ่งเป็นภาษาไทยได้ ไม่ได้แปลว่าเรา “เข้าใจ” ในคำๆ นั้น เช่นคำว่า evolution แปลว่า วิวัฒนาการ แต่ว่า วิวัฒนาการ มันหมายถึงอะไร? เช่นคำว่า parallel processing แปลว่าการประมวลผลแบบขนาน แต่ว่าแล้วมันหมายความว่ายังไงล่ะ? ตรงนี้หลายคนตกหล่นไปมากๆ ไม่ได้ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ตัวเองอ่านให้ดีๆ
  • หลายคนพออ่านไปเจอตรงที่ยาก อ่านไม่เข้าใจ ซึ่งส่วนมากจะเป็นส่วนที่เป็น mathematical description/model ซึ่งไอ้ตรงนี้แหละ มันมักจะเป็น “เนื้อ” ของงานจริงๆ เพราะว่ามันมักจะอธิบายรายละเอียดของการทำงาน assumption และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ทำให้สิ่งที่เค้าเขียนใน paper มันทำงานได้ พอข้ามตรงนี้ไป ก็เลยไม่รู้เรื่องจริงๆ แล้วก็มาทำเนียนๆ ข้ามๆ ไปในตอน present ซึ่งจริงๆ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่หรอกนะ
  • ไม่มีการอ่าน paper ในเชิง critique นั่นคือ วิเคราะห์ความมีเหตุมีผล ความเหมาะสมของขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้วิจัยเขาได้อธิบายมา และความเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ต่อไป หลายอย่างที่เขียนมาใน paper หลายฉบับ มันก็ไม่ได้ make sense ในทุก context หรอกนะ หลายวิธีการมัน place assumption บางอย่างที่มัน specific มากกับลักษณะข้อมูลบางอย่าง หรือว่าบางอย่างก็เหมาเอาเลยโดยไร้เหตุผลก็มี แบบนี้ถ้าเราอ่านและศึกษาโดยไม่มีสายตาของการ critique แล้วเนี่ย มันก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา
  • แทบทุกคน พอถามอะไรที่มันเป็นพื้น เป็นฐาน ของแนวคิดของวิธีการที่ paper เขียนถึง กลับอ้างง่ายๆ ว่า “มันไม่มีใน paper” หรือว่า “paper เค้าไม่ได้เขียนถึง” ทั้งๆ ที่จริงๆ ก็มี reference ถึงไว้เรียบร้อยแล้ว หรือว่าเป็นพื้นฐานที่หาอ่านที่ไหนก็ได้ (โดยมากมักจะเป็นตำราระดับ undergrad text ทั่วไป) รบกวนทำการบ้านซักนิดนึงนะ
  • เวลาที่โดนถามอะไรนะ อย่าใช้ความ “นิ่ง” ในการเอาตัวรอด การพยายามนิ่ง ไม่ตอบไปเรื่อยๆ ignore ไปเรื่อยๆ รอจนกว่าคนจะหมดความอดทนหรือว่ารอให้เวลาหมดแล้วจะผ่านไปเอง เพื่อเอาตัวรอดไปเป็นครั้งๆ ไม่เคยช่วยใครในระยะยาว บางทีการเดาคำตอบ หรือว่าการพยายามคิด และโยนคำตอบที่มันไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่าหรอก แต่ว่าผ่านการคิดอย่างมีเหตุผลมาแล้ว เนี่ย มันดีกว่าตั้งเยอะ เดี๋ยวพวกอาจารย์เค้าก็ช่วยตบให้มันเข้ารูปเข้ารอยเองน่ะแหละ ยิ่ง “นิ่ง” ยิ่งพยายามไม่ตอบ ยิ่งแย่นะน้องนะ
  • Slide ที่เต็มไปด้วย text แล้วมายืนอ่านให้ฟัง (โดยเฉพาะพวกที่เสียง monotone) แล้วก็พยายามทำให้มันน่ารำคาญมากขึ้นด้วยลูกเล่นสารพัด หรือว่า unnecessary graphics/animation/transition เนี่ย รบกวนช่วยเลิกซะทีเถอะนะ
  • ทิ้งท้ายอีกครั้งเถอะ ช่วยๆ ดู list ใน reference ด้วย อันไหนท่าทางสำคัญช่วยไปหามาอ่านด้วยจะดีมากเลยนะ น่าจะช่วยได้เยอะ แล้วก็อย่าเลี่ยงส่วนที่ยากของ paper เลยนะ ขอร้องเถอะ
  • ที่สำคัญ อย่ามั่ว

ด้วยความปรารถนาดีถึงทุกคนที่ต้อง present งานชาวบ้าน