ซื้อ software แท้ vs. crack/เถื่อน

Dilemma (ทางสองแพร่ง) ที่มีมาช้านานในบ้านเรา ว่าซอฟต์แวร์ที่เราใช้เนี่ย จะซื้อของแท้ หรือว่าหาใช้ของเถื่อนตามศูนย์ซอฟต์แวร์แห่งชาติ หรือว่าดาวน์โหลดจากเน็ต ซึ่งคำตอบของทางเลือกมันก็ขึ้นกับหลากหลายปัจจัยด้วยกันล่ะนะ

  • หลายคน (ความเชื่อสาธารณะ) ยังคงมองซอฟต์แวร์ ว่าเป็นสิ่งที่แถมมากับเครื่องอยู่ พอจะซื้อเครื่องใหม่ ก็มักมีค่านิยมให้ร้าน load โปรแกรมให้เยอะๆ จะใช้ไม่ใช้อีกเรื่องนึง load ไว้ก่อน ซึ่งก็เลยกลายเป็นงูกินหางกับทางร้าน เพราะว่าการ load ซอฟต์แวร์ที่ลูกค้าต้องการให้ได้ กลายเป็น competing feature หนึ่งไปซะงั้น
  • Trialware/Shareware หลายตัวที่มีให้ download ใช้เพื่อทดลองจากเน็ต พอหมดอายุหรือว่าหมด feature เราก็มักจะนิยมทำการ “หา crack” หรือ “หา serial” ที่มันก็ไม่ได้หายากหาเย็นเท่าไหร่ เป็นอันดับแรกๆ ในความพยายามที่จะทำให้เราได้ใช้ซอฟต์แวร์ตัวนั้นๆ ต่อไป
  • ราคา อันนี้เรื่องใหญ่และเป็นปัญหาโลกแตก … จ่ายแพงกว่าทำไม ในเมื่อจ่ายร้อยเดียวได้ (หลายโปรแกรมด้วย) ทำไมต้องจ่ายเป็นพันด้วย? (ไม่ใช่แค่พันหรอก ซอฟต์แวร์บางตัวแพงกว่าเครื่องอีก อย่าง Mathematica เงี้ย ซื้อ laptop ได้สองเครื่องสบายๆ)
  • Availability อันนี้อาจจะเป็นเรื่องใหญ่กว่าด้วย … โปรแกรมหลายตัวอยากใช้ด่วนน่ะ แต่ว่ามันไม่มีขาย ติดต่อตัวแทนจำหน่ายก็เรื่องมาก ท่าเยอะ ต้องมีกระบวนการมากมายวุ่นวาย ทั้งเรื่องการเงิน ฯลฯ เฮ้อ ขับรถไปศูนย์ซอฟต์แวร์แป๊บเดียว ดีกว่ากันเยอะ
  • Support เราหลายคนก็ไม่ได้ต้องการ support อะไรมากมายกับโปรแกรมที่เราซื้อมาซะด้วย เพราะว่าส่วนมากก็ไม่ได้ใช้งานมากอะไรถึงขนาดที่ทำให้ support มัน crucial ขึ้นมา ใช้งานงูๆ ปลาๆ ไม่กี่ feature ไม่กี่อย่าง คลำๆ เอาเอง หรือว่าถ้ามันไม่ work จริงๆ ก็ไปเรียนเอา หรือว่าหาคนสอนแถวๆ ไหนก็ได้เอา

เอาเป็นว่า จะเหตุผลใดก็แล้วแต่ ทำให้การใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนยังคงเป็นทางเลือกหลักของการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในบ้านเราอยู่ดี

แล้วผมเขียนถึงเรื่องนี้ทำไม …​ พอดีวันนี้ iWork 08 หมดอายุ trial 30 วันแล้ว ก็เลยไปซื้อของแท้แบบมีกล่องมาซะหน่อย (จริงๆ ซื้อ license/serial ผ่าน net ก็ได้ แต่ว่าไหนๆ มันก็ราคาพอกัน ได้กล่องด้วยดีกว่า .. พวกบ้าวัตถุก็เงี้ย) …​ แล้วผมทำงั้นไปทำไมล่ะเนี่ย ก็ในเมื่อ iWork มันก็หา serial เถื่อนได้นี่ (จริงๆ ผมก็มี serial เถื่อนอยู่ในมือเรียบร้อยแล้วล่ะ)

ผมยืดถือธรรมเนียมปฏิบัติส่วนตัวอยู่ไม่กี่ข้อในการใช้ซอฟต์แวร์นะ

  1. Freeware/Free Software/Open Source มาก่อนเสมอ ถ้าทำได้ จ่ายแพงกว่าทำไมถ้ามีของฟรี (จริงๆ ไม่ใช่ละเมิดเค้ามา) หลายตัวมันไม่ feature-complete แต่ว่าถ้าเราต้องการใช้มากกว่านั้นและบังเอิญมันมีใน commercial software ก็จ่ายตังค์ซื้อ feature พวกนั้นไปสิ ถ้าเราไม่มีปัญญาจ่ายก็ถือว่าเราไม่ได้ต้องการมันจริง (รักจริงต้องสู้สินสอดได้) และใช้ๆ ไปเถอะ เราจะพบว่าหลายครั้งเราหลอกตัวเองว่าเราต้องการโน่นนี่ จริงๆ ไม่มีไม่ตายหรอก พวก Freeware/FS/OS พวกนี้หลายต่อหลายตัว “เจ๋ง” กว่าที่หลายคนคิดเยอะ
  2. ถ้าจำเป็นจริงๆๆๆๆ ก็ใช้มันไปเถอะ ไอ้ซอฟต์แวร์เถื่อนน่ะ แต่ว่านี่หมายถึงต้องหา Freeware/FS/OS ที่ทำงานแทนได้แบบสุดความสามารถแล้วนะ ห้ามเอามาเป็นข้ออ้างเด็ดขาดด้วย และต้องใช้ในการทำมาหากิน “เท่านั้น” และ
  3. “ถ้า” เราทำเงินจากมัน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ได้มากกว่าราคาซอฟต์แวร์ตัวนั้นเมื่อไหร่ เราจะต้องซื้อมันแบบถูกต้อง ไม่มีข้ออ้าง เพราะว่าคุณทำเงินได้มากกว่าราคามันแล้วนี่

ผมก็เลยลองไล่ซอฟต์แวร์ในเครื่องดู พบว่าผมมี Freeware/FS/OS ค่อนข้างหลายตัวที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญในการทำงานของผม ส่วนโปรแกรมที่ผมใช้ทำงานจริงๆ ผมก็เสียเงินซื้อเสียเป็นส่วนมาก (เช่น iWork ที่ Pages มันช่วยชีวิตผมในการทำ poster งานวิจัยมาหลายครั้งแล้ว และ Keynote ที่ถ้าไม่มีมัน ชีวิตผมในฐานะวิทยากรรับเชิญตามที่ต่างๆ และอาจารย์ประจำ คงจะกร่อยไปอีกเยอะ แล้วก็มี TextMate อีกตัว และอื่นๆ อีกหลายตัวด้วย) ….​ส่วนที่ยังใช้แบบเถื่อนอยู่ก็มีบ้างแหละครับ แต่ว่านั่นเป็นเพราะผมต้องใช้มันบ้าง (อย่างมากก็เดือนละครั้ง) .. แต่ไม่เคยทำเงินจากมันได้ไม่ว่าจะตรงหรืออ้อม และหาตัวแทนมันไม่ได้จริงๆ (พยายามหาแล้ว หาอีก หาแล้ว หาอีก) .. ก็ถือว่ายังตรงกับธรรมเนียมตัวเองล่ะนะ

ปล. ผมเห็นน้องๆ หลายคนนะ หัดเขียนโปรแกรมจะต้องใช้ Visual Studio Enterprise Architect edition ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้ว Express (ซึ่งฟรี) มันก็มี หรือว่าหลายคนหัดทำ 3D ก็ไปใช้ Maya “Unlimited” ทั้งที่จริงๆ แล้ว Personal Learning Edition มันก็มี ..​ ฯลฯ

ว่าแต่คุณล่ะ มีหลักการ/ธรรมเนียมปฏิบัติยังไงในการใช้ซอฟต์แวร์?

[update 1]: ขอขยายความข้อ 2 นิดหน่อย คือบางคนชอบเอาข้ออ้างที่ว่า “ต้องการศึกษาเพื่อนำไปใช้งาน” โดยมากมักจะเกิดขึ้นกับซอฟต์แวร์ที่เป็นระดับ professional เช่นฐานข้อมูล Oracle ชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ VS.NET Enterprise Architect โปรแกรมแต่งภาพ Photoshop CS3 โปรแกรม 3D Modeling/Animation เช่น Maya Unlimited บางทีก็เข้าใจและเห็นด้วยนะ ที่ว่าบางทีเราก็ต้องการเรียนรู้โปรแกรมพวกนี้เพื่อนำไปทำงานจริงในอนาคต ซึ่งโปรแกรมพวกนี้จริงๆ แล้วหลายตัวก็จะมี scaled-down version ให้ใช้ฟรีหรือราคาถูก และไม่ยอมให้นำไปใช้เพื่อทำการค้าได้ ให้ใช้อยู่แล้ว ถ้าจำเป็นต้องใช้โปรแกรมพวกนี้จริงก็ค่อยซื้อ version ที่เหมาะสมเอาทีหลัง หรือว่าถ้ามันไม่มี version อย่างที่ว่าจริงๆ (แต่ว่าบางทีก็มี trial-ware version) ก็ใช้เถื่อนใช้ crack ไปก่อน จนกระทั่งเราทำเงินกับมันได้ ซึ่งเร็วหน่อยก็ดี และซื้อใช้ซะ