สูตร

สิ่งที่พบบ่อยเวลาที่มีการนำเสนองานหรือว่าพูดถึงอะไรก็ตามที่มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) คนนำเสนอมักจะพูดกันว่า

“สูตร” (เช่น “เป็นไปดังสูตร” เป็นต้น)

ผมไม่ได้เรื่องมากหรือว่าจ้องจับผิดคนหรือว่า Picky มากกว่าไปกับเรื่องพวกนี้หรอกนะ แต่ว่าผมเชื่อว่ามันให้ความรู้สึกต่างกัน ระหว่าง

  • แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
  • ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ในเชิงคณิตศาสตร์
  • การมองคณิตศาสตร์เป็นภาษาๆ หนึ่ง

กับการใช้คำว่า “สูตร” ซึ่งมักจะให้ความรู้สึกในเชิงคำนวณ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ผิดทั้งหมด เพราะว่าในท้ายที่สุดแล้วความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Relation) นั้นท้ายที่สุดมักถูกนำไปใช้ในการคำนวณหา Output จาก Input หรือว่าในทำนอง R(Input) = Output อยู่แล้ว

แต่ว่าจุดมุ่งหมายในการพูดถึงความสัมพันธ์นั้นๆ น่ะ มันไม่ใช่ความรู้สึกที่อยากได้ผลลัพธ์แต่ถ่ายเดียว แต่ว่าหมายถึงความต้องการที่จะบอกว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไรอย่างไร อะไรส่งผลถึงอะไรอย่างไร มากกว่า

มันเป็นเรื่องของ ภาษาของเหตุและผล ซึ่งเป็นแบบจำลองในลักษณะ abstraction จากความเป็นจริง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ implied มาจาก “ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์” และ “แบบจำลองทางคณิตศาสตร์”

ไม่ใช่การมุ่งจะเอาผลโดยไม่คิดถึงเหตุ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ผมมีกับคำว่า “สูตร”

มีเรื่องขำๆ อีกเรื่อง เคยมีอยู่ครั้งที่ผมไปคอมเมนท์การใช้คำว่า “สูตร” ที่เป็นอสมการ (เป็น constraint ของปัจจัยบางปัจจัย) แล้วน้องคนที่นำเสนอ ก็เลยเลี่ยงไปใช้คำว่า “ดังสมการ” ทั้งๆ ที่เป็น “เครื่องหมายมากกว่า” อย่างชัดเจน เลยต้องคอมเมนท์ไปอีกที