รีวิวซีรี่ส์: Nikon 1 – “The 3 Lenses After”

เมื่อเดือนกันยายนปี 2011 Nikon ได้ออก “ระบบใหม่” คือ Nikon 1 หรือที่เรียกว่า “รูปแบบ CX” (CX Format) ซึ่งใช้ “เซ็นเซอร์ขนาดเล็ก” ที่มี Crop-Factor (หรือที่เราเรียกว่า “ตัวคูณ”) ที่ประมาณ 2.7 ที่ทำให้มันมี Depth-of-Field (DoF) กว้างมหาศาลโดยธรรมชาติ และทำให้ระบบทั้งระบบ (ไม่ใช่แค่ตัวกล้องนะ แต่คือ “กล้อง+เลนส์”) มีขนาดเล็กลงได้แบบมากมายเมื่อเทียบกับกล้อง Mirrorless ตัวอื่นๆ …​ โดย Nikon ได้ออกมาพร้อมกับเลนส์ 4 ตัวคือ 10mm f/2.8, 10-30mm f/3.5-5.6, 30-110mm f/3.8-5.6 และ 10-100mm f/4.5-5.6 PD-Zoom

แต่นี่เอง เป็นจุดเริ่มของเสียงวิจารณ์เยอะแยะมากมาย และเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ

  1. “ไม่มีเลนส์ไวแสง” (พวก f/1.x-f/2)
  2. “ไม่มีเลนส์มุมกว้าง” (กว้างกว่า 28mm)
  3. “ไม่มีเลนส์นอร์มอล” (เทียบเท่า 35 หรือ 50mm ซึ่งมักจะเป็นเลนส์ไวแสงด้วย) และ
  4. “เล่นชัดตื้นหรือ Shallow DoF ไม่ได้” (เป็นผลมาจากการไม่มีเลนส์ไวแสง และเซ็นเซอร์เล็ก)
  5. “ไม่มีเลนส์เฉพาะทาง” (เช่น ถ่ายภาพบุคคล ซึ่งมักจะหมายถึงเลนส์ระยะเทียบเท่า 85-135 ที่ไวแสง เล่นชัดตื้นได้ หรือเลนส์มาโคร)


SDIM0676.jpg

Nikon V1 และเลนส์ 6.7-13mm f/3.5-5.6, 10-30mm f/3.5-5.6, 30-110mm f/3.8-5.6, 18.5mm f/1.8 และ 32mm f/1.2

แล้วก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีกมาก เช่น คุณภาพของภาพที่ได้ ก็ไม่ได้หนีจากกล้องคอมแพคมากมายเท่าไหร่นัก ถึงมันจะดีกว่าก็ตาม ด้วยความที่เซ็นเซอร์มันใหญ่กว่าคอมแพคอย่าง P7000 แค่เท่าตัวเท่านั้น … ไม่ใช่แค่นั้น หลังจากนั้นไม่นาน Sony ก็ยังเชือด Nikon 1 นิ่มๆ ด้วยการออก “คอมแพคเซ็นเซอร์ใหญ่” แท้ๆ อย่าง RX100 ซึ่งใช้เซ็นเซอร์ขนาดเท่ากับ Nikon 1 ออกมาอีก .. นี่ยังไม่รวมถึงเรื่องคอขาดบาดตายอย่าง “ราคา” ที่ต้องยอมรับว่า Nikon 1 – V1 & V2 นี่แพงมากจริงๆ เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ เล่นเอาขายแทบไม่ออกจนกระทั่งต้องลดราคามาแบบครึ่งๆ จากราคาเปิดตัวโน่นเลยถึงจะมีคนเล่น (ผมเป็นคนหนึ่งที่ซื้อ V1 ตอนที่ออกใหม่ๆ และไม่ซื้อ V2 …. จะรอดู V3 ซึ่งตอนนี้ก็ยังเงียบผิดปกติ)
Continue reading

รีวิว: Nikon 1 – 32mm f/1.2 N

[อัพเดท:] สลับลำดับรูปและเพิ่มตัวอย่างการแก้ Color Fringing


รีวิวเลนส์ตัวสุดท้ายในซีรี่ส์ “Nikon 1 – The 3 Lenses After” ครับ ซึ่งนี่เป็นเลนส์แบบที่หลายต่อหลายคนรอคอยให้มันออกมาเสียที เพราะอะไรเหรอ คำตอบง่ายๆ คำตอบเดียวครับ “f/1.2” ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงว่าในที่สุดเราก็จะได้ “Shallow Depth-of-Field” หรือการ “ละลายฉากหลัง” ได้ในการถ่ายรูปปกติๆ (ไม่ใช่จ่อวัตถุ) จากกล้องในระบบ Nikon 1 กันเสียที!


DSCF4858.jpg

Product Shot แบบบ้านๆ เช่นเคย


Disclaimer เกี่ยวกับรูปถ่าย: ทุกรูปที่ลงในบทความนี้ ไม่มีรูปไหนที่ “จบหลังกล้อง” ทุกรูปถ่ายเป็น JPEG Normal จากกล้องเท่านั้น ไม่มีถ่าย RAW และทำต่อนิดหน่อยเท่าที่ไฟล์มันจะทำต่อได้ใน Lightroom เพื่อให้เห็นผลจากการใช้งานจริงในแบบ Real-World Usage ไม่ใช่เน้นแบบ Lab-Test รูปทั้งหมดสามารถดูรูปใหญ่ได้ที่ Flickr ซึ่งผมลงไว้ที่ Photoset นี้ [Review] Nikon 1 – 32mm f/1.2 N ซึ่งตอนนี้มีรูปเท่ากับที่ลงในบทความนี้ แต่อาจจะเพิ่มในอนาคต (ซึ่งจะลงใน Flickr แต่ไม่เอามาลงเพิ่มในบทความนี้แล้ว)


ก็เพราะว่า Nikon 1 ใช้เซ็นเซอร์ขนาดเล็กมาก เมื่อเทียบกับระบบ DSLR และ Mirrorless ทั้งหมด (ยกเว้น Pentax Q) ข้อดีโดยธรรมชาติของมัน (มี Depth-of-Field มหาศาล) กลายเป็นข้อเสียในตัวเอง (เล่น Shallow DoF ยากมาก) ซึ่งข้อเสียข้อนี้จะแก้ได้โดยการมี “เลนส์ไวแสง” และ “เลนส์ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น”


DSC_0932.jpg

ลูกชายกำลังนอนเล่นในบ้าน

ก่อนหน้าตัวนี้ Nikon ก็มีเลนส์นอร์มอลไวแสงออกมาก่อน นั่นก็คือ 18.5mm f/1.8 ซึ่งเทียบเท่ากับเลนส์ 50mm (อ่านรีวิว) และแน่นอนว่า ด้วยความที่ธรรมชาติของมันก็ยังเป็นเลนส์ 18.5mm เหมือนเดิม ดังนั้นแม้ว่าจะมีรูรับแสงขนาด f/1.8 ก็ยังช่วยอะไรไม่ได้มากนักกับเรื่อง Shallow DoF เล่นเอาคนที่อยากจะเห็นหลังเบลอๆ หรือพูดง่ายๆ “ละลายฉากหลัง” ผิดหวังไปตามๆ กัน

แล้วครั้งนี้ล่ะ? นอกจากจะไวแสงขึ้นมากมาย (f/1.2) แล้วยังมีทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น (32mm ซึ่งเทียบเท่ากับระยะ 86mm) อีกด้วย

Continue reading

Dynamic Range ของ D800 RAW

ปกติแล้วผมไม่ค่อยจะเขียนถึงกล้อง DSLR มากนัก ทั้งๆ ที่ใช้งานมันเป็นหลัก มากกว่ากล้องตัวอื่นๆ ที่มีอยู่ทั้งหมด และบอกตามตรงว่าเวลาไปเที่ยวไหนที่คิดว่าจะถ่ายภาพจริงจังมากกว่าเที่ยว ก็ยังต้องใช้เป็นกล้องหลักอยู่เสมอก็ตาม

แต่วันนี้ต้องเขียนถึงเรื่องหนึ่งเป็นกรณีพิเศษสักหน่อย ก็คือเรื่อง Dynamic Range ของไฟล์ RAW จากกล้อง D800 ครับ

เป็นที่รู้กันดีว่าไฟล์ RAW ของ D800 นั้นเก็บข้อมูลไว้มหาศาล (ถ่าย 14-bit แบบบีบอัดข้อมูลจะใช้พื้นที่กว่า 30MB/ไฟล์) และที่ base-ISO สามารถเก็บ Dynamic Range ของแสงที่ต่างกันไว้ได้ถึงประมาณ 14-stop ซึ่งถือว่ามากมายเอาเรื่อง …. แต่ในการใช้งานจริง มันหมายถึงอะไรล่ะ?

ลองมาดูภาพที่แปลงจาก RAW แบบดิบๆ ไม่ได้ทำอะไรจากกล้องก่อนนะครับ

ภาพนี้ผมถ่ายตอนที่ไปเที่ยวกระบี่ แล้วเห็นฝรั่งนักท่องเที่ยวคู่หนึ่งกำลังบอกรักกันแบบหวานมาก ที่ร้านเครื่องดื่มแห่งหนึ่งบนเกาะไร่เลย์ … “เฮ้ย สวยมาก” ผมคิด และหยิบกล้องขึ้นถ่ายไว้ทันที โดยที่กล้องตั้งไว้เป็น Aperture Priority ตั้ง Matrix Metering ซึ่งจะเอาลักษณะของภาพที่มันเก็บได้ ไปเทียบกับลักษณะภาพในฐานข้อมูล และจัดการตั้งค่าให้เหมาะสมกับภาพที่กำลังถ่าย (และได้รับการอัพเกรดให้มีจำนวนจุดวัดแสงทั้งหมด 91,000-pixel เทียบกับ D700 ซึ่งมี 1,005 จุด) และไม่มีการชดเชยแสงแต่อย่างใด


"Dear, I love you" [RAW]

“Dear, I love you” [RAW]

ตามคาดครับ “มืด” เพราะว่าแสงข้างนอกนั้นจ้ามาก สว่างมาก เรียกว่าถ้าจะชดเชยแสงก็ต้องไม่ต่ำกว่า 1-stop (+1EV) แน่ๆ แต่ถ้าเป็นแบบนั้นข้างนอกก็จะสว่างไปอีก … และแล้ว วินาทีนั้นก็ผ่านไป ….

ถ้าเป็นเมื่อก่อนคงจะคิดว่า “รูปเสีย” กับปลอบใจตัวเองว่า “เออ เอาไปทำ Silhouette ก็ได้ฟะ น่าจะสวยไปอีกแบบ” แหงๆ แต่เพราะว่ารู้ว่า D800 RAW มันน่าจะ “เอาอยู่” กับสถานการณ์แบบนี้

Continue reading

The Moonlight Sonata

“แสงจันทร์” เคยเป็นแสงที่สว่างที่สุดในเวลากลางคืนมาเนิ่นนาน ถึงมันจะสว่างไม่ได้เสี้ยวหนึ่งของแสงอาทิตย์เวลากลางวัน แต่มันก็สว่างพอจะให้อุ่นใจเวลากลางคืน

แต่เดี๋ยวนี้เรากลับรู้สึกว่าแสงจันทร์มันมืดมาก มืดจนไม่ได้ช่วยอะไรในตอนที่เรามองไม่เห็นอะไร


Moonlight Sonata, 1st Movement

Moonlight Sonata, 1st Movement

คงเพราะว่าเรามีไฟฟ้า เราแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ มากมาย มีไฟฉาย มีไฟหน้ารถ มีไฟบ้าน มี ฯลฯ แสงจันทร์ก็เลยดูด้อยลงไป

แต่ส่วนหนึ่งมันก็เพราะเราไม่ได้นั่งอยู่นิ่งๆ ให้นานพอ ให้แสงจันทร์มันค่อยๆ ส่องกระทบสิ่งต่างๆ สะท้อนเข้าตาเราให้นานพอกระมัง … หลายครั้งถ้าเราทำแบบนั้นกลางป่ากลางเขา เราอาจจะเห็นเลยว่า แสงจันทร์มันก็สว่างและทำให้เราเห็นอะไรต่ออะไรได้มากพอดู

ก็เหมือนกับ “ความรู้” และ “ความเข้าใจ” ล่ะนะ เวลาที่เรา “รับรู้” มัน อาจจะเหมือนกับแสงไฟประดิษฐ์ต่างๆ ที่ทำได้เร็ว ทำได้ทันที เปิดสวิทซ์ปุ๊บก็ติดปั๊บ ไฟติดแล้วมองเห็นสว่างไสว … แต่ก็อยู่จำกัดกับที่แคบๆ เท่าที่แสงไฟประดิษฐ์หรือไฟฟ้าหล่านั้นจะส่องไปถึง


Moonlight Sonata, 2nd Movement

Moonlight Sonata, 2nd Movement

Continue reading

รีวิว: Nikon 1 – 6.7-13mm f/3.5-5.6 VR

[อัพเดท: 14 กันยายน 2013] เพิ่มรูปถ่ายเปรียบเทียบกับ D800+24-120 f/4 N


สิ่งที่ทำให้ผมอึดอัดมาก เวลาจะต้องใช้ Nikon 1 เป็นกล้องหลักหรือกล้องตัวเดียวเวลาไปเที่ยว ก็คือ “การที่มันไม่มี Ultra-Wide” ทั้งๆ ที่ด้วยความที่เซ็นเซอร์มันเล็ก มันน่าจะ “เกิดมาเพื่อสิ่งนี้” .. คิดดูสิ Depth-of-Field (DoF) มหาศาลโดยธรรมชาติซะขนาดนั้น … และแล้วด้วยเลนส์นี้ ความต้องการของผมก็เป็นจริง เพราะมันคือ Ultra-Wide Zoom ที่ให้ Field-of-View (FoV) เทียบเท่า 18-35mm


DSCF0635.jpg

หน้าตาของ 6.7-13mm f/3.5-5.6 .. Product Shot แบบบ้านๆ


Disclaimer เกี่ยวกับรูปถ่าย: ทุกรูปที่ลงในบทความนี้ ไม่มีรูปไหนที่ “จบหลังกล้อง” ทุกรูปถ่ายเป็น JPEG Normal จากกล้อง ไม่ก็ RAW (ภาพที่แสงยากๆ มีความต่างแสงเยอะๆ ถ้าใช้ JPEG มีโอกาสข้อมูลหายสูง ก็จะถ่าย RAW ไว้) และทำต่อนิดหน่อยเท่าที่ไฟล์มันจะทำต่อได้ใน Lightroom เพื่อให้เห็นผลจากการใช้งานจริงในแบบ Real-World Usage ไม่ใช่เน้นแบบ Lab-Test รูปทั้งหมดสามารถดูรูปใหญ่ได้ที่ Flickr ซึ่งผมลงไว้ที่ Photoset นี้ [Review] Nikon 1 – 6.7-13mm f/3.5-5.6 VR ซึ่งตอนนี้มีรูปเท่ากับที่ลงในบทความนี้ แต่อาจจะเพิ่มในอนาคต (ซึ่งจะลงใน Flickr แต่ไม่เอามาลงเพิ่มในบทความนี้แล้ว)


เลนส์ตัวนี้นับเป็นเลนส์ที่ผมตั้งตารอมากที่สุดในบรรดา Line up ที่ประกาศตัวออกมาล่วงหน้าของ Nikon 1 ทั้งหมด ด้วยความที่ผมเป็นคนชอบถ่ายเลนส์มุมกว้างมาก (ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง รวมถึงประเด็นปรัชญาแบบที่เคยเขียนไว้ในบทความ “มุมกว้าง” ด้วย) ผมก็เลยสั่งร้านประจำไปว่ายังไงๆ ก็ต้องสั่งให้ผมตัวนึงนะ


DSC_0283.jpg

ท้องฟ้า หน้าผา ทะเล
สถานที่: Centara Grand Beach Resort & Villas (กระบี่)

Continue reading

รีวิว: Nikon 1 – 18.5mm f/1.8

ผมถือว่า

ไม่มีระบบกล้อง-เลนส์ไหนจะสมบูรณ์ หากปราศจาก “​Normal Prime ไวแสง”

ดังนั้นผมเลยขอเปิดซีรี่ส์บทความ “Nikon 1 – The 3 Lenses After” ด้วยเลนส์ตัวแรกที่ออกมา ก็คือ Nikkor 18.5mm f/1.8 ซึ่งเมื่อใส่กับ Nikon 1 ที่มี CX Sensor (Crop factor = 2.7) แล้วจะได้ Field of View เทียบเท่ากับเลนส์ 50mm ทำให้ถือได้ว่า “นี่คือเลนส์ Normal Prime ไวแสง” ตัวแรกของระบบ Nikon 1


DSCF4802.jpg

Nikon 1 – Nikkor 18.5mm f/1.8 บนโต๊ะเปื้อนฝุ่น


Disclaimer เกี่ยวกับรูปถ่าย: ทุกรูปที่ลงในบทความนี้ ไม่มีรูปไหนที่ “จบหลังกล้อง” ทุกรูปถ่ายเป็น JPEG Normal จากกล้อง และทำต่อนิดหน่อยเท่าที่ไฟล์ JPEG Normal มันจะทำต่อได้ใน Lightroom เพื่อให้เห็นผลจากการใช้งานจริงในแบบ Real-World Usage ไม่ใช่เน้นแบบ Lab-Test รูปทั้งหมดสามารถดูรูปใหญ่ได้ที่ Flickr ซึ่งผมลงไว้ที่ Photoset นี้ [Review] Nikon 1 – 18.5mm f/1.8 ซึ่งตอนนี้มีรูปเท่ากับที่ลงในบทความนี้ แต่อาจจะเพิ่มในอนาคต (ซึ่งจะลงใน Flickr แต่ไม่เอามาลงเพิ่มในบทความนี้แล้ว)


ความรู้สึกแรกตั้งแต่เห็นเลนส์ตัวนี้ที่ร้านประจำ ก็คือ “ใหญ่ว่ะ” ซึ่งอันที่จริงแล้วก็ไม่ได้เกินความคาดคิดมากไปนัก เพราะเลนส์ไวแสงยังไงๆ มันก็ค่อนข้างใหญ่อยู่แล้วล่ะ ยิ่งไวแสงมากยิ่งใหญ่มากขึ้น … แต่ .. เอ จำได้ว่า Panasonic 20mm f/1.7 รุ่นแรกมันเหมือนจะเล็กกว่านี้นี่หว่า! โดยเฉพาะเมื่อเอามาใส่กับ Nikon V1 เห็นได้ชัดเลยว่ามันค่อนข้างจะใหญ่เมื่อเทียบกับตัวกล้อง ดังนั้นความหวังที่จะมีเลนส์ Normal ตัวเล็กๆ (อารมณ์ 50mm f/2 Summicron เทียบกับขนาดบอดี้ของ Leica M8/9) ก็จบไปเรื่องนึง


DSC_0047.jpg

เจ้าหมาน้อยทำหน้าแบบ “พ่อจาปายหนายยยอีกแย้ววว?”
สถานที่: บ้าน


Continue reading

รีวิว: Sigma DP2 Merrill – High ISO

จากบทความ รีวิว: Sigma DP2 Merrill ที่ผมเขียนถึง Sigma DP2M ว่า

และข้อดีข้อเดียวของมันที่ว่านี้ก็คือ “ภาพที่ได้ ที่ ISO ต่ำ” ครับ … ภาพที่ ISO ต่ำ Sigma DP2 Merill ต่อย X-Pro1+35/1.4, D800+Sigma 50/1.4, Nikon 50/1.8 ร่วงสบายๆ

และพูดถึง ISO สูงของกล้องตัวนี้ไว้ง่ายๆ ว่า

อย่าคิดว่ากล้องตัวนี้ถ่ายได้เกิน ISO 800 ซึ่งเป็นอะไรที่โหดร้ายมากในยุคที่แม้แต่กล้อง Compact ตัวเล็กๆ นี่ยังมี ISO 1600 ที่พอใช้งานได้ …. ผลที่ได้จาก ISO 800 ขึ้นไป นี่มันแบบ … ห่วยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ล่ะ สีเพี้ยนกระจาย Noise เยอะแบบไม่รู้จะว่าไง

ก็เลยมีคนถามผมหลังไมค์ว่า แล้วไอ้ที่ว่าห่วยๆ นี่ขนาดไหนล่ะ ผมเลยเอามาลงให้ดูกันสักหน่อยครับ ว่าเป็นไง โดยรูปทั้งหมดนี้ถ่าย RAW จากกล้อง ตั้งบนโต๊ะกินข้าวง่ายๆ ถ่ายของที่วางอยู่บนชั้นวางของใต้ TV ที่บ้านธรรมดา ไม่มีอะไรซับซ้อนหรือจัดฉาก แล้วใช้ Sigma Photo Pro (SPP) ในการ export เป็น JPEG ง่ายๆ เลือกทุกอย่างเป็น default หมด ก็คือ

  • เลือกให้ export จากข้อมูล X3 จากกล้องเลย ไม่ปรับอะไรทั้งนั้นกับเรื่องสีสันความสว่าง ฯลฯ
  • เลือกการจัดการกับ Noise แบบ default ทุกอย่าง ซึ่ง SPP จะทำ Noise reduction ให้แบบ normal ซึ่งเป็นตัวเลือกปกติที่ผมใช้กับรูปจากกล้องตัวนี้ทั้งหมด
  • จากนั้น import เข้า LR5 และทำการ export อีกครั้งเพื่อแปะลายน้ำอัตโนมัติ ย่อขนาดให้ด้านยาวเป็น 1600 pixels มี sharpen for screen เป็นอันจบ

ตัวเลือกแบบนี้ก็เพื่อให้เห็นว่าสถานการณ์ใช้งานจริงแบบ export จริงๆ ไม่ได้มานั่งทำละเอียดทีละภาพๆ จาก SPP (ซึ่งห่วยมาก) นั้นจะได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร

รูปแรกจาก ISO100 ก่อน เพื่อให้เห็นว่าที่ base-ISO เป็นยังไงบ้าง แต่อยากจะบอกเลยว่า scene แบบนี้ไม่ใช่แนวถนัดเลยของ DP2M (อะไรก็ตามที่สีดำเยอะๆ จะไม่ใช่แนวถนัดของกล้องตัวนี้ เท่าที่สังเกตนะ จะมี color cast หรือ color noise เกิดขึ้นได้เยอะและง่ายมาก


SDIM0564.jpg

Continue reading

รีวิว: Sigma DP2 Merrill

ไม่ได้รีวิวของเล่น (กล้อง เลนส์ หูฟัง) มาซะนานเลย ว่าจะเขียนๆ ก็ไม่ได้เขียนสักที โดยเฉพาะ Fujifilm X-Pro1 ที่จนแล้วจนรอดก็ยังไม่ได้เขียน (และก็คงจะยังไม่เขียนต่อไป จนกระทั่ง firmware 3.0 ออกมาซะก่อน) …​ แต่ “ตัวนี้”​ คงต้องเขียนถึงเป็นกรณีพิเศษซะหน่อย …. และ “ตัวนี้” ที่ว่าก็คือ Sigma DP2 Merrill ครับ


DSC_9430.jpg

Sigma DP2M วางอยู่หน้ากล่อง เสริมหล่อด้วย Hood กับ View Finder ที่ซื้อแยกต่างหาก

Disclaimer เกี่ยวกับรูปถ่าย: ทุกรูปที่ลงในบทความนี้ ไม่มีรูปไหนที่ “จบหลังกล้อง” ทุกรูปถ่ายเป็น X3 RAW จากกล้อง Convert เบื้องต้นใน Sigma Photo Pro และทำต่อใน Lightroom เพื่อให้เห็นผลจากการใช้งานจริงในแบบ Real-World Usage ไม่ใช่เน้นแบบ Lab-Test รูปทั้งหมดสามารถดูรูปใหญ่ได้ที่ Flickr ซึ่งผมลงไว้ที่ Photoset นี้ [Review] Me & Sigma DP2 Merrill ซึ่งตอนนี้มีรูปเท่ากับที่ลงในบทความนี้ แต่อาจจะเพิ่มในอนาคต (ซึ่งจะลงใน Flickr แต่ไม่เอามาลงเพิ่มในบทความนี้แล้ว)

ทำไมเป็นตัวนี้?

แน่นอนว่าคำถามแรกก็คือ “กล้องมีตั้งเยอะแยะ ที่มีแล้วก็เยอะ ทำไมเป็นตัวนี้?” … ถ้าชอบกล้องตัวเล็กที่มีเลนส์ Prime ก็มีทั้ง Fujifilm X100, X-Pro1+35/1.4, Nikon V1+18.5/1.8 อยู่แล้ว ยังไม่นับ Leica M8+35/2.5 ที่เล็กพอตัวอีกด้วย

คำตอบเรื่องนี้ดูท่าจะเป็นเรื่องของทั้งหัวใจและเหตุผลครับ … ผมชอบ “หลักการ” ของ Foveon X3 Sensor มาก ทั้งหลักการและความกล้าที่จะต่างจาก Bayer Sensor ทั่วไป (ซึ่งอันที่จริงแล้วผมชอบคนที่ทำอะไรแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ครับ เช่นเดียวกับการที่ผมชอบ X-Trans Sensor ของ Fujifilm) … และผมชอบ Street Camera ที่มีเลนส์ Prime กับ Sensor ใหญ่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วด้วย


SDIM0001.jpg

ดอกไม้บานหน้าวัด, สถานที่: Kamakura, ญี่ปุ่น

Continue reading

ว่าด้วย iOS 7 “Developer Beta”

[update 29/06] เพิ่มกรณีตัวอย่างของแอพที่เจ๊ง และเพิ่มบทส่งท้ายจากการเขียนเพิ่มเติมของคุณ Prem Sichanugrist ผ่านทาง Facebook


เป็นเรื่องปกติไปแล้ว ว่าก่อนที่ซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งจะออกมาให้ใช้งานได้จริงจังนั้น จะต้องผ่านการทดลองใช้งาน โดยมักจะมี “รุ่นทดลองใช้” หรือที่เราเรียกว่า Beta ออกมาให้ลองใช้งานจริงจังก่อน ซึ่งแน่นอนว่ารุ่นทดลองใช้ จะเป็นอะไรที่ยังมีปัญหาอยู่เยอะ ยังไม่สมบูรณ์ แต่มีความสามารถหลักๆ เพียงพอให้ทดลองใช้แล้ว

แล้วมันมีเรื่องอะไรให้ผมต้องเขียนถึงล่ะครับ ก็ในเมื่อมันเป็นเรื่องปกติ๊ปกติขนาดนั้น?

เรื่องของเรื่องก็คือ เมื่อไม่นานมานี้ Apple ได้ประกาศ iOS รุ่นใหม่ คือ iOS 7 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงแบบล้างบางในเรื่องการออกแบบและการใช้งานหลายๆ อย่าง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ขนาดที่ทาง Apple เองบอกว่า “ใหญ่ที่สุดตั้งแต่ออกไอโฟนมา” เลยทีเดียว และแน่นอนว่าก็เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง Apple ก็จะออกรุ่นทดลองใช้มาให้ทดลองใช้ก่อน

แน่นอนว่าการประกาศรุ่นใหม่แบบนี้ และการเน้นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่มีมา รวมถึงการโชว์ความสามารถต่างๆ กลางเวที WWDC หรือการที่มีคนนั้นคนนี้เขียนถึง … มันย่อมกระตุกต่อมอยากรู้อยากเห็น อยากมีก่อนคนอื่น อยากลองใช้ อยากลองดู อยากเท่ อยาก ฯลฯ อยากสารพัดอยากของหลายๆ คนแน่นอน ก็เลยต้องรีบหามาลองเล่นกัน

ซึ่งผลก็คือเสียงวิจารณ์แบบ “ห่วย” “ใช้แอพหลายตัวแทบไม่ได้เลย” “เปิดตัวนั้นก็แครช เปิดตัวนี้ก็ค้าง” “เครื่องร้อนมาก” “แบตหมดเร็ว” “Apple ห่วยขนาดนี้เลยเหรอ” ฯลฯ … หลายคนพยายามบอกว่าก็มันยังเป็น Beta หรือรุ่นทดลองใช้อยู่ แต่ก็มักจะมีคนแย้งเสมอๆ ว่า “Beta ก็ต้องค่อนข้างสมบูรณ์แล้วนะ ไม่งั้นจะออกมาให้ทดลองใช้ทำไม ต้องการอะไรเหรอ” ทำนองนี้ค่อนข้างจะเยอะ

ก็…. มันไม่ใช่ “Beta” ปกติน่ะสิครับ …..


dev_beta.png

ครับ มันคือ “Developer Beta” ไม่ใช่ Public Beta หรือ Consumer Beta แล้วมันหมายความว่ายังไงล่ะ?

Continue reading

จุดยืน ต้นทุน มูลค่า ซอฟต์แวร์ และ “แอพตู้”

เคยสัญญาว่าจะเขียนภาคต่อของบทความ “ต้นทุน/มูลค่า” ที่แท้จริงของซอฟต์แวร์” ที่เป็นประเด็นต่อเนื่อง แต่ไม่มีเวลาและไฟพอที่จะเขียน แต่พักหลังๆ เนื่องจากตัวเองได้ involve กับการบ่มเพาะและสร้าง Startup Tech Industry ในประเทศไทยค่อนข้างมาก ก็เลยคิดว่าถึงเวลาที่ผมจะต้องเขียนเรื่องนี้ต่อเสียที

จากบทความก่อน ที่ผมลงท้ายว่า

นี่แหละครับ คือ “ต้นทุนที่แท้จริงของซอฟต์แวร์” ที่เราไม่เคยอยากจะจ่ายมัน … มันเป็นอะไรมากกว่าเงินทอง แต่มันเป็นศักยภาพการแข่งขันโดยรวมของประเทศ ที่นับวันยิ่งจะเสียไป … โดยที่เราไม่เคยคิดจะแคร์อะไรกับมันเลยด้วยซ้ำ และยิ่งเหยียบย่ำให้มันแย่ลงทุกวัน ก่อนจะช่วยด้วยปากด้วยการซ้ำเติม ว่าบ้านไหนเมืองไหนเค้าไปถึงไหนกันแล้ว

มันเป็น The price we all have to pay … สิ่งที่พวกเราทุกคนต้องจ่ายด้วยกัน

ที่จริงแล้วผมต้องการจะสื่อถึงอะไรกันแน่หรือสื่อถึงอะไรบ้างเหรอ อะไรคือ “สิ่งที่เราทุกคนต้องจ่าย” แล้วทำไมเราถึงต้องแคร์กับมัน?

ต้องบอกก่อนนะครับว่า ผมไม่ได้สนใจเรื่อง “รายได้ของการขายโปรแกรมให้กับ End User” เป็นหลักด้วยซ้ำไป เมื่อผมเขียนบทความนั้น ดังนั้นประเด็นเรื่อง “การลงแอพตู้ทำลายรายได้ของนักพัฒนาหรือไม่” จึงไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่ผมเห็นปัญหาภาพใหญ่กว่านั้น ว่าโดยทัศนคติแล้ว พวกเรา “ตีค่า”​ ซอฟต์แวร์ หรือคอนเทนท์ กันอย่างไร มีมูลค่าเท่าไหร่ เป็นเพียงของแถม เป็นสิ่งที่ไม่มีมูลค่า หรือตรงกันข้าม

เมื่อทัศนคติทางสังคม ยังตีมูลค่าและต้นทุนของ “ซอฟต์แวร์” ต่ำเกินกว่าที่ควรจะเป็น เรื่องที่เกิดขึ้นได้ก็จะมีมากมายอย่าง ส่งผลลบกันทั้งนั้น เช่น

  • เกิดอะไรขึ้นกับเรื่อง Tablet ป.1 ครับ? ต้นทุนเรื่องมูลค่าของโปรแกรมที่จะต้องพัฒนาขึ้นมารองรับอยู่ที่ไหน แล้วเนื้อหาล่ะ ผมเห็นแต่สนใจเรื่องฮาร์ดแวร์กันซะจนไม่ได้สนใจเรื่องพวกนี้เลย แล้วก็นำมาซึ่งการเร่งพัฒนาและการแปลงเนื้อหาอย่างฉาบฉวยไม่ได้คิดหน้าคิดหลังกันเท่าไหร่
  • เกิดอะไรขึ้นกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูล การพัฒนาโปรแกรมด้านบริการหลายต่อหลายตัวครับ? เราไม่ได้สนใจเรื่องคุณภาพของข้อมูล คุณภาพเรื่องการใช้งาน ฟังก์ชั่นการทำงาน อะไรกันเลย เราละเลยเรื่องพวกนี้มากมาย เราคิดว่าต้นทุนของซอฟต์แวร์มันมีแค่การเขียนมันขึ้นมาเท่านั้น ซึ่งมันน้อยกว่าความเป็นจริงมากมาย
  • เกิดอะไรขึ้นกับงานอีกหลายงาน ที่คิดว่าต้นทุนทางการพัฒนาซอฟต์แวร์มันน้อย แล้วเราต้องลงเอยกับระบบห่วยๆ มากมายมหาศาลที่มันมีผลกับชีวิตของพวกเราในระยะสั้นและระยะยาวไม่แพ้อย่างอื่นเลย

Continue reading