Tamron Depth-of-Field Tool

ไม่ค่อยได้เข้าเว็บของ Tamron แฮะ วันนี้เข้าไปดู spec ของ AF28-300mm F/3.5-6.3 XR Di VC LD Aspherical (IF) Macro ชื่อยาวเป็นบ้า …. (กำลังหา walkabout lens แบบตัวเดียวเที่ยวทั่วไทยอยู่ สำหรับวันที่ไม่อยากพกเลนส์เยอะ — เมื่อวานมีเวลา 20 นาทีไปนั่งลองเล่นมา ใช้ได้เลย แต่ไม่ได้เอาไฟล์กลับมานั่งส่องที่บ้าน) ก็ไปเจออันนี้เข้า

Tamron Depth of Field comparison tool

tamrondof.png

เจ๋งดีครับ เลยเอามาแชร์กันต่อ

Chrome: ความรู้สึกของชาวบ้าน

เพิ่งจะ post metablog เรื่อง Chrome พอดีอ่านแล้วเจออีกแล้ว แต่ว่าคราวนี้เป็นความรู้สึกของคนที่เค้าใช้ไป

Headius: A Few Thoughts on Chrome

น่าสนใจ และละเอียดยิบเลยทีเดียว จริงๆ ผมคงจะต้องทดลองใช้ Chrome แล้วลองดูบ้างซะแล้ว ดังนั้นผมเลยจะยังไม่อ่านอันนี้ละเอียดมากมายนัก เพราะว่าจะไม่ให้มัน influence ความคิดของผมก่อนเกินไป

แล้วจะกลับมารายงานผลการทดสอบครับ ว่าจะเป็นยังไงกับ Browser สัญชาติ Google ตัวนี้ ระหว่างนั้นก็อ่านรีวิวตัวนี้ไปพลางๆ ก่อนครับ

Chrome: ยิ่งกว่า Browser War ครั้งใหม่

รู้สึกว่านานแล้วที่ไม่ได้ meta-blogging จาก OSNews เพราะว่าพักหลังๆ รู้สึกว่าคุณภาพของบทความมันตกๆ ลงไปจากเมื่อก่อนเยอะเหมือนกัน จนกระทั่งถึงวันนี้เจอเรื่องน่าสนใจมากจนอดไม่ได้ที่จะ blog มันหน่อย

There’s More Than a Browser War

ก็ตั้งแต่ Google ออก Chrome น่ะแหละครับ ที่หลายคนคิดว่าจะเป็นสงคราม browser ใหม่อีกครั้งหรือเปล่า หรือว่า Google ทำไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไรกันแน่ จากมุมมองของธุรกิจและความอยู่รอด ตลอดจน Business Identity และ Organization Identity ของ Google เอง ว่าทำไม Chrome (จากมุมมองของผู้เขียนบทความนี้) จึงเป็นหมากตาสำคัญที่สุดหมากหนึ่งบนกระดาน ที่ Google ต้องเดินเพื่อ “ปกป้องตัวเอง”

เป็นบทความที่อ่านแล้วได้คิดดีเหมือนกัน เลยเอามาแชร์กันต่อ

ที่เรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพบุคคล

ทฤษฎีมันก็เท่านั้นแหละ วันหนึ่งก็เริ่มซ้ำไปซ้ำมา ที่สำคัญส่วนมากที่อ่านมา ก็เป็นหลักการกว้างๆ เท่านั้นมากกว่า ก็คงเหมือนกับทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ หรือว่าฟิสิกส์น่ะแหละ ที่กว้างๆ และดูเหมือนจะไม่มีอะไรมากมายนัก จนกระทั่งเราเห็นผลการประยุกต์ใช้มัน .. แบบเต็มๆ ตา…. บางทีเมื่อกลับไปอ่านทฤษฎี ก็จะเริ่ม “อ่อ มันเป็นแบบนี้นี่เอง”

ก็เลยว่าจริงๆ เรียนรู้จากการดูภาพคงเหมือนกับการเห็น Emulation หรือว่าดูหนังเรื่อง The Matrix, Thirteenth Floor แล้วเรียนรู้เรื่อง Computation Theory (Universal Turing Machine) น่ะแหละมั้ง

ว่าแล้วก็แปะ Note-to-Self ไว้อีกอัน มีผลการประยุกต์ใช้หลักการต่างๆ ที่เรามักได้ยิน ได้รับฟังมากจากคนโน้นคนนี้ หรือว่าอ่านหนังสือเล่มโน้นเล่มนี้ มาพอสมควร

http://www.flickr.com/groups/sublimelight/pool/
http://www.flickr.com/groups/736548@N24/pool/

เห็นชัดดีครับ มีให้ดูเยอะแยะ

ละครช่องเจ็ด

ว่ากันว่า ละครสะท้อนชีวิต ….. หรือว่าชีวิตคือละคร

เหอๆ

พอดีเมื่อกี้เปิดไปเจอละครช่องเจ็ด เรื่อง “หมวยอินเตอร์” …​ ดูแล้วเดจาวู (Deja Vu) ชอบกล มากพอสมควรด้วย และ … หลายๆ เรื่องด้วย ดูแล้วก็ตลกดีเหมือนกัน โทรไปบอกน้องเกด น้องเกดบอกว่า ดูเหมือนกัน และคิดเหมือนกันเลย ว่ามันเดจาวู ฮาฮา

ตรงไหนหว่า … เรื่องใส่เสื้อดำมั้ง (ในละครวันนี้ตัวเอกใส่เสื้อดำ) กับเรื่องปากหมามั้ง ฮาฮา

ปกติไม่ค่อยได้ดูละครนะ หลังจากดูเรื่องรักแท้แซบหลายก็ไม่ได้ดูเลยซักเรื่อง สงสัยเรื่องนี้คงต้องดูแฮะ

ขอไร้สาระบ้างนะ

Real World Haskell และ รักแรกพบ

ไปเจอมา เอามา note ไว้สำหรับตัวเองและเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกท่านที่สนใจ Haskell เป็นหนังสือที่ดีพอสมควรเลยทีเดียว ละเอียด ตัวอย่างเยอะ ค่อนข้างเป็นปัจจุบันมากๆ และมีประโยชน์กับ Real World จริงๆ (บ้างล่ะน่า) ไม่ใช่แบบหนังสือ Functional Programming ทั่วไปที่ยกว่า FP ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ว่าไม่ค่อยจะมีตัวอย่าง Real World ที่มัน convincing เท่าไหร่เลย ยกแต่ประโยชน์ที่ … ขอโทษนะ ต้องบอกว่า “ถ้าไม่ได้เขียน FP เป็นอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ซึ้งกับมันเท่าไหร่ ว่ามันเจ๋งแค่ไหน” มากกว่า

แปะลิงค์ก่อน

Real World Haskell (beta) by Bryan O’Sullivan, Don Stewart, and John Goerzen

Haskell เป็นภาษาโปรแกรมที่ผมชอบมากที่สุดภาษาหนึ่งเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งแรกในโลกที่สอนให้ผมรู้จักและเข้าใจความรู้สึกของคำว่า “รักแรกพบ” ด้วย

เรื่องของเรื่องมันมีอยู่ว่า วันนั้นนั่งเขียนโปรแกรมอะไรซักอย่างอยู่ในห้องคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัย Tsukuba (ไม่ได้เขียนอะไรใหญ่โตหรอก รู้สึกจะหัดเขียนพวก data structures เล่นอยู่) แล้วเพื่อนสนิทมากที่สุดคนหนึ่ง ชื่อ Nao Hirokawa (จริงๆ แล้วเป็นรุ่นพี่) ก็เดินเข้ามา แล้วก็ชวนคุยเล่นกันโน่นนี่ พอเห็นที่เราเขียนเล่นอยู่ ก็ถามว่า “เฮ้ ทำไมไม่ใช้ Haskell?” เราก็เลยถามว่า มันคืออะไรหว่า Hirokawa ก็เลยถามว่า รู้จัก Quick Sort มั้ย แหม ใครจะไม่รู้จัก เค้าก็เขียน Quick Sort เป็น Haskell ให้ดู พร้อมกับที่เราอ้าปากค้างตาโต (โดนแหก — จริงๆ แล้วรู้สึกว่า Quick Sort นี่เป็นตัวอย่างตลาดของ Haskell เลยนะ .. คงไม่มีใครไม่ยกตัวอย่างอันนี้มาแหกตาชาวบ้านเวลาโชว์ Haskell) แล้วก็เล่น List Comprehension ให้ดูอีกนิดๆ หน่อยๆ

นั่นแหละ รักแรกพบครั้งแรกในชีวิต

แนะนำแหล่งดูรูปอีกที่

เรื่องของเรื่อง คืออยากจะเพิ่มกิเลสตัวเองด้วยการหาภาพจาก D700 และภาพจากเลนส์ตัวโน้นตัวนี้ (โดยเฉพาะ AF Nikkor 135mm F/2D DC) ก็เลยหาไปเรื่อยเปื่อย ทั้งจากเว็บไทย และเว็บฝรั่ง

แต่ว่ามาลืมไป ว่า Nikon มันเป็นบริษัทญี่ปุ่นนี่หว่า แล้วก็ลืมไปว่าพวกเลนส์ DC นี่จริงๆ แล้วญี่ปุ่นเล่นกันเยอะนี่หว่า ….. และลืมไปสุดท้ายเลยว่า “ตัวเองอ่านภาษาญี่ปุ่นออกนี่หว่า” …. ทำไมไม่ค้นหาเว็บญี่ปุ่น (จาก google.co.jp) วะ?

และแล้วก็เจอที่นี่มา

Exif対応写真掲示板 PhotoXP Index แปลว่า PhotoXP Index: บอร์ดโพสท์รูปที่รองรับ Exif

ดังนั้นมันก็น่าจะเอาข้อมูล Exif ในรูป เช่น Lens หรือว่า Model กล้องมาช่วยให้เราค้นภาพได้อ่ะดิ อ่ะ ลองๆ ค้นๆ ไล่ๆ หาดูเล่นๆ

อืมมม ลองดูจากยี่ห้อกล้องก่อน ใครอ่านญี่ปุ่นไม่ออกก็ทำใจนิดนึงสำหรับหน้านี้ แต่ว่าลอง clickๆ เข้าไปดูจะเห็นชื่อรุ่นต่างๆ เป็นอะไรที่อาจจะคุ้นๆ กันบ้าง เช่น ของ Nikon

อันนี้จากวันที่ในการถ่ายรูป เช่น ภาพจากวันเดือน 4 ปี 2008 (ช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น) อันนี้ชอบๆ เอารูปมาแปะบนปฏิทิน ลองเข้าไปดูรายวันก็ได้ เช่นอันนี้วันที่ 16 เดือน 4 ปี 08

อันนี้ไล่ดูตามเลนส์ แต่ว่ามีแค่ทางยาวโฟกัสนะ (เช่น 24-70mm, 135mm) ไม่มีขนาดรูรับแสง ไม่แยกตามโมเดล ไม่แยกตามยี่ห้อ

เชิญชมตามอัธยาศัยเลยครับ

10 คอมพิวเตอร์ที่สวยที่สุด

เมื่อวันก่อนมีเรื่อง Computer ประหลาด 10 แบบ วันนี้มาเรื่องคอมพิวเตอร์สวยๆ บ้าง อ่านจาก OSNews ครับ

The Ten Most Beautiful Computers โดย Thom Holwerda

มีโดนใจหลายตัวครับ เคยใช้หลายตัวเหมือนกัน แต่ว่าหลายตัวก็ไม่เคยใช้

บทความนี้อ่านชื่อคนเขียนแล้วแทบจะบอกได้เลยว่า อันดับ 1 คืออะไร

แง …. อยากได้ G4 Cube T_T

Computer Everywhere

อ่านบทความเรื่อง 10 weirdest computers หรือคอมพิวเตอร์ที่แปลกประหลาด (อาจจะ) เหนือจินตนาการ 10 แบบ (อ่านจาก slashdot อีกที)

เท่าที่อ่านๆ ดูก็ไม่เห็นมีอะไรแปลกประหลาดตรงไหน ใครที่แม่นๆ computation theory และเข้าใจเรื่อง computational equivalence ก็คงจะมองทุกอย่างเป็นคอมพิวเตอร์ได้ไม่ยากอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะหาวิธีเขียน instruction ให้มัน compute อะไรเฉพาะเจาะจงได้ยังไงนี่อีกเรื่องนึง (คนละเรื่องเลย ยากง่ายต่างกันคนละเร่ือง)

บางแบบก็เป็นที่รู้จักกันโคตรจะดี เช่น optical computer, quantum computer, DNA computer หรือว่าบางแบบก็อาจจะแปลกหน่อย แต่ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เช่น billiard ball computer, slime mould computer, water wave computer เป็นต้น

เอาเป็นว่า ลองอ่านกันดูเล่นๆ ละกันครับ สนุกไปอีกแบบ

เริ่มเห็น Accord 2008 ล่ะ

เพิ่งเริ่มเห็น Accord ตัวใหม่ จริงๆ บนถนนเร็วๆ นี้เอง … ความรู้สึกแรก คือ ….​ แปลก

มันสวยนะ แต่ไม่หมดจด ดูเกินๆ ยังไงไม่รู้ …. เหมือนกับเอาโน่นนี่มาตัดปะกันอย่างไม่เนียน ไม่ลงตัว ความเหลี่ยมความโค้งความมน มันไม่ได้ยังไงก็ไม่รู้

ส่วนเรื่องไฟท้าย นี่ดูก็รู้ ว่าเอามาจาก BMW Series 5+7 แต่ว่า….. เหมือนกับตัดปะโดยไม่เอากระดาษทรายขัด … ก็ขัดตาอีกจนได้ (แต่ ​BMW นี่เนียน)

รถดูใหญ่ขึ้นนะ (ก็จริง จาก spec) แต่ว่าเหมือนกับคนหัวเล็กตัวโตอ่ะ มองจากด้านหลังแล้วมีความรู้สึกว่าหัวเล็ก แต่ว่าพุงยื่น .. ตัวรถมันบวมๆ ยังไงก็ไม่รู้

อาจจะรู้สึกไปเองนะ … อาจจะต้องรอ Minor change…

และแล้ว … Minor change ก็ออกมา แบบมีไฟหยดน้ำ …. แว้กกกกกก