Computer Everywhere

อ่านบทความเรื่อง 10 weirdest computers หรือคอมพิวเตอร์ที่แปลกประหลาด (อาจจะ) เหนือจินตนาการ 10 แบบ (อ่านจาก slashdot อีกที)

เท่าที่อ่านๆ ดูก็ไม่เห็นมีอะไรแปลกประหลาดตรงไหน ใครที่แม่นๆ computation theory และเข้าใจเรื่อง computational equivalence ก็คงจะมองทุกอย่างเป็นคอมพิวเตอร์ได้ไม่ยากอยู่แล้ว เพียงแต่เราจะหาวิธีเขียน instruction ให้มัน compute อะไรเฉพาะเจาะจงได้ยังไงนี่อีกเรื่องนึง (คนละเรื่องเลย ยากง่ายต่างกันคนละเร่ือง)

บางแบบก็เป็นที่รู้จักกันโคตรจะดี เช่น optical computer, quantum computer, DNA computer หรือว่าบางแบบก็อาจจะแปลกหน่อย แต่ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่ เช่น billiard ball computer, slime mould computer, water wave computer เป็นต้น

เอาเป็นว่า ลองอ่านกันดูเล่นๆ ละกันครับ สนุกไปอีกแบบ

Lambda และ Closures ใน C++0x

ในที่สุดสิ่งที่รอมานานกับภาษาแรกๆ ที่หัดเขียนโปรแกรมก็เป็นจริงซะที หลังจากที่มันพยายามทำตัวเป็น Functional language แบบห่วยๆ (ลูกผีลูกคนเกินไป) มานานแล้วตั้งแต่ STL ….

C++ and Lambda Function Tradeoff: Clutter vs. Expressiveness (จาก Beautiful Code)

ช่วงนี้ภาษาหลายภาษาเริ่ม propose การเอาความสามารถของภาษาตระกูล Functional (พวก Lisp, Haskell) เช่น Lambda expression เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของภาษามากขึ้น ซึ่งหลายภาษาทำแล้วก็ดูดีขึ้น เลยทำให้เรามีความคาดหวังสูงพอควรกับภาษา C++0x ล่ะมั้ง

แต่ว่าพออ่านจาก ISO C++ Standards Meeting report …. โอ้ว แม่เจ้า ทำไมมัน clutter ได้ขนาดนั้น แบบนี้ไม่ค่อยจะปลื้มเลยนะเนี่ย

ผมคิดมาตั้งนานแล้ว ว่าข้อเสียที่ใหญ่ที่สุดของ C++ มันคือสิ่งที่มันพยายามให้เป็นข้อดีที่สุดน่ะแหละ คือการเป็น multi-paradigm language โดยที่ไม่มี paradigm ไหน dominant เท่าไหร่

ผลที่ตามมาน่ะเหรอครับ? ทุกวันนี้หลายคนก็ยังเขียน C++ แบบ C/Pascal หลายคนก็ยังเขียน OOP กับ C++ ไม่เป็น OOP ฯลฯ ไม่พอ ตอนที่ STL เริ่มจะมีความสามารถแบบ Functional ตลอดจนการมี Function Object และฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมาย ทำให้มีผลอย่างหนึ่งคือ การเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานอย่างหนึ่งใน C++ เนี่ย มันทำได้หลายแบบเกินไป…. ถ้าเป็นหลายแบบใน paradigm เดียวกันคงจะไม่เป็นไรเท่าไหร่ แต่ว่านี่มันหลายแบบในหลาย paradigm

แบบนี้สับสนตายชัก และนับวัน C++ ก็จะมี identity crisis มากขึ้นทั้งที่มันไม่ควรเป็นแบบนั้น

เสียดาย…​เสียดาย

เท่าที่ดูผ่านๆ จากตัวอย่าง ถ้าให้ผมเลือกระหว่างการใช้ Lambda expression ใน C++0x กับเลือกใช้ Function object ผมคงจะเลือกอย่างหลัง ….​ เพราะว่ามันยังอ่านง่ายกว่า code มันสวยกว่า (สะอาดกว่า) ทั้งๆ ที่ใจชอบ Lambda มากกว่า (ใช้มันทุกภาษา…. ถ้ามีให้ใช้ …​และแล้วก็คงจะเจอข้อยกเว้นจนได้ — ถ้าวันนั้นยังเขียน C++ อยู่นะ)

Moral question

บางทีอยากทำอะไร แต่ทำเท่าไหร่ก็ไม่ได้เรื่อง … จะทำต่อกันหรือเปล่า?

ยิ่งมีตัวเปรียบเทียบ (อย่างน้อยก็ในหัวตัวเอง) ที่มันเป็นกำแพงที่มองไม่เห็น (จริงๆ ก็เห็นนะ เห็นเยอะด้วย) ข้ามไม่ได้ เดินไม่ถึง ด้วยแล้ว (อ่ะ ใครที่อ่านอันก่อนแล้วงง ก็ช่วยอ่านอันนี้ด้วยนะ) …. จะทำต่อมั้ยล่ะ?

ไม่รู้แฮะ …. ถ้าเดินไปถึงก็คงจะพยายามเอาหัวโขกกำแพงซักทีล่ะนะ (เพราะว่าหัวคงแข็งเอาเรื่อง) หรือว่าจะลองเอากำปั้นทุบกำแพงดี (ถ้ามันเป็นไม้อ่อนๆ ก็พอทำได้ จริงมั้ยน้องกอลลั่มประจำแลป?) …. แต่ว่ามันไปไม่ถึงเนี่ยสิ แล้วจะเอาอะไรไปทุบมันดี

เลิกเดินดีกว่ามั้ง

กำแพง

ปัญหาจิตวิทยาที่ธรรมดาๆ มาก …. บางทีมันก็มีกำแพงที่มองไม่เห็น แต่ข้ามไม่ได้ อยู่ข้างหน้าเรา

บางทีแค่จะวิ่งไปหากำแพงนั้น ก็ยังมีความรู้สึกว่าวิ่งไปไม่ถึง ยิ่งวิ่ง เหมือนจะยิ่งห่าง ยิ่งไล่ตาม เหมือนจะยิ่งไม่ทัน

ไม่ต้องพูดเรื่องปีนหรอก

พอไปถึง จะมีแรงปีนหรือเปล่า …..

….. หรือว่าทั้งหมดนั้นมันเป็นภาพลวงตา หันหลังกลับมา มันจะไม่มีกำแพง เราแค่ต้องเดินไปอีกทางหนึ่ง เท่านั้นเองหรือเปล่า

หันหลังให้มันซะ เดินไปอีกทางซะ

แบบนี้เรียกว่า ขี้แพ้ หรือเปล่า

ชนมันซักตั้ง แต่ว่าจะชนยังไงล่ะ แค่เดินไป ยังไม่มีวันถึง …..

ดาบสองคม

ดาบสองคม คมหนึ่งมันคมเท่าไหร่ อีกคมมันมักจะคมเท่านั้น

แต่เรามักจะเห็นมันคมเดียว ณ เวลาหนึ่ง จนกระทั่งอีกคมหนึ่งมันไปฟาดอะไรซักอย่างของเราเท่านั้นแหละ ที่เราจะเห็นอีกคมหนึ่ง

เทคโนโลยีทุกอย่าง เป็นดาบสองคม
การพัฒนาการทุกอย่าง เป็นดาบสองคม

เข้าทำนอง ยิ่งรัก ก็ยิ่งทุกข์ เมื่อวันหนึ่งที่ความรักนั้นมันกลับมาเป็นดาบอีกคมหนึ่ง

คุณกำลังสัมผัสดาบสองคม ที่คมที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

“อินเทอร์เน็ต”

อินเทอร์เน็ต ให้ Scale ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในแง่ของ Information Economy นั่นคือ ทุกคนแทบจะมี Economy of Scale เทียบเท่ากัน ขาดแต่เพียง Social Networking รองรับเท่านั้น

ดาบสองคมที่ว่านั่น ก็คือ ถ้าทุกคนอยู่ในฐานะของ “สื่อ” ได้แล้วล่ะก็ จะมีกี่คนเล่าที่มีจรรยาบรรณของสื่อ หรือว่าคำถามที่ดีกว่านั้น จะมีกี่คนเล่าที่ใช้มันไปในทางสร้างสรรค์

เราต้องมี Information Literacy ที่ดีขึ้น …..

นอกจากนั้น อินเทอร์เน็ต มันยังเป็นแหล่งเก็บข้อมูลชั้นดี ที่ไม่มีวันล่ม แทบไม่มีวันหาย

ข้อมูลหลายอย่าง ถ้ามันอยู่บนอินเทอร์เน็ตแล้ว มันแทบจะเป็นอดีตที่ไม่มีวันลบวันเลือน ….

เช่น เมื่อไม่กี่ปีก่อน ถ้ามีแฟน แล้วเลิกกัน อยากจะตัดขาดทิ้งทุกอย่าง มันคงจะทำได้ไม่ยาก ก็แค่เอาเผารูป เผาฟิล์ม เผาจดหมาย ก็เท่านั้นเอง ……

แต่ว่าทุกวันนี้ ถ้ามันอยู่บนอินเทอร์เน็ตเสียแล้ว Searchๆ ไป ค้นๆ ไป มันก็ยิ่งเจอไปเรื่อยๆ ทั้งข้อความที่เคยคุยกัน ซึ่งแสดงความสัมพันธุ์ที่เคยมี รวมทั้งภาพโน้นภาพนี้จากวันที่เคยมีกันและกัน และมันอาจจะดูดีกว่าปัจจุบันมากมาย วันดีคืนร้าย ภาพเหล่านั้นของวันที่เคยดี อาจจะกลับมาหลอกหลอนตัวเองหรือคนอื่น ในรูปแบบไหนก็ได้

อืมมม แล้วก็ .. บางคนก็เขียนแต่เรื่องดีๆ ของกันและกัน เรื่องเสียๆ หายๆ ไม่เคยเขียน บางคนกลับกัน เขียนแต่เรื่องเสียๆ หายๆ เรื่องดีๆ ไม่เขียน พอวันหนึ่งที่มันกลายสภาพเป็นเพียงหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ข้อความทั้งดีและไม่ดี ก็คงส่งผลต่างกัน

ดาบสองคมชัดๆ

ธรรมชาติ ธรรมดา

ชอบอะไรที่เป็นธรรมดา ชอบอะไรที่เป็นธรรมชาติ

ไม่ต้องเสริม ไม่ต้องปรุงแต่ง ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องดัด ไม่ต้องเฟค (fake)

ถึงจะทำงาน Artificial Intelligence ก็ยังมาสายการเลียนแบบ Natural Intelligences

ไปงานแสดงดอกไม้ใบหญ้าบางครั้ง ยังมีความรู้สึกมันสวยไม่ได้เสี้ยวของดอกไม้ริมทาง ที่ขึ้นกระจัดกระจาย

เดินในเมืองใหญ่ กับความอัศจรรย์ของสิ่งก่อสร้างทั้งหลายที่คนสร้างขึ้น แต่ทำไมไม่รู้สึกว่ามันอลังการกว่าต้นไม้ ก้อนหิน หน้าผา น้ำตก ฯลฯ

ไปเที่ยว ชอบไปที่ๆ คนไม่ไปกัน เอานิ้วจิ้มแผนที่ แล้วก็ไปเลย ไม่ต้องสนใจว่ามีอะไร ไม่ชอบที่ๆ จัดไว้ให้ดู
…. บางทีคนก็ถามเหมือนกันว่า มีอะไรให้ดูเหรอ … มีเยอะนะ อย่างน้อยก็วิถีชาวบ้าน ธรรมชาติของคนในท้องที่ ฯลฯ

ผมเป็นคนประหลาดหรือเปล่า?

ถ่ายรูปคน ก็ไม่ชอบพวกโพสให้ถ่าย ชอบอะไรที่เป็นธรรมชาติ ไม่ได้ตั้งใจให้ถูกถ่าย ไม่ได้จัดฉากให้ใครมอง …. สวยยังไงก็ไม่จริงใจเท่ากับหน้าเรียบๆ ยิ้มเล็กๆ ทำอะไรที่เป็นธรรมชาติหรอก

ก็ตอนที่เห็นครั้งแรก ที่ทำให้อยากถ่ายรูปหรือว่าเก็บภาพนั้นไว้ดูนานๆ ก่อนที่จะหายไปกับความทรงจำ …. มันใช่หน้าตาที่ปั้นแต่งขึ้นมาเสียที่ไหนกันล่ะ มันเป็นหน้าตาธรรมดาๆ ของคนธรรมดาๆ ที่พูดคุยธรรมดาๆ …. ไม่ใช่หรือ?

หรือว่าภาพวิวทิวทัศน์ก็เหมือนกัน ไม่รู้ว่าที่ถ่ายไม่สวยเสียที เพราะว่าตั้งใจเล็งมุมมากไปหรือเปล่า ตั้งใจจัดมันมากไปหรือเปล่า …. ไม่ใช่เพราะความเป็นธรรมชาติของมันหรอกหรือ ที่ทำให้เราอยากจะถ่ายมันเก็บไว้ในที่แรก

….. แล้วจะปรุงจะแต่ง ให้มันเกินงาน เกินความจำเป็น กันไปทำไมครับ

ธรรมชาติๆ ธรรมดาๆ นี่แหละครับ งดงามที่สุดแล้ว

Generality ของ “ดี/เก่ง”

คิดว่ามันมีกันมั้ยล่ะ

ถามผมนะ “ไม่มีหรอก” และที่แย่ คือหลายคนพูดแบบนี้กันในลักษณะ generality มาก เช่น “คนนี้เป็นคนเก่งนะ” หรือว่า “คนนี้เป็นคนดีนะ” อะไรทำนองนี้

คำถามที่น่าจะตามมาก็คือ แล้ว metric อะไรล่ะ เป็นตัววัด แล้ว fitness landscape ที่มันอยู่ล่ะ คืออะไร

ใครเล่น Genetic Algorihtm (GA) น่าจะรู้ดี ว่า solution หนึ่งใน population ต่อให้มันดีแค่ไหน เปลี่ยน fitness function นิดเดียว อาจจะเปลี่ยนจาก solution ที่ดีที่สุด กลายเป็น solution ที่ห่วยที่สุด และจำเป็นต้องถูก “คัดทิ้ง” อย่างไม่ใยดี ในพริบตา ก็เป็นได้

แต่ทำไมบางทีพอมาถึง “คน” เรากลับ superficial กับมันจัง … เราพูดถึงมัน ยังกับมันวัดเป็น general ได้ หรือว่ามี universal fitness function ที่ครอบคลุมทุกอย่าง พอ “ดี” หรือว่า “เก่ง” อย่างหนึ่ง แล้วมันกลายเป็น general ได้มากมายมหาศาล

ยกตัวอย่างกันนิดนึงมั้ย

บางคน อาจจะเป็น programmer ที่ “เก่ง”​ (ไม่ใช่ผมนะ ผมกำลังพูดถึงใครก็ไม่รู้ เป็น Mr. T คนหนึ่งก็ได้นะ) แต่ว่าอยากจะทำอะไรบางอย่างที่ตัวเองไม่มีความสามารถ ความเหมาะสม เช่น อยู่ดีๆ อยากจะหยิบมีดมาผ่าตัด โดยตัวเองไม่มีความสามารถ

แล้วดันมีคนบอกว่า ก็น้อง/พี่/คนนี้ เป็นคน “เก่ง” นะ ก็ “ต้องช่วย” ให้ได้งานผ่าตัดนี้ให้ได้

Make sense มะ? ใครก็คงจะตอบได้ว่า “ไม่เห็นจะ Make sense ตรงไหน”

แต่ว่าพอมาถึงเรื่องความดี ทำไมมันไม่เป็นแบบนี้บ้างหว่า ทำไมมันเหมือนจะมี “ความดี” แบบ general กันได้ด้วยแฮะ ทั้งๆ ที่ environment และสิ่งที่อยู่ใน environment มันน่าจะเป็นตัวที่ define fitness function พวกนี้เหมือนกันนะ (เช่นเดียวกับที่ programmer คนนั้น อาจจะผ่าน fitness function ของการเขียนโปรแกรมด้วยคะแนนแบบ topๆ แต่ว่า fitness function ของการผ่าตัดกลับตกระนาว)

ผมกำลังพูดว่า คิดยังไงกับประโยคนี้

“ก็เค้าเป็นคนดี ก็ต้องช่วย”

อืมมม ส่วนมากอาจจะเห็นด้วยแบบไม่ต้องคิดมากก็ได้นะ แต่ว่าพอดีมันคนละ environment กันน่ะสิ ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุด ก็คงเป็นงี้:

มีแฟนคู่หนึ่งทะเลาะกัน จะเลิกกัน ฯลฯ หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ แล้วก็มีคนพยายามจะช่วยเหลือเกินที่จะเป็นตัวประสานระหว่างสองคนนี้ ว่า​ “ก็เค้าเป็นคนดี ก็ต้องช่วย”

อืมมม การเป็น “คนดี” ใน fitness function ของ “คนรู้จัก” หรือว่า “เพื่อนแฟน” หรือว่า “messenger” หรือว่าแม้แต่ “คนในสังคม” จำเป็นด้วยหรือว่าจะต้องเป็น “คนดี” ใน fitness function ของ “แฟน” ซึ่งแต่ละตัวมันก็คนละ environment คนละตัว evaluate คนละ fitness function

ซึ่งแน่นอนว่าอาจทำให้ solution ที่ “ดี” หรือแม้แต่ “ดีที่สุด​” ของ landscape หนึ่ง กลายเป็น solution ที่ห่วยที่สุดไปเลยก็ได้

ให้คนที่เป็น “แฟน” เค้า เป็นคนพูดจะดีกว่ามั้ย สรุปว่า ไอ้พวก “เพื่อนๆ” หรือ “ผู้หวังดี” เนี่ย กรุณาสงบปากสงบคำ เงียบๆ ไว้ไม่ต้อง “เสือก” จักเป็นพระคุณยิ่ง

(ขอโทษที่ต้องใช้คำแรง อารมณ์มันพาไป แต่จริงๆ มัน nothing personal อ่ะนะ .. เพียงแต่ว่าเขียนแบบนี้ได้อารมณ์ดี ถ้าไม่เหมาะสมก็ขออภัยผู้อ่านด้วยครับ)

ก็ทำนองว่า นกมันจะบินเก่งแค่ไหน ลองจับมันไปว่ายน้ำเล่นสิ หรือว่าปลามันจะว่ายน้ำเก่งแค่ไหน ลองจับมันไปโยนขึ้นฟ้าสิ … นั่นแหละ

มันก็แปลกดีนะ พอเป็นเรื่อง “เก่ง” เนี่ย มันพอจะเข้าใจได้ง่ายหน่อย ว่ามันไม่ข้าม field of expertise เท่าไหร่หรอก ถึงจะมีหลายคนที่เก่งแบบ แทบทุกเรื่องก็ตาม

แต่ว่าพอมาเป็นเรื่อง “ความดี” เนี่ย มันกลับมีความคิดแบบ universal/general ได้ซะงั้น

เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ตอนเรียน ป.ตรี (ซักปีสามได้มั้ง) ชื่อ The Labyrinth of Reason (หนังสือเก่าหน่อย ตั้งแต่ปี 89 ตอนนี้คงอยู่ในตู้ซักตู้ใน office) มีบทหนึ่งที่คิดว่าเข้าท่านะ คือ Anything confirms Anything หรือว่าอะไรทำนองนี้แหละ …. ก็เขียนเรื่องทำนองนี้ไว้เหมือนกัน ว่าบางทีเราก็เอาความจริงเรื่องหนึ่ง ไป confirm เป็นตุเป็นตะกับเรื่องโน้นนี้คนละเรื่อง ไว้วันหลังจะเล่าให้ฟังละกันครับ

ทิ้งท้ายนิดนึงดีกว่า …

All forms of generalization are false; including this one.

Alternate Path of Life

ลองฝันสิ ถึงทุกอย่าง ที่เคยฝัน
ลองฝันสิ ถึงทุกอย่าง ที่เคยหวัง
ลองคิดถึง ทุกอย่าง ที่ไม่พัง
ถ้าความฝัน ความหวัง คือความจริง….


Had you ever imagined a world where you had re-made some choice you chose? Had you ever asked yourself “what if”? Had you ever think you’re walking a wrong path? Had you ever thought “if I didn’t do what I’ve done”?

It’s a dream.

Or no, it’s not.

All the things that could happened, had happened.

Somewhere, elsewhere, in the alternate universe. One of the infinite number in the Multiverse. Everything you wish it happens, happens. When you make a choice, you choose which universe you’ll be in. Another part of you will be walking the different path. All the paths will be walked.

It’s not a dream. It’s as real as you and me, and everything we see.

Choices are irreversible. I know I can’t take anything back. I know I made lots and lots of wrong turns in my life. I know I chose many bad choices. Especially between us.

Nonetheless, all the better choices will be walked, by you and me. It’s just somewhere, elsewhere.

However, one question remains: will myself in any other alternate universe will be writing the same blog, asking the same question, wishing himself the same thing I do?

So, as I’m writing this, so might he. All of us, all of me, can rest assure, all the paths we think we should have taken, had really been taken by us.

And now, we might be wishing the same thing: life in the alternate universe.

TeX

ช่วงนี้ต้องนั่งเขียนรายงานโครงการวิจัยส่งไปยังผู้ให้ทุนวิจัยรายหนึ่ง (ขอสงวนชื่อ) ซึ่งทางเค้าบอกมาเองว่าไม่ต้องเน้น format มาก อยากจะได้ content มากกว่า เราก็เลยได้โอกาสเขียนมันด้วย TeX อีกที ซึ่ง Mac ก็มี MacTeX ให้ใช้นะ ติดตั้งง่ายไม่ยุ่งยาก ถึงจะสมบูรณ์เกินไปหน่อยก็เถอะ (คือมี package มากไป ขนาดเลยเวอร์ไปหน่อย)

ส่วนเรื่องภาษาไทย ก็มีคนเขียนเรื่องนี้ไว้ค่อนข้างละเอียดแล้ว ภาษาไทยสำหรับ LaTeX บน Mac OS X ที่ Thai Mac Dev ก็ละเอียดดี ทำตามได้เลยไม่มีอะไรผิดพลาด

ก็เลยมาถึงเรื่องที่อยากจะเขียนมานานแล้ว แต่ว่าไม่ได้เขียนซะที

  • ทำงานกับ TeX แล้วมีความสุขแฮะ ไม่ต้องมานั่งกังวลเรื่อง Formatting ยิบย่อยว่ามันจะไม่เหมือนกัน มันแยก Content ออกจาก View ขาดเลย
  • ทุกอย่างที่เราทำ จะมี semantic ตลอด เช่นบอกว่าตรงนี้เป็น subsection หรือว่า subsubsection นะ แล้วถ้าตั้ง label แบบฉลาดๆ หน่อยนี่ เขียน shell script ง่ายๆ หาทุกอย่างในหนังสือทั้งเล่ม เพื่อทำ cross-reference นี่ง่ายสุดๆ
  • ไม่ต้องกังวลเรื่องความถูกต้องของหน้าในสารบัญอะไรทั้งสิ้น (สารบัญ สารบัญภาพ ฯลฯ)
  • ไม่ต้องกังวลเรื่องรายละเอียดความถูกต้องของการอ้างอิงเอกสาร ขอให้อ้างอิงเถอะ ที่เหลือมันจัดการให้
  • ถ้าอยากจะได้ style อื่น ก็เปลี่ยน style ของเอกสารได้ไม่ยาก แถมเปลียนมาแล้ว รายละเอียดปลีกย่อยมันจัดการให้เองหมด ไม่ต้องยุ่งยากกับการปรับโน่นปรับนี่เล็กๆ น้อยๆ เท่าไหร่
  • ผมชอบตรงที่มัน generate อะไรก็ตามที่มันควรจะถูก generate เช่น การอ้างอิงโดย label แล้ว TeX จะดึงเอาตัวเลขของภาพ/ตาราง/บท/ส่วน ที่ชื่อตาม label นั้นๆ มาใส่ให้โดยอัตโนมัติ ไม่ว่าเนื้อหาส่วนนั้นมันจะถูกย้ายไปไหนก็ตาม
  • การจัดเอกสาร ที่รับรองว่า สวย และ consistent กันทั้งเล่ม แน่นอน

แต่ว่ามันก็คงจะมีข้อเสียบ้างละน่า ข้อเสียที่สุดน่าจะเป็น

  • แน่นอน มันไม่ใช่ MS-Word ดังนั้นจึงมีข้อเสียตามมาอีกสองข้อคือ
  • แน่นอน มันไม่สร้าง .doc ให้เราแน่
  • แน่นอน Format มันอาจไม่ตรงกับเอกสารที่ Word สร้างแบบเปี๊ยบๆ ดังนั้นพวกบ้า Format มากกว่า Content (ว่าต้องตรงกับ “Word Template ของฉันเท่านั้น” แบบที่ถึงขนาดเอาไม้บรรทัดนั่งวัดกันจะเป็นจะตาย) คงไม่ชอบ
  • มันไม่ WYSIWGY ดังนั้นหลายคนไม่คุ้นเคยแน่ (แต่คนเคยเขียน HTML มาก่อนไม่น่ามีปัญหา

สรุปว่า Happy TeXing ;-)

เรื่องจริงกับเรื่องที่คนคิด

ว่าจะเขียนเรื่องทำนองนี้มานานแล้ว … เรื่องจริงกับเรื่องที่คนเห็น เรื่องที่คนตีความ หรือว่าที่รู้จักกันว่า Fact กับ Truth เนี่ยแหละ

จริงๆ แล้วพูดยากนะ เพราะว่าคนที่รู้เรื่องจริง ก็คงมีแต่คนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ หรือว่าคนที่ทำให้มันเกิดมาก็เท่านั้น แต่ว่านอกจากนั้นก็คงเห็นได้แค่ผลที่มันเกิดขึ้น ซึ่งมักจะเกิดจากการตีความไปเอง หรือว่าคิดกันไปเอง จากความอคติของคนหรือกลุ่มบุคคลนั้นเอง

ออกตัวไว้ก่อน ในฐานะคนธรรมดาคนหนึ่ง ผมเองก็ไม่ได้ปราศจากอคติ และไม่คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ตัวเองคิดมันเป็นเรื่องจริง เพียงแต่มันก็เป็นการตีความของเราเอง

เคยเจอเรื่องแบบนี้มาบ่อยครั้ง สิ่งที่เราทำ กับสิ่งที่คนคิดว่าเราทำ มันเป็นคนละเรื่องกัน

พูดไปก็เหมือนๆ กับเกมต่อจุด ที่ไม่มีรูปแน่นอนให้ต่อน่ะแหละ อยากเห็นภาพก็ลองนึกถึง “กลุ่มดาว” บนฟ้าละกัน ดาวมันก็อยู่อย่างนั้น แล้วใครไปต่อเชื่อมกันให้เป็นกลุ่มดาวโน้นนี้ล่ะ? ฝรั่งกับไทยก็ต่อไม่เหมือนกัน แล้วใครถูกใครผิด? ถ้ามีพระเจ้าจริง และพระเจ้าสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาให้มีความหมายจริง ท่านอาจไม่ได้หมายความแบบที่เราต่อกันก็ได้

ว่างั้นเถอะ

เคยเจอเหตุการณ์ประเภทนี้มาแล้ว บางครั้งฟังก็อึ้งไปเหมือนกัน ว่า เออ คนมันก็ตีความกันไปได้แฮะ แต่คงไม่เขียนเล่าให้ฟังแถวนี้ แต่บางเรื่องได้ยินก็ขำเหมือนกัน ขำคนที่คิดและตีความ มากกว่าจะขำคำพูดที่ออกมา (เพราะมักจะขำไม่ออกกับมัน)

ยกตัวอย่างง่ายๆ เยอะแยะไป (เรื่องจริงทั้งหมด เก็บๆ มาจากตัวเอง และบรรดาคนใกล้ตัว แต่ขอสงวนไว้ว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องของใครก็แล้วกัน)

  • บางคนเดินกับพี่น้อง ที่หน้าตาไม่เหมือนกับตัวเอง จะมีคนคิดว่าเดินไปกับแฟนมั้ย?
  • บางคนไปส่งคนรู้จักเป็นบางครั้ง เพราะว่าเป็นห่วง (เพราะพื้นที่แถวนั้นมันเคยเกิดเรื่อง และอีกอย่างเป็นทางผ่านกลับบ้านอยู่แล้ว ไม่ได้ลำบากอะไร) จะถูกตีความไปอย่างอื่นมั้ย? (เช่น พากลับไปนอนด้วย หรือว่าอื่นๆ แล้วแต่อคติส่วนตัว)
  • ถูกชวนไปงานเลี้ยง แต่ว่าก่อนหน้านั้นเพิ่งจะไปซื้อหนังสือมาหลายเล่ม และเอากลับไปเก็บก่อนไม่ได้ (อยู่คนละเมือง) ก็เลยต้องหอบไปด้วย จะถูกมองว่า สร้างภาพ ทำตัวเป็นผู้คงแก่เรียน มั้ย?
  • บังเอิญเจอกับคนรู้จักที่กำลังขนของไปให้น้องคนหนึ่งที่เพิ่งจะมาอยู่ใหม่ เลยเข้าไปช่วย จะถูกมองกลับกันมั้ย ว่ากระเหี้ยนกระหืออยากจะไปเจอน้องคนนั้น เพื่อประโยชน์ในการทำอะไรมิชอบต่อไป มั้ย?
  • ตัดผมเพราะรำคาญ จะมีคนคิดว่าเพราะอกหักมั้ย?
  • ไม่พูดเพราะขี้เกียจพูด เพราะพูดไปเยอะแล้ว (บางทีก็เบา บางทีก็แรง) แต่ไม่เคยได้ประโยชน์ ไม่เคยได้ผล บางเรื่องพูดไปยังไง ก็เงียบกัน ไม่เคยได้ข้อสรุป ถึงจะมีก็ถูกตีความไปอีกแบบ เหนี่อย แต่คนที่ไม่เคยเข้ามาฟังในวันที่พูด จะคิดว่าไม่พูดเพราะอะไร กลัว? มีความลับ? หรือว่าอะไรก็ไม่รู้
  • เลิกกับแฟนเพราะทนความงี่เง่า เจ้าระแวงไม่เป็นเรื่อง ทะเลาะกันไม่เว้นแต่ละวัน ไม่ไหว จะถูกคิดว่าเพราะว่าไปมีคนอื่นมั้ย?

ทุกเรื่องในนี้ คำตอบคือ “ใช่” มันเคยถูกตีความผิดไปแบบนั้นจริงๆ แต่ว่าเรื่องจริงมันคนละเรื่องกัน

เรื่องเศร้ากว่านั้น เรื่องจริงเร็วๆ นี้ ตอนที่คุณแม่มีอาการโรคหัวใจกำเริบ คุณพ่อไปนั่งรอที่หน้าห้องฉุกเฉิน บอกผมว่า “พ่อรออยู่เนี่ยแหละ เดี๋ยวแม่เห็นแล้วจะเครียดเอา คิดว่าตอนนี้แม่คงไม่อยากเจอพ่อเท่าไหร่” (ก่อนหน้านั้นเพิ่งจะทะเลาะกัน) แต่ว่าพอเข้าไปหาแม่ แม่กลับให้ไปตามพ่อ บอกว่า “ถึงพ่อไม่ชอบหน้าแม่เท่าไหร่ ก็อยากให้เข้ามา เพราะว่าคนเค้ามองมาจะคิดยังไง” ….. สรุปว่า เรื่องจริงของทั้งคู่ กับเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างคิดกับอีกคน ไม่ตรงกัน

ภาพหนึ่งภาพดีกว่าคำพันคำ หลักฐานทางประวัติศาสตร์บางอย่างมีค่ามากกว่าบันทึกทั้งเล่ม ….​แต่ว่ามันก็เป็นเพียงแค่ “จุด” หนึ่งจุดเท่านั้น จุดเหล่านั้นจะเชื่อมโยงกันยังไง ก็แล้วแต่คนที่เห็น คนที่คิดเอาไปตีความน่ะแหละ บางอย่าง ปักใจเชื่อไปแล้วว่าต้องเป็นแบบนั้น เปลี่ยนยาก ก็เหมือนกับประวัติศาสตร์กระแสหลักน่ะแหละ ที่เปลี่ยนยาก

ลองไปดูหนังเรื่อง Timeline ดูครับ เล่นเรื่อง Fact กับ Truth ของประวัติศาสตร์ไว้บ้าง สนุกดี และคิดว่าคงได้ข้อคิดกับเรื่องนี้พอสมควร (ถึงหนังจะได้ rating จาก IMDB ไม่ดีเท่าไหร่ก็เถอะ)

ถ้าภาพหนึ่งภาพดีกว่าคำพันคำ … สิ่งที่แย่กว่านั้นคือภาพหนึ่งภาพบวกกับคำไม่กี่คนนี่แหละ เพราะว่ามันจะเป็นคำไม่กี่คำ ที่ถูกตีความอะไรไปยังไงก็ไม่รู้ ภาพที่เห็น กับคำบรรยายใต้ภาพ ไม่จำเป็นต้องตรงกันนี่ (เห็นตัวอย่างได้ในหนังสือทั่วไป…)

แต่คนที่ไม่รู้อะไร …. มักจะเชื่อและคล้อยตามคำบรรยายใต้ภาพนั้นแฮะ

อ่ะ …. สุดท้ายนะ ตัวอย่างภาพและข้อความใต้ภาพ….​ อันนี้ขอแค่สนุกๆ นะ จริงๆ แล้วเรื่องจริงมันไม่ใช่แบบคำบรรยาย (น้องเค้าเป็นคนดี)

pet2.jpg

วันนั้นมีน้องสองคนเข้ามาให้น้องคนที่ชูสองนิ้วสอนการบ้าน พอเห็นผมจะถ่ายรูป ก็เลยชูสองนิ้วสู้ตาย อันนี้เป็นตัวอย่างห่วยๆ นะ ถ้าอยากเห็นตัวอย่างที่ดีกว่านี้ แบบว่า เดินด้วยกัน หรือว่าอะไรแบบนี้ และให้คนตีความได้เนี่ย บอกมาละกัน มาดูได้ ถ่ายไว้เยอะ

[update 1] คนที่เห็นรูปนี้ และจะไปตีความโน่นนี่ตามใจชอบ นี่ กรุณาอย่าทำเช่นนั้นนะครับ มันไม่มีเรื่องอะไรแบบนั้นจริงๆ เป็นการถามการบ้านจริง และมีหลายคนอยู่ในห้องนั้น (เป็นสิบ) และถ้าคุณทำเช่นนั้น คุณกำลัง “เข้าใจผิด” และสร้าง Truth ของตัวเอง

[update 2] มีอีกเรื่องว่ะ ที่เพิ่งนึกออก … ผมเคยไปนั่งรอแฟนที่ศาลายา ปกติผมจะไว้ผมยาว ไว้เคราด้วย มีครั้งนึงที่ผมตัดผมสั้น และโกนหนวดเครา กลายเป็นมีคนนินทาแฟนซะงั้น ว่าหลายใจ เปลี่ยนแฟนบ่อย สับราง เออดีแฮะ