เป็นชื่อของ presentation ที่ผมนำเสนอในงาน Ignite Thailand (หรือ hashtag #igniteTH) ครับ ซึ่งจริงๆ แล้วผมอยากจะเปลี่ยนชื่อมันนิดหน่อย เป็น “How to Change Petsitive to Positive World” นะครับ แต่ไม่เป็นไร ชื่อเดิมก็สวยดี
ใจความสำคัญของ presentation นี้ อยู่ที่ทัศนคติพื้นฐาน 4 ข้อ ง่ายๆ เริ่มได้ที่ตัวเอง ในการที่จะเปลี่ยนโลกที่มัน “เ-ี้ย” (Petsitive World; ศัพท์บัญญัติเอง จากตัวการ์ตูน @petdo ซึ่งเป็น “สัญลักษณ์แห่งพฤติกรรมเ-ี้ย”) หรือโลกที่โคตรจะติดลบ ให้กลายเป็นโลกที่เป็นบวก
เนื่องจาก background ผมมาจากการศึกษา Chaos Theory ดังนั้นผมเชื่อว่าในระบบ Complex System ที่ Far-From-Equilibrium นั้น การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อเนื่องได้ ในทั้ง space-time (dynamical system) จะส่งผลกระทบอย่างมาก ถึงขนาดเปลี่ยนระบบจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อระบบมันรันตัวเองไปสักระยะหนึ่ง เช่น การกระพือปีกของผีเสื้อในบราซิล สามารถส่งผลให้เกิดพายุกระหน่ำกรุงโตเกียว ในอีกหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือนให้หลังได้
Slide สำคัญ 9 slides จากงานนี้ครับ โดยผมตั้งใจเล่นโทนขาว-ดำ ให้มันตัดกันชัดเจน (รวมทั้งการแต่งตัวของผมด้วย ที่ใส่เสื้อดำ กางเกงขาว … ตั้งใจเสียดสี ไม่ใส่เสื้อขาวกางเกงดำ เพราะ สีดำ มันจะได้ปิดทับหัวใจ และสีขาว อยู่ติดดินกว่า)
ธีมหลักคือ: เปลี่ยนทัศนคติพื้นฐาน แม้เพียงนิด อะไรๆ มันก็เปลี่ยนไปเยอะแล้ว
คนคิดลบ คิดทุกอย่างเป็นลบหมด ได้ยินทุกอย่างเป็นเสียงด่า และไม่มีความสุข ในขณะที่คนคิดบวก ได้ยินทุกอย่างเป็นการให้กำลังใจ และการให้โอกาสทั้งหมด ซึ่งใน Ignite นี้ ผมได้ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คำว่า ไอ้ชั่ว ไอ้เชี่ย ไอ้เหี้ย … เราแน่ใจว่าเราได้ยินเช่นนั้น แต่เป็นแบบนั้นจริงๆ เหรอ? คิดบวกซะหน่อย มันอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นก็ได้ เพราะคำว่า I sure, I cheer, I hear นั้นใกล้เคียงกันมาก ซึ่งเรื่องนี้มีผลนะครับ เช่น
- ในวิชาสัมมนาของนักศึกษา นักศึกษาส่วนมากจะกลัวอาจารย์ถาม ไม่รู้จะกลัวไปทำไม เพราะคิดว่าอาจารย์จะดุ ด่า ว่า กล่าว หรือแย่กว่านั้นก็คือ อาจารย์แกล้งให้เสียหน้าต่อหน้าเพื่อนๆ ฯลฯ นั่นเป็นตัวอย่างของการคิดลบ ถ้าคิดบวก คำถามเดียวกัน อาจารย์คนเดียวกัน ก็จะกลายเป็น อาจารย์ถามเพื่อให้เรารู้ เพื่อให้เราได้ลองตอบ เพื่อชี้ทางให้เรา ฯลฯ
การจะเปลี่ยนโลกที่มันเ-ี้ยๆ ให้กลายเป็นโลกที่มันดี ไม่ยากอย่างที่เราคิด เริ่มที่ตัวเรา ด้วยทัศนติ ที่เปลี่ยนไปนิดเดียวพอ โดยคีย์ของมันคือ “มองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของระบบ” อย่ามองระบบแยกจากตัวเอง
- อย่าดีแต่เห็นแต่ปัญหา (See Problem) เหมือนกับป้ายโฆษณาหาเสียงผู้ว่า กทม. สมัยหนึ่ง เห็นปัญหาอย่างเดียว ไม่ยากหรอกครับ ท่านเห็นปัญหา ท่านไม่เก่งหรอกครับ เชื่อผมเถอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปัญหาที่ท่านเห็น เป็นปัญหาที่อยู่กับคนอื่น ส่วนอื่น ให้ลองเปลี่ยนเป็น มองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เรามีส่วนในการทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นมาอย่างไร ถ้าเราแก้ที่ตัวเรา ปัญหามันก็จะแก้ตัวมันเอง (Solve Problem) หรือถ้ายุ่งยากนักล่ะก็ อย่าดีแต่ด่า ให้เสนอตัวมาแก้ปัญหาซะ
- อย่ามองระบบแบบแยกส่วน และพยายาม maximize แต่ละส่วน เพราะว่ามันน้อยครั้งเหลือเกิน ที่ optimum ของระบบ มาจาก maximum ของแต่ละส่วนของระบบ ใครที่เคยอ่านหรือศึกษา Game Theory (แค่ Prisoner’s Dilemma ก็พอ) จะเข้าใจดี ว่าหากว่าแต่ละส่วนย่อยของระบบ พยายาม maximize เฉพาะของตัวเองแล้ว ระบบใหญ่ ระบบหลัก มันจะห่วยมาก แย่มาก
- อย่าเลือกที่การได้รับประโยชน์ (Take) แต่ให้เลือกการได้สร้างประโยชน์ (Give) การที่คนหมู่มากเลือกด้วยเหตุผลที่ตัวเองได้รับประโยชน์ โดยไม่ต้องทำอะไร ก็ไม่ต่างอะไรกับการรวมหัวกันปล้นระบบหลัก ซึ่งการ maximize parts และ takes นี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “พลีชาติ เพื่อชีพ” ไม่ใช่ “พลีชีพ เพื่อชาติ”
- ทุกปัญหาย่อมมีสาเหตุ เช่นเดียวกับทุกๆ เรื่อง ที่ย่อมมีสาเหตุ แต่เรามักจะทุกข์กับผลของปัญหา (นั่นคือ ปัญหาเกิดจากสาเหตุบางประการ แต่เมื่อปัญหาเกิดแล้ว เราทุกข์จากผลของมัน) ถ้าเราแก้แค่เหตุที่เราทุกข์ (ผลของปัญหา) ปัญหานั้นจะไม่หายไป เพียงแต่เราปัดมันพ้นตัวเราไปเฉยๆ
แก้ได้แค่นี้ ก็ไม่ Petsitive แล้ว
ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการจราจร ใครๆ ก็เบื่อ “รถติด” ใครๆ ก็รู้ว่า “รถติด” เป็นปัญหา ใครๆ ก็เห็น ดังนั้นอย่าดีแต่เห็น จะแก้มันยังไง? บางคนเริ่มบอกผู้ว่า กทม. บางคนเริ่มโยนให้คนโน้นคนนี้ บางคนเริ่มวิเคราะห์มากมาย เพราะทุกๆ อย่าง …. ลองดูนี่
- ตอนที่เราบ่นว่ารถติด เราอยู่ที่ไหน? ครับ อยู่บนถนน งั้นเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รถติดครับ ไม่เชื่อถามคันข้างหลังดูครับ ถ้างั้นก่อนที่จะไปบอกผู้ว่า กทม. มาดูสิ่งที่เราทำได้ก่อนครับ ว่ามีอะไรบ้าง
- ตระหนักเสียก่อน ว่ามันมี “ส่วนรวม” (Whole) คือ “ถนน” หรือ “การจราจร” และ “ส่วนย่อย” (Parts) ซึ่งก็คือรถแต่ละคัน เราแต่ละคน ถ้าเราคิดแต่จะ Maximize แต่ละ part นั่นคือ ฉันต้องได้ไปก่อน ขอฉันไปก่อน เลนฉันช้าเปลี่ยนไปอีกเลน ฯลฯ เอาแต่ตัวเองได้ไปก่อน คนอื่นช่างกัน โดยลืมกันไปหรือเปล่าว่า เราควร optimize “การจราจร” ให้ถนนทั้งเส้นมันเร็วที่สุด ไม่ใช่เอาแต่ตัวเองรอด ได้ไปก่อน คนอื่นช่างมัน
- งั้น Give vs. Take ล่ะ? อันนี้คือ “ทางเลือก” ของเรา เมื่อเรามีทางเลือก เราจะทำอะไรระหว่าง “ให้กับการจราจร” หรือ “เอาผลเข้าตัวเอง” นั่นคือ การเลือกให้ ในสิ่งที่จะทำให้การจราจรมันลื่นกว่า
- แล้วแก้ปัญหาที่เหตุล่ะ? ไหนล่ะ … ย้อนกลับไปดูตั้งแต่ข้อ 1 ครับ …. เป็นยังไงครับ แก้ที่เหตุแล้วหรือยัง? ไม่ใช่แค่ปัดพ้นๆ ตัว รีบๆ ขับ ขอกูไปก่อน ผ่านตรงนี้ไปก็พอแล้ว ฯลฯ ซึ่งเป็นการแก้ที่เหตุที่เราทุกข์ และให้คนอื่นทุกข์ต่อ ทั้งนั้น
แค่นี้แหละครับ ปัญหาหลายอย่างจะดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ โลกนี้จะน่าอยู่ขี้นอย่างไม่น่าเชื่อ …. เชื่อมั้ย?
บล็อกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (บอกกันได้นะครับ แล้วผมจะใส่ไว้เรื่อยๆ)
ขอบคุณนะครับ สำหรับบทความดีๆ อันที่จริงหลังๆผมเองก็พยามยามคิดบวกมาขึ้น
แต่สงสัยเรื่อง ผีเสื้อกะพือปีกที่ญี่ปุ่นแล้วส่งผลถึงบราซิลนี่ มันเป็นยังไงเหรอครับ เคยได้ยินนะ แต่คิดว่าพูดกันเล่นๆ
@pitiphong_p
ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยครับ ข้อความนี้อาจจะกล่าวกันเล่นๆ เพราะว่า effect จากการกระพือปีกของผีเสื้อ อาจจะถูก cancel out ได้ด้วยอย่างอื่นๆ มากมาย
แต่ประเด็นจริงๆ ของเรื่องนี้คือ sensitivity to slightest change in conditions ในระบบ dynamical system แบบเปิด ที่ไม่อยู่ใน equilibrium (และลู่ออกจาก equilibrium) ครับ
เพราะว่าการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มันจะส่งผลเป็นห่วงโซ่ ส่งผลไปไกลได้อย่างมหาศาล
ขอบคุณครับสำหรับidea ดีๆๆ
Chaos Theory
อันนี้ผมเคยได้ยินเหมือนกันครับในเรื่องบัตเเตอร์ฟลายเอ็ฟเ็ฟ็กครับแต่ก็ไม่เข้าใจว่ามันมีอะไรนอกจากปีกผเสื้อหรือไม่ครับ
เรื่องจราจรผมอยากออกความคิดเห็นเหมือนอาจารย์คัรบคือทุกๆคนมีส่วนทำให้ปัญหาเกิดเพราะว่ารถคันนึงก็อยากท่เรารู้ๆกันอยู่ว่ารถคันนึงยาวประมาณ3เมตรได้มั้งปีนึงมีรถที่ยอกซื้อสั่งจองราวๆ10000กว่าคันอันนี้ผมประมาณดูน่ะคัรบ30000กว่าเมตรที่เราต้องเสียพื้นที่ถนนให้กับรถแต่ละปีซึ่งเท่ากับว่าปีนึงเราต้องตัดถนนใหม่ราวๆ30kmเลยทีเดี่ยวเพื่อให้รถไม่ติดซึ่งเรื่องนี้มันเกิดจากความเห็นแก่ตัวของแต่ละคนคนนั่งรถเมลย์ก็รู้สึกว่าฉันจะมานั่งร้อนทำไมเก็บเงินซื้อรถดีกว่าเมื่อหลายๆคนคิดแบบนี้ทำให้คนใช้บริการรถสาธารณะน้ยลงหันมาใช้รถส่วนตัวมากขึ้นและยิ่งใช้มากขึ้นยิ่งทำให้ติดมากขึ้นทำให้คนใช้รถเมลย์น้่อยลงใช้รถส่วนตัวเยอะขึ้นแล่้วก็คิดอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนเป็นเหมือนทุกวันนี้
ส่วนเรื่อง
“ขอกูไปก่อน”
ผมรู้สึกว่ามันเกิดขึ้นได้จากหลายๆประเด็นแต่ผมรู้สึกว่ากฎหมายก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการเห็นแก่ตัวเวลาขับรถชนกฎหมายมักจะบอกว่าคันหน้าไม่ผิดคันหลังผิดเสมอดังนั้นผมว่าไอคันหน้าก็ขัยมั่วเลยดิครับไม่แคร์คันหลังเพราะยังไงกูก็ไม่ผิดอยู๋แล้วหรือการมีน้ำใจถ้ารถเลนส์นึงจะเปลี่ยนเลนส์อแต่เราไม่ให้เปลี่ยนแล้วเกิดการชนกันขึ้นมารถเลนส์หลักก็ถูกเสมอ^^