มีอย่างนึงที่การศึกษาบ้านเราชอบ(ให้)ทำกัน คือ การหา paper งานวิจัยใหม่ๆ ที่ได้รับการตีิพิมพ์ใน journal หรือว่า proceeding ของ conference ดังๆ แล้วเอามา present ให้คนอื่นฟัง ถ้าเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือว่างานวิจัย ก็มักจะเรียกกันว่า Journal Club แต่ว่าก็มักมีในวิชาทำนอง Research Methodology เหมือนกัน ซึ่งโดยมากนักศึกษาก็จะหา paper ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับงานที่ตัวเองต้องทำเป็น thesis/project จบ
จากประสบการณ์ในการนั่งฟังมาหลายปี หลายครั้ง ก็มีข้อคิดฝากถึงน้องๆ ทุกคนดังนี้
- การ present paper งานคนอื่น ไม่ใช่การมานั่งแปล paper ให้ฟังนะครับ การแปลคำๆ หนึ่งเป็นภาษาไทยได้ ไม่ได้แปลว่าเรา “เข้าใจ” ในคำๆ นั้น เช่นคำว่า evolution แปลว่า วิวัฒนาการ แต่ว่า วิวัฒนาการ มันหมายถึงอะไร? เช่นคำว่า parallel processing แปลว่าการประมวลผลแบบขนาน แต่ว่าแล้วมันหมายความว่ายังไงล่ะ? ตรงนี้หลายคนตกหล่นไปมากๆ ไม่ได้ทำความเข้าใจกับสิ่งที่ตัวเองอ่านให้ดีๆ
- หลายคนพออ่านไปเจอตรงที่ยาก อ่านไม่เข้าใจ ซึ่งส่วนมากจะเป็นส่วนที่เป็น mathematical description/model ซึ่งไอ้ตรงนี้แหละ มันมักจะเป็น “เนื้อ” ของงานจริงๆ เพราะว่ามันมักจะอธิบายรายละเอียดของการทำงาน assumption และอื่นๆ อีกมากมาย ที่ทำให้สิ่งที่เค้าเขียนใน paper มันทำงานได้ พอข้ามตรงนี้ไป ก็เลยไม่รู้เรื่องจริงๆ แล้วก็มาทำเนียนๆ ข้ามๆ ไปในตอน present ซึ่งจริงๆ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่หรอกนะ
- ไม่มีการอ่าน paper ในเชิง critique นั่นคือ วิเคราะห์ความมีเหตุมีผล ความเหมาะสมของขั้นตอนต่างๆ ที่ผู้วิจัยเขาได้อธิบายมา และความเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ต่อไป หลายอย่างที่เขียนมาใน paper หลายฉบับ มันก็ไม่ได้ make sense ในทุก context หรอกนะ หลายวิธีการมัน place assumption บางอย่างที่มัน specific มากกับลักษณะข้อมูลบางอย่าง หรือว่าบางอย่างก็เหมาเอาเลยโดยไร้เหตุผลก็มี แบบนี้ถ้าเราอ่านและศึกษาโดยไม่มีสายตาของการ critique แล้วเนี่ย มันก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา
- แทบทุกคน พอถามอะไรที่มันเป็นพื้น เป็นฐาน ของแนวคิดของวิธีการที่ paper เขียนถึง กลับอ้างง่ายๆ ว่า “มันไม่มีใน paper” หรือว่า “paper เค้าไม่ได้เขียนถึง” ทั้งๆ ที่จริงๆ ก็มี reference ถึงไว้เรียบร้อยแล้ว หรือว่าเป็นพื้นฐานที่หาอ่านที่ไหนก็ได้ (โดยมากมักจะเป็นตำราระดับ undergrad text ทั่วไป) รบกวนทำการบ้านซักนิดนึงนะ
- เวลาที่โดนถามอะไรนะ อย่าใช้ความ “นิ่ง” ในการเอาตัวรอด การพยายามนิ่ง ไม่ตอบไปเรื่อยๆ ignore ไปเรื่อยๆ รอจนกว่าคนจะหมดความอดทนหรือว่ารอให้เวลาหมดแล้วจะผ่านไปเอง เพื่อเอาตัวรอดไปเป็นครั้งๆ ไม่เคยช่วยใครในระยะยาว บางทีการเดาคำตอบ หรือว่าการพยายามคิด และโยนคำตอบที่มันไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่าหรอก แต่ว่าผ่านการคิดอย่างมีเหตุผลมาแล้ว เนี่ย มันดีกว่าตั้งเยอะ เดี๋ยวพวกอาจารย์เค้าก็ช่วยตบให้มันเข้ารูปเข้ารอยเองน่ะแหละ ยิ่ง “นิ่ง” ยิ่งพยายามไม่ตอบ ยิ่งแย่นะน้องนะ
- Slide ที่เต็มไปด้วย text แล้วมายืนอ่านให้ฟัง (โดยเฉพาะพวกที่เสียง monotone) แล้วก็พยายามทำให้มันน่ารำคาญมากขึ้นด้วยลูกเล่นสารพัด หรือว่า unnecessary graphics/animation/transition เนี่ย รบกวนช่วยเลิกซะทีเถอะนะ
- ทิ้งท้ายอีกครั้งเถอะ ช่วยๆ ดู list ใน reference ด้วย อันไหนท่าทางสำคัญช่วยไปหามาอ่านด้วยจะดีมากเลยนะ น่าจะช่วยได้เยอะ แล้วก็อย่าเลี่ยงส่วนที่ยากของ paper เลยนะ ขอร้องเถอะ
- ที่สำคัญ อย่ามั่ว
ด้วยความปรารถนาดีถึงทุกคนที่ต้อง present งานชาวบ้าน
หลายๆ ข้อก็กลายเป็นว่าพบได้ในหมู่ครูบาอาจารย์นะครับ = =; นั่งอ่าน Text ให้ฟังผิดๆ ถูกๆ น่าเบื่อมาก
แถมส่วนใหญ่อาจารย์เหล่านี้ Ego สูงไม่ฟังใครซะด้วยสิ… สุดท้ายก็ปล่อยแกไปเลยตามเลยซะงั้น
ปล. ไม่ได้สอบวิชาอาจารย์ซักทีเลยนะครับ
อันนั้นมีแน่ๆ ยังมีเด็กที่ภาคมาบ่นให้ฟังอยู่เลย พอโดนถามก็บ่ายเบี่ยง แล้วก็พูดไปพูดมาขัดกันเอง ก็มี
มันกลายเป็นเรื่องปกติไปเมื่อไหร่ก็ไม่รู้
วันที่ 25 นี้เชิญนะน้อง ถ้าว่าง งาน blognone tech day 3.0 น่ะ มีเรื่องนี้ด้วย ;)
comment ของคุณ raiki สงสัยจะมาจากแหล่งเดียวกันล่ะคะ
พออ่านแล้วนึกถึงหน้าเธอคนนั้นลอยมาเลย
“…พยายามทำให้มันน่ารำคาญมากขึ้นด้วยลูกเล่นสารพัด หรือว่า unnecessary graphics/animation/transition” –> อัันนี้คิดถึงเรื่อง Power Point เลยค่ะ
ผมว่าปัญหาสำคัญเลยคือ การที่เด็กไม่หาและไม่อ่าน paper ที่อยู่ใน reference เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหานั้น เพราะบางที สิ่งที่ผมเจอบ่อยคือ เด็กอ่าน paper ไม่เข้าใจ ในpaper ก็จะมี reference กำกับในส่วนนั้น เด็กก็จะไม่ตาม reference ในส่วนนั้น ทำให้ขาดความเข้าใจใน paper และส่วนใหญ่จะอ้างว่า ไม่มีเวลา ไม่เข้าใจ อ่านยาก ซึ่งบางที เนื้อหาในนั้นสามารถค้นหาได้ในอินเตอร์เนต
สรุปผมคิดว่านักศึกษารุ่นใหม่ขาดการค้นคว้า การพยายามคิดเอง ครับ ได้แต่เป็นนักเรียนดังเช่นนักเรียนมัธยม รอคอยแต่ผู้สอนจะเอาวิชามามอบให้อย่างเดียว
อีกเรื่องก็เหมือนที่คุณ raiki พูดเกิดจากตัวผู้สอนที่ทำหน้าที่ป้อน ego สูงสอนผิดก็ไม่ยอมรับผิด บางทีสอนไปในเรื่องที่ไม่มีความรู้ มั่วสอนไป และสำคัญสอนเหมือนสอนให้จบไปวันๆ ไม่มีการเตรียมการสอนให้นักศึกษาตั้งใจฟัง
คุณ moleculark มางาน tech day 3.0 หรือเปล่าครับ? คงได้คุยกันสนุกนะ
ไปแน่นอนครับ
เรื่อง present งานเนี่ย พยายามจะบอกว่า ขอให้สรุป ไม่ใช่อ่านจากงานที่ทำ หรือกระดาษ เพราะว่าไปอ่าน
paper หรือตัวเล่มเองได้ เพราะการสรุปจะเป็นสิ่งที่บอกได้ว่า คนที่ทำมานั้นเข้าใจหรือไม่ อ่านเข้าใจหรือว่า
จับประเด็นสำคัญ หรือแนวคิดอะไรได้บ้าง ส่วนพวก Monotone ถ้าให้ดี น่าจะฟัง “ก้านคอคลับ” เพื่อกระตุ้น
ตัวเองมาก่อน ไม่งั้นหลับหมดแน่ๆ
ปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเห็นด้วยกับ คุณ molecularck คือ เด็กไม่หาและไม่อ่าน ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ
อย่าไปคาดหวังเลยว่าเขาจะใช้เวลาว่างมานั่งอ่าน paper ถ้าไม่ให้การบ้านหรือให้งานไปล่ะก็ อย่าหวังว่าเด็กจะรู้จัก
paper เลย ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหาได้จากไหน ถ้าไม่มีใครบอก ในห้องสมุดมีอะไรบ้าง สาขาของเราจะหาได้จากไหน
เด็กสมัยนี้จะรู้จัก google และ Wiki แต่ไม่รู้จัก OPAC ยิ่งแต่ก่อนที่ใช้ตู้บัตรรายการ ยังไม่มีการใช้
ระบบอัตโนมัติ มีเพื่อนเคยเรียกเจ้า “ตู้บัตรรายการ” ว่า “ตู้อะไรเอ่ย”
อยากรู้จังว่า นักศึกษาอยากให้อาจารย์สอนแบบไหน??? และ
อาจารย์อยากให้นักศึกษา เรียนแบบไหน???
นักศึกษาเรียนแบบนั่งฟัง หรือเรียนแบบที่ศึกษาแล้วเอามาคุย/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน???
ผมชอบให้นั่งคุยกันนะ เอาความคิด/ประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกันนะ ตอนนี้พยายามสอนที่ lab ให้ดูหนังด้วยกัน แล้วเอาเรื่องราว/ข้อคิด/ปรัชญา จากหนังมาคุยกัน
แต่ก่อนผมคิดว่าการดูหนังทำให้เราเห็นภาพได้ง่ายกว่าการอ่าน เมื่อเวลาผ่านไปพร้อมกับที่ผมได้อ่านงานเขียนที่แม้จำจ้ำเน่าแค่ไหน หรือผลงานที่ได้รับรางวัลต่างๆ หรืองานเขียนที่อยู่ตามเว็บไซต์แล้ว ผมกลับคิดว่าการดูภาพ (ดูหนัง ละคร) ทำให้เราคิดอะไรได้ช้า หรือคิดไม่ทันกับภาพหรือข้อความที่ตัวละครยัดใส่หูมาให้เราซึ่งเป็นผู้ชม ในทางกลับกันเมื่อผมอ่านหนังสือ ผมสามารถคิดอะไรได้ลึกซึ้ง และได้หลายมุม กว่าการมองภาพ (เคลื่อนไหว) เหมือนกับที่เราอ่านหนังสือบางเล่ม แล้วมีคนเอาเรื่องนั้นมาทำเป็นภาพยนตร์ หรือละคร ถ้าถามกันจริงๆก็ต้องตอบเลยว่าอ่านหนังสือได้อรรถรสดีกว่านั่งดูภาพยนตร์ ผมว่าน่าจะลองแบ่งเด็กกลุ่มหนึ่งอ่านหนังสือ และอีกกลุ่มให้ดูภาพยนตร์ ซี่งเป็นเรื่องเดียวกัน แล้วมาคุยกัน หาข้อคิดที่ได้จากเรื่อง อาจจะได้ข้อคิดอะไรมากขึ้นก็ได้ หรือความคิดของผู้เสพงานเหล่านั้นเอง
อันนั้นอีกประเด็นนึง ซึ่งเป็นคนละประเด็น คนละวัตถุประสงค์
สิ่งที่ผมคิด ก็คือ ให้ดูหนังแล้วลืมความเป็นหนัง ไม่ได้อยากให้สนใจเนื้อเรื่อง แต่ว่าอยากให้หาข้อคิด ปรัชญา สิ่งที่หนังอาจจะอยากบอกอ้อมๆ หรือว่าตรงๆ ทฤษฏีต่างๆ ที่หนังเอาไปใช้เป็น idea ฯลฯ มากกว่า
ดังนั้นการเห็นภาพเดียวกันเป็นสิ่งสำคัญ แต่ว่าการนำไปตีความต่อ หรือว่าการมองหนังเป็นกระจกเงาสะท้อนสิ่งรอบตัว เป็นสิ่งที่แต่ละคนทำต่างกันอยู่แล้วจากมุมมองจากประสบการณ์
ผมอยากจะตัดประเด็น หนัง vs. หนังสือ ทิ้งไป เพราะว่าถ้าทำเช่นนั้น จะมีคนหลงประเด็นระหว่างการใช้ หนัง สะท้อนสังคม สะท้อนปัญหา สะท้อนประสบการณ์ สะท้อนทฤษฏี กับการวิพากษ์หนัง vs. หนังสือ
เช่นหนังเรื่อง spiderman ทั้ง 3 ภาค ที่ผมเคยวิจารณ์ไปแล้วในแง่ปรัชญา หรือว่าหนังเรื่อง The Matrix ที่ลองตีความในแง่ Prison of Mind ที่ตัวเองสร้าง ตัวเองอยู่ ตัวเองยึดติด ลองดูหนังสะท้อนตัวเองดู
ทำนองนั้นมากกว่า
ไม่ได้บอกว่าไม่ควรอ่านหนังสือ ผมเองก็อ่านหนังสือเยอะ วันละเล่มเป็นอย่างน้อยๆ (หนังสือ popular science ของฝรั่งเป็นส่วนมาก) แต่ว่าการทำเช่นนั้นจะทำให้คนคุยกันไม่รู้เรื่องตามวัตถุประสงค์ของผมเปล่าๆ เพราะว่ามันจะมีประเด็นตีกันเยอะขึ้น ถ้าจะทำแบบนั้นก็ต้องอีก seminar หนึ่งล่ะ
อีกอย่างนะ อ่านหนังสือมันใช้เวลา ขึ้นกับความขยันของคน … แต่ว่่าดูหนังมันระบุเวลาแน่นอนได้ ว่า 2-3 ชั่วโมงจบ ดังนั้นมันเป็นกิจกรรมระยะสั้นที่ดี