ออกแบบเว็บไซต์

เมื่อกี้มีคนปรึกษาเรื่องการออกแบบเว็บไซต์นิดหน่อย เลยขอยกการสนทนามาให้อ่านกันตรงนี้นะครับ คิดว่าเป็นข้อคิดและอุทธาหรณ์ได้บ้างพอสมควร แต่ขอเอาชื่อผู้ถามผมออกนะครับ

ผู้ถาม: อาจารย์เว็บแบบไหนที่แตกต่างๆ
ผู้ถาม: ขอคำแนะนำหน่อยนะคะ
ผู้ถาม: พอดีเพื่อนเขียนเว็บให้บริษัทน่ะ
ผม: แล้วทำไมต้องแตกต่าง?
ผู้ถาม: แต่ไม่อยากจำเจอยู่กับรูปแบบเดิมๆๆ
ผม: มาอีกล่ะ พวกทำงานเอารูปแบบเป็นหลัก จะรูปแบบเก่า รูปแบบใหม่ ถ้าไม่ได้วิเคราะห์เรื่อง function และ usage เป็นหลัก มันจะทำได้ไง
ผู้ถาม: แต่คือว่าเขาแค่ตอ้งการดีไซต์และส่วนเรือ่งนั้นเขาคงทำเองอ่ะ
ผู้ถาม: ก้อแค่ออกแบบอะ
ผม: เว็บไซต์ไม่สามารถ design หน้าตาได้ หากไม่ design function ครับ
ผม: มันเหมือนกับคุณอยากจะออกแบบ “หน้าตา” ของรถยนต์ โดยไม่กำหนดว่า รถคันนี้ จะต้องวิ่งในที่แบบไหน บรรทุกอะไร กลุ่มเป้าหมายคืออะไร
ผม: คุณอาจจะคิดว่า หน้าตารถสปอร์ตมันเท่ห์ดี
ผม: แต่รถตู้ที่ออกแบบโดยใช้ concept รถสปอร์ต มีแต่ห่วยกับห่วย
ผม: ว่างั้นเถอะ
ผม: ไม่ได้กวนตีนหรือหลบเลี่ยงในการตอบ แต่ด้วยจรรยาบรรณ ไม่สามารถออกแบบเฉพาะหน้าตาได้ครับ หากคุณเคารพวิชาชีพตัวเอง ในฐานะนักออกแบบเว็บไซต์
ผู้ถาม: แต่มานก้อเปงส่วนหนึ่งหนิ
ผม: ลำดับก่อนหลังมีผลครับ
ผม: เอางี้ ผมให้คุณเลือกชุด จะพาออกงาน คุณจะเลือกชุดอะไร? ยังไง?
ผู้ถาม: ก้อต้องดูงานก่อนค่ะ
ผม: ใช่มั้ย
ผม: คุณต้องทราบว่า “งานอะไร แขกที่จะต้องไปพบ เป็นคนระดับไหน ต้องดู look เป็นยังไง ฯลฯ” ใช่มั้ย
ผม: ก็แบบเดียวกับการออกแบบเว็บไซต์น่ะแหละครับ
ผู้ถาม: แต่งานนี้เปงวัตถุดิบทางอุตสาหกรรม
ผู้ถาม: แต่ลูกค้าบอกว่าไม่อยากให้ธุรกิจมากเกิน
ผม: ถามคนอื่นเถอะครับ
ผม: คนที่ไม่ได้มีมาตรฐานในการทำงาน และมีจรรยาบรรณในการักษามาตรฐาน มีเยอะครับ
ผู้ถาม: ค่ะ
ผม: เหมือนสร้างตึกครับ ถ้าผมเป็นนักออกแบบ สถาปนิก ผมคงไม่สามารถบอกได้ว่า “ตึกนี้สวย ตึกนี้สวย ตึกนี้แปลก เอาแบบนี้ ผสมกับแบบนี้ ผสมกับแบบนี้ ฯลฯ” โดยไม่ดูว่า “แล้วมันเป็นตึกอะไรวะ ใครจะอยู่วะ เอาไปทำอะไรวะ คนเดินเข้าออกเยอะมั้ยวะ ฯลฯ”
ผม: สุดท้าย คุณอาจจะได้ตึกที่สวย แปลก เฉี่ยว แต่ใช้งานไม่ได้จริง
ผม: ตัวอย่างนี้มีให้เห็นตามเว็บไซต์ทั่วไปครับ
ผม: สวย แปลก ดูครั้งแรกแล้ว “ว้าว!” แต่ขอโทษนะครับ ไม่สามารถใช้งานได้จริงตามที่มันควรจะใช้งานได้
ผู้ถาม: ช่ายค่ะ
ผู้ถาม: พอเข้าใจและ
ผม: ขออนุญาตเอาการสนทนานี้ ไปลง blog และสอนหนังสือนะครับ เป็นตัวอย่างแนวคิดและทัศนคติหนึ่ง ที่พบเห็นได้ตามสังคมทั่วไป
ผู้ถาม: ขอบคุงค่ะ
ผู้ถาม: แป่ว
ผู้ถาม: ตามบาายคะ
ผู้ถาม: ก้อคิดไม่ออก
ผู้ถาม: เพราะยึดติดแต่สิ่งที่แตกต่างอ่ะคะ

ตามนั้นเลยครับ อีกอย่างนะครับ ช่วยๆ กันใช้ภาษาไทยให้มันถูกๆ หน่อยดีกว่านะครับ คือ บางครั้งเราพิมพ์ผิดโดยไม่ตั้งใจนี่คงไม่เป็นไร แต่ถ้าใช้แบบ “ก้อ (ก็)” หรือ “เปง (เป็น)” หรือ “มาน (มัน)” จนกลายเป็นเรื่องปกติ ผมว่ามันก็เกินไปครับ