ต่อจากตอนที่ 1 (Background) และตอนที่ 2 (อ่านหนังสือ) ก็มาถึงเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่ผมอยากเล่าถึงเจ้า iPad ซึ่งก็คือเรื่อง “การทำงานแบบ casual แทนคอมพิวเตอร์ได้บ้าง” ซึ่งจริงๆ ก็เขียน requirement นี้ไว้ตั้งแต่ตอนที่ 1 แล้ว แต่ว่าทิ้งช่วงไปพักใหญ่ๆ เพราะว่าไม่ค่อยว่างจะเขียน
สำหรับการทำงานนั้น เห็นได้ค่อนข้างชัดเจนว่า Apple เองนั้นก็ได้วางตำแหน่งของ iPad ในลักษณะ casual work ด้วยเช่นกัน ด้วยการออกชุดโปรแกรม iWork สำหรับ iPad ซึ่งประกอบด้วยโปรแกรมมาตรฐานสำหรับชุดนี้ นั่นก็คือ Pages, Keynote, Numbers แต่ว่าสามารถซื้อแยกกันได้
อ่อ ลืมไป สำหรับคนที่ไม่มี account ที่ใช้ iTunes Store USA ได้ ก็เสียใจด้วย เพราะว่าจะซื้อ/โหลดโปรแกรมไม่ได้ (รวมถึง iBooks ด้วย) ซึ่งปัญหานี้แก้ได้โดยซื้อ iTunes Gift Card ตาม e-Bay ซึ่งมีคนซื้อมาขายเรื่อยๆ กินกำไรเล็กๆ น้อยๆ ราคาค่อนข้างดีพอสมควร ก็ซื้อพวกนี้มา redeem สร้าง account เอา
ผมคิดเอาไว้ว่า นอกจากโปรแกรมในชุด iWork แล้ว จะต้องมีโปรแกรมอีก 4-5 ตัวเป็นอย่างน้อย ถึงจะใช้ทำงานได้ เช่น โปรแกรมบันทึกรายรับรายจ่าย และวางแผนการเงินเบื้องต้น โปรแกรม Mindmapping โปรแกรมสมุดโน๊ต (Journaling) ที่ค่อนข้างเฉพาะทาง และใช้งานไม่ยาก โปรแกรมฐานข้อมูลง่ายๆ และโปรแกรมเชื่อมต่อกับ Google Doc ก็น่าจะครบในระดับหนึ่งแล้ว
โปรแกรมเหล่านี้ หาไม่ยากแต่อย่างใด เพราะว่ามีคนทำขายค่อนข้างเยอะอยู่ ราคาก็ถือว่า OK โดยทั่วไปจะสูงกว่าโปรแกรมบน iPhone อยู่นิดหน่อยถึงปานกลาง (แต่ว่าที่แพงๆ หน่อย เทียบกับราคามาตรฐาน เช่น Papers ก็มีเช่นกัน แต่ว่ายังไงๆ ตัวนี้ผมก็ซื้อนะ เอามาอ่าน papers ซึ่งก็ทำงานได้ดีพอสมควร)
สำหรับโปรแกรมในชุด iWork นี่ตอนนี้ซื้อมาแค่ Numbers และ Keynote เพราะว่าตราบใดก็ตามที่ยังไม่มีคียร์บอร์ดภาษาไทยแบบดีๆ ผมก็ยังทำงานกับเอกสารภาษาไทยไม่ได้อยู่ดี ดังนั้นมี Pages ไปก็ค่อนข้างจะเท่านั้น และเท่าที่ลองๆ ดู ก็พบว่าทั้งสองตัวทำงานได้ค่อนข้างดี โดยเฉพาะเมื่อมีคนส่งไฟล์มาให้ผมแก้ หรือว่าเพิ่มข้อมูลอะไรบางอย่าง (ซึ่งส่วนมากจะเป็นไฟล์ Excel)
สำหรับโปรแกรมอื่นๆ นอกนั้นก็ทำงานได้อย่างที่คาดหวังไว้ ด้วยขนาดของหน้าจอที่ใหญ่พอให้ทำงานได้จริง เมื่อเทียบกับ iPhone ซึ่งผมคิดมาตลอดว่า มีข้อจำกัดด้าน Physical มากเกินไปสำหรับการทำงาน Productivity จริงจัง โดยสำหรับ iPad แล้ว การตอบเมล์ที่ยาวขึ้น การเขียนอะไรที่ยาวขึ้น รวมถึงการใช้งาน Productivity Apps ต่างๆ ในการกรอกข้อมูล หรือบริหารจัดการข้อมูลที่กรอกไปแล้ว ค่อนข้างจะทำได้ดี ทำให้ผมมีมั่นใจที่จะพกมันไปไหนมาไหนในโหมด “อ่านเป็นหลัก เล่นเน็ตบ้าง และเผื่อทำงานถ้าจำเป็น” มากขึ้นเยอะ
ตอนนี้สิ่งที่ขาดที่สุดสำหรับ iPad คือ Mind Mapping ที่ดีและใช้งานง่าย ไม่เน้นฟีเจอร์ แต่เน้นสร้าง Mind Map โง่ๆ ได้แบบด่วนๆ และไม่ขัดกับธรรมชาติการใช้งาน (และ compatible กับโปรแกรมที่ผมใช้อยู่บน Desktop .. อย่างน้อยๆ ก็ให้เปิดไฟล์กันได้) นอกจากนี้อาจจะขาดพวก Personal Wiki หรือ Information Organizer ที่ยืดหยุ่นสักหน่อย ใช้งานในลักษณะ Wiki ส่วนตัวได้ ก็น่าจะจบแล้ว (ระบบเชื่อมด้วย Tag ของโปรแกรม Journaling บางตัวก็ดีนะ แต่ว่ามันยังไม่พอ อยากจะเชื่อมด้วย Wiki Word ไปเลยจะหมดเรื่องหมดราวมาก)
สำหรับเรื่อง Personal Wiki นี่กำลังจะลอง WikiPad ว่าเป็นยังไง ถ้ามันโยน Text File ออกมา sync กับโฟลเดอร์ในเครื่องได้จะ Work มาก เพราะว่าในเครื่องนี่ใช้ Plain Text Wiki สำหรับ TextMate อยู่
โปรแกรมเชื่อมต่อกับ Google Doc ตอนนี้ใช้งานได้ในลักษณะ Viewer อย่างเดียวล่ะมั้ง ตัวที่แก้ไขได้ยังไม่เจอเลย (หรือว่าผมใช้ไม่เป็นเองหว่า) แต่ว่าแค่ Download ได้นี่ก็พอแล้ว เพราะว่าเราให้คนส่งข้อมูลหลายอย่างใน Google Spreedsheet นี่นะ แค่ดูได้ ผมก็ค่อนข้างจะ happy แล้ว แล้วมันก็ sync เป็นเวอร์ชันปัจจุบันกับ Google Doc ให้เรื่อยๆ ก็ดีระดับหนึ่ง
มีอะไรจะอัพเดทเพิ่มเติมนะครับ และตอนต่อไปก็คงจะเขียนเรื่อง “เล่นเกม” ซะหน่อย
โปรแกรม mindmap บน iPad ชื่อ iThought ก็ดีนะครับจารย์
ใช้อยู่ครับ รีวิวนี้เขียนนานแล้ว ตั้งแต่ iThought ยังไม่ออก HD version ครับ