อะไรยากกว่ากัน ระหว่าง
- สอนคนที่เขียนโปรแกรมเป็นแล้ว ให้เปลี่ยนภาษา
- สอนคนที่เขียนโปรแกรมไม่เป็น ให้เขียนโปรแกรมเป็น
หลายคนจะตอบข้อ 2 โดยไม่ลังเลเท่าไหร่ เพราะว่าถ้าเป็นภาษาหนึ่งๆ แล้ว เรียนอีกภาษาหนึ่งคงไม่ยากเท่าไหร่ สาเหตุหนึ่งก็คงเพราะว่าภาษาส่วนมากมีรากที่คล้ายๆ กัน เช่น Pascal, C, C++, Java, C# ถ้าเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว การเรียนรู้ syntax ของอีกภาษาหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นเท่าไหร่แต่ว่าสอนคนที่เขียนโปรแกรมไม่เป็นให้เขียนโปรแกรมเป็นนี่สิ งานช้าง เพราะว่าอาจจะต้องสอนแนวคิด หลักการคิดแบบคอมพิวเตอร์ หลักการคิดแบบ von Neumann machine หลักการคิดแบบที่เราต้องใช้เวลาเขียนโปรแกรม ฯลฯ ซึ่งอาจจะยากหน่อย ไหนเลยจะต้องมานั่งเรียนรู้ syntax อีกแต่ว่าถ้าเปลี่ยนคำถามหน่อยนึงล่ะ เปลี่ยนข้อที่ 1 ให้เป็น
- สอนคนที่เขียนโปรแกรมเป็นแล้ว ให้เปลี่ยน paradigm ในการเขียนโปรแกรม
ไอ้นี่อาจจะเป็นงานช้างพอๆ กัน หรือว่าช้างกว่าการสอนคนที่เขียนโปรแกรมไม่เป็นให้เขียนโปรแกรมก็ได้ เพราะว่าคนเราพอมันชินกับวิธีคิดแบบไหนแล้ว การจะเปลี่ยนรูปแบบของวิธีคิด การที่จะออกจาก The Matrix ของกระบวนการคิดของตัวเอง หรือว่าลักษณะการคิดของตัวเองได้ นี่คงจะยากเย็นแสนเข็ญมิใช่น้อย จะยกตัวอย่างดังนี้
- นึกถึงโปรแกรมที่ประกาศตัวแปรไม่ต้องประกาศ type แต่ว่าก็ยังเป็น strong typing ออกไหม
- นึกถึงโปรแกรมที่ไม่ต้องประกาศ main function ออกไหม
- นึกถึงภาษาโปรแกรมที่ไม่มี loop ออกไหม
- นึกถึงภาษาโปรแกรมที่ฉลาดพอที่จะทำ list comprehension (เช่นบอกว่า จะเอา x จาก list L โดยที่ x มากกว่า 3 แล้วมันเข้าใจว่าจะต้องทำอะไรโดยที่เราไม่ต้องเขียน low-level instruction)
นอกจากเรื่องพวกนี้จะยาก เพราะว่าพอสมองเราถูก over-train ให้ชินกับอะไรบางอย่างมากๆ แล้ว มันจะเรียนรู้สิ่งใหม่ยากขึ้น มีอะไรที่ต้อง unlearn มากขึ้น อย่าว่าแต่ imperative vs. functional programming เลย แค่ procedural vs. object-oriented ก็แย่แล้ว การที่เราจะ unlearn เรื่องหนึ่งๆ แล้วปรับไปสู่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเอาการทีเดียวไม่ใช่แค่นั้น แต่ให้เขียน style เดิม แต่ว่าเปลี่ยนภาษาเขียนโปรแกรม ก็ยากแล้ว
- สอนคนที่เขียนโปรแกรมเป็นแล้ว ให้เปลี่ยนภาษา โดยต้องใช้เป็นภาษาหลักในกรณีทั่วไปแทนภาษาเดิม
ผมเห็นน้องหลายคนเขียน Ruby กันมาพักนึง (เพราะว่างานบางงานที่อาจจะต้องใช้ Rails) แต่ว่าพอลองตั้งโจทย์ที่มองไม่เห็นชัดว่าจะใช้ความสามารถของภาษาตรงไหน (ให้สร้าง permutation ของ list) น้องหลายคนก็ fall-back กลับไปเขียน C เหมือนเดิมไม่แปลกอะไร เพราะว่าจริงๆ แล้วผมเอง บางทีขนาดโปรแกรมง่ายๆ ก็ยังดื้อจะเขียน C++ กับ STL อยู่เลย ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่า Ruby, Python, Haskell มันก็ทำได้ และจะง่ายกว่าด้วย แต่ว่าทำไมนะ ทำไมผมถึงยังจะดื้อที่จะ fall-back ไปเขียน C++ อยู่ดี?ความเคยชินบางอย่างมันแก้กันยาก อาจจะเป็นเพราะว่าผมใช้เวลาอยู่กับ C++ มานานกว่าภาษาอื่นๆ และทำงานจริงในภาษาตระกูล C มานานกว่าภาษาอื่นๆ หลายเท่าตัวก็ได้ (C, C++, Objective-C)เปล่าหรอกครับ ผมไม่ได้ถามเพื่อหาคำตอบใดๆ เพราะว่านี่คือธรรมชาติของมนุษย์ อะไรก็ตามที่เราทำจนเป็นนิสัย จนเป็น second nature แล้วมันอาจจะเปลี่ยนแปลงยากมาก หลายเรื่องเราเปลียนไม่ได้ เพราะว่าเรามีความรู้สึกว่า “เคยทำ” อะไรที่มันคล้ายๆ กันมาก่อนในลักษณะนั้นอยู่แล้ว (เช่นเวลาผมจะเขียนโปรแกรมง่ายๆ บางทีผมใช้ C++ โดยไม่มีเหตุผล ทั้งๆ ที่เขียน Ruby ง่ายกว่าเยอะ ส่วนหนึ่งเพราะว่าผม “เคยทำ” สิ่งนั้นมาแล้วใน C++ มั้ง)ผมเลยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะให้น้องๆ ที่อยากจะเขียนโปรแกรมภาษาใหม่นะครับ ดังนี้
- เขียน code ภาษานั้นให้เยอะที่สุดและเร็วที่สุด โดยอย่าเอาแต่ลอก code จากหนังสือหรือว่า tutorial เพราะว่าคุณจะไม่ได้ใช้งานจริง และไม่ได้ force ให้ตัวเองคิดในลักษณะของภาษาใหม่ๆ เท่าไหร่
- เรียน standard library ของภาษานั้นๆ ให้มากที่สุดในเวลาที่น้อยที่สุด เพื่อให้รู้ว่ามันพอจะทำอะไรให้เราได้บ้าง โดยไม่ต้องลงอะไรเพิ่มเติม แล้วก็ลองดูว่ามันเอามาทำอะไรให้ชีวิตเราง่ายขึ้นได้บ้าง
- หักดิบ อย่าเล่นภาษาเดิมเท่าที่จะทำได้ ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ลองลบ compiler ภาษาเดิมทิ้งไปเลย
- อย่าเอาแต่เรียน syntax กับ library นะ เพราะว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งที่แทบทุกคนลืม ก็คือ การเรียน idiom ของภาษานั้นๆ ยิ่งหลายภาษา โดยเฉพาะพวกภาษาใหม่ๆ เป็นพวก expressionism ซะด้วยสิ แบบนี้ idiom ยิ่งสำคัญมากเข้าไปอีก
- ยิ่งถ้าเป็นการเรียนภาษาคนละ paradigm กับที่เคยเขียนนะ ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะว่าลักษณะการเขียน วิธีคิด idioms ต่างๆ มันจะต่างกันมาก มากๆ ถึงมากที่สุด
- ยากนะ แต่ว่าหลายครั้งต้องคิดนอกกรอบเดิม ถ้าคิดตามกรอบเดิมล่ะก็ คุณก็จะไม่ได้เขียนภาษาใหม่หรอก แต่ว่าจะเขียนภาษาเดิมน่ะแหละ แต่ว่าอยู่ใน syntax ใหม่เท่านั้นเอง
- ทำงานจริง เพราะว่าทำงานจริงเท่านั้นที่จะบังคับให้เราต้องอยู่กับภาษาโปรแกรมภาษาใหม่และกระบวนการคิดของมัน ยิ่งทำงานจริงแบบมี deadline ด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งดี เพราะว่าเป็นการบังคับให้เรายิ่งต้องคิดและ figure out การทำงานต่างๆ และ idioms ของมันให้ได้เยอะที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุด และให้งานเสร็จเร็วที่สุด
- หา library เพื่อช่วยงานโน้นงานนี้เยอะๆ มีของเล่นเยอะๆ แล้วลองเล่นกับมัน เดี๋ยวก็ชินกับมันไปเองแหละ
- ดูภาษาอื่นๆ ใน paradigm เดียวกันบ้าง เพื่อหาข้อเปรียบเทียบหน่อยๆ ก็ดี
- ระลึกไว้ ว่าไม่ใช่ทุกภาษาเหมือนกัน สิ่งที่ผิดหลักการในภาษาหนึ่ง อาจจะเป็นสิ่งที่ถูกหลักการและควรทำในอีกภาษาหนึ่งก็เป็นได้ ดังนั้นอย่ายึดติดกับหลักการและข้อบังคับข้อกำหนดต่างๆ ของภาษาหนึ่งๆ มากไปนัก
- พยายามมองหาโอกาสใช้มันให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่าเลี่ยงโอกาสในการใช้มันซะล่ะ
จริงๆ เรื่องนี้ยังเขียนได้อีกยาวมาก แต่ว่าวันนี้พอแค่นี้ก่อน ชักเหนื่อย แต่ขอปิดท้ายด้วย quote ดังจากคนดัง
Anyone could learn Lisp in one day, except that if they already knew Fortran, it would take three days.Marvin Minsky
อาจารย์น่าจะเอาไปลงใน TMD ด้วยนะครับ ผมว่ามันมีประโยชน์ดี :)
เคยเขียนเรื่องคล้ายๆ กันไปทีนึงแล้วครับ
http://www.thaimacdev.com/node/402
แต่ว่าเดี๋ยวจะเอาเรื่องนี้ไป post ด้วย (ตาม request)
เดฟ เด็กที่เรียน JAVA กับพี่หายไป 60 กว่าเปอร์เซนต์แล้ว ทำไงดี ที่เหลือยังวนลูปไม่ถูกอีกเพียบ syntax ไม่ได้แถม logicในการแก้ปัญหาก็ไม่มี วันก่อนสอบ lab ยังมีคนนึงหยิบ wordpad ขึ้นมา coding แล้วยกมือถามว่าทำไมมัน compile ไม่ผ่าน มีวิธีเข็นที่เด็ดๆบ้างไหม (ถ้ามีจะได้เชิญมาสอน :-)
pooh
ไง๋ ผมพิมพ์ไปแล้วมันไม่ออก T_T เอาใหม่ๆๆ
“ท่าทางคงต้องเข็นออกจากมหาวิทยาลัยครับ คุณ pooh”
เข็นครกขึ้นเขาว่ายากนะพี่ เข็นคนขึ้นเขานี่ยากกว่า เพราะว่าอย่างน้อยครกมันกลิ้งได้นะ แต่ว่าคนที่มันไม่เดินขึ้นเนี่ยสิ เหนื่อย
ผลักครกตกเขาง่ายกว่าเยอะอ่ะพี่
ตอบพี่ pooh เป็นเรื่องเป็นราวหน่อยดีกว่า วันก่อนรีบไปหน่อย…
เด็กที่นี่ก็พอกันครับ ไม่ทราบว่าที่ ม.บูรพา สอน java เป็นภาษาแรกหรือเปล่า ความรู้สึกของผมคือถ้าใช้ java นี่มันจะมีเรื่องที่จะต้อง rote memorize มากเกินไปน่ะครับ ภาษาแรกที่ใช้น่าจะเป็นภาษาที่มี syntax ให้ต้องจำน้อยๆ ในการเขียนโปรแกรมเล็กๆ เพื่อให้เข้าใจ concept ของ programming และเพื่อแยกความเข้าใจเรื่องนี้ออกจากเรื่อง language/syntax ด้วย
แต่ว่านั่นมันเป็นปัญหาทาง policy น่ะครับ ผมยังคุยกับที่นี่ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่เลย ก็ได้แต่สอนเด็กกลุ่มเล็กๆ ให้เล่น python เล่น ruby แล้วก็พบว่าเด็กเขียนโปรแกรมเป็นมากขึ้น
ถ้าเห็นผลเป็นรูปธรรมเมื่อไหร่ก็คงจะขยายผลต่อไป
แต่ว่่าทั้งนี้ผมยังคิดว่าการสอนคนที่เขียนโปรแกรมไม่เป็นเลยให้เขียนโปรแกรมเนี่ย น่าจะเริ่มจากให้เขียน instruction เป็น “ภาษาไทย” เป็น step-by-step ที่มัน clear ให้เป็นเสียก่อน เพราะว่าผมมองว่า programming มันมี 2 parts น่ะครับ คือ
1. ภาษาที่ใช้เขียน
2. content ที่จะเขียน (ในที่นี้คือหลักการคิดโปรแกรม)
ถ้าเรียน 2 อย่างพร้อมกัน มันจะแยกการเรียนรู้ไม่ออก และจะมั่วด้วย ถ้าจะเรียนภาษา ก็ต้องเป็น content อยู่ก่อนแล้ว แต่ว่่ากลับกัน ถ้าจะเรียน content ก็ต้องใช้ภาษาที่เป็นอยู่แล้วเป็นหลัก ไม่งั้นก็มั่วเหมือนกัน
ผมทำแบบนี้นะ แล้วคนที่เรียนโปรแกรมกับผมส่วนมากมันก็เขียนโปรแกรมเป็นกัน แต่ว่านั่นแหละครับ ผมไม่ได้สอน class programming พื้นฐาน มีแต่เด็กกลุ่มน้อยเท่านั้นที่มาหาผมและให้ผมสอนเขียนโปรแกรมให้
อยากสอน programming พื้นฐานเหมือนกันนะ ถ้า ม. บูรพาจะเชิญ ผมก็ยินดีนะครับพี่