เปลี่ยนภาษาเขียนโปรแกรม

อะไรยากกว่ากัน ระหว่าง

  1. สอนคนที่เขียนโปรแกรมเป็นแล้ว ให้เปลี่ยนภาษา
  2. สอนคนที่เขียนโปรแกรมไม่เป็น ให้เขียนโปรแกรมเป็น

หลายคนจะตอบข้อ 2 โดยไม่ลังเลเท่าไหร่ เพราะว่าถ้าเป็นภาษาหนึ่งๆ แล้ว เรียนอีกภาษาหนึ่งคงไม่ยากเท่าไหร่ สาเหตุหนึ่งก็คงเพราะว่าภาษาส่วนมากมีรากที่คล้ายๆ กัน เช่น Pascal, C, C++, Java, C# ถ้าเป็นภาษาใดภาษาหนึ่งแล้ว การเรียนรู้ syntax ของอีกภาษาหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากเย็นเท่าไหร่แต่ว่าสอนคนที่เขียนโปรแกรมไม่เป็นให้เขียนโปรแกรมเป็นนี่สิ งานช้าง เพราะว่าอาจจะต้องสอนแนวคิด หลักการคิดแบบคอมพิวเตอร์ หลักการคิดแบบ von Neumann machine หลักการคิดแบบที่เราต้องใช้เวลาเขียนโปรแกรม ฯลฯ ซึ่งอาจจะยากหน่อย ไหนเลยจะต้องมานั่งเรียนรู้ syntax อีกแต่ว่าถ้าเปลี่ยนคำถามหน่อยนึงล่ะ เปลี่ยนข้อที่ 1 ให้เป็น

  1. สอนคนที่เขียนโปรแกรมเป็นแล้ว ให้เปลี่ยน paradigm ในการเขียนโปรแกรม

ไอ้นี่อาจจะเป็นงานช้างพอๆ กัน หรือว่าช้างกว่าการสอนคนที่เขียนโปรแกรมไม่เป็นให้เขียนโปรแกรมก็ได้ เพราะว่าคนเราพอมันชินกับวิธีคิดแบบไหนแล้ว การจะเปลี่ยนรูปแบบของวิธีคิด การที่จะออกจาก The Matrix ของกระบวนการคิดของตัวเอง หรือว่าลักษณะการคิดของตัวเองได้ นี่คงจะยากเย็นแสนเข็ญมิใช่น้อย จะยกตัวอย่างดังนี้

  • นึกถึงโปรแกรมที่ประกาศตัวแปรไม่ต้องประกาศ type แต่ว่าก็ยังเป็น strong typing ออกไหม
  • นึกถึงโปรแกรมที่ไม่ต้องประกาศ main function ออกไหม
  • นึกถึงภาษาโปรแกรมที่ไม่มี loop ออกไหม
  • นึกถึงภาษาโปรแกรมที่ฉลาดพอที่จะทำ list comprehension (เช่นบอกว่า จะเอา x จาก list L โดยที่ x มากกว่า 3 แล้วมันเข้าใจว่าจะต้องทำอะไรโดยที่เราไม่ต้องเขียน low-level instruction)

นอกจากเรื่องพวกนี้จะยาก เพราะว่าพอสมองเราถูก over-train ให้ชินกับอะไรบางอย่างมากๆ แล้ว มันจะเรียนรู้สิ่งใหม่ยากขึ้น มีอะไรที่ต้อง unlearn มากขึ้น อย่าว่าแต่ imperative vs. functional programming เลย แค่ procedural vs. object-oriented ก็แย่แล้ว การที่เราจะ unlearn เรื่องหนึ่งๆ แล้วปรับไปสู่เรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากเอาการทีเดียวไม่ใช่แค่นั้น แต่ให้เขียน style เดิม แต่ว่าเปลี่ยนภาษาเขียนโปรแกรม ก็ยากแล้ว

  1. สอนคนที่เขียนโปรแกรมเป็นแล้ว ให้เปลี่ยนภาษา โดยต้องใช้เป็นภาษาหลักในกรณีทั่วไปแทนภาษาเดิม

ผมเห็นน้องหลายคนเขียน Ruby กันมาพักนึง (เพราะว่างานบางงานที่อาจจะต้องใช้ Rails) แต่ว่าพอลองตั้งโจทย์ที่มองไม่เห็นชัดว่าจะใช้ความสามารถของภาษาตรงไหน (ให้สร้าง permutation ของ list) น้องหลายคนก็ fall-back กลับไปเขียน C เหมือนเดิมไม่แปลกอะไร เพราะว่าจริงๆ แล้วผมเอง บางทีขนาดโปรแกรมง่ายๆ ก็ยังดื้อจะเขียน C++ กับ STL อยู่เลย ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่า Ruby, Python, Haskell มันก็ทำได้ และจะง่ายกว่าด้วย แต่ว่าทำไมนะ ทำไมผมถึงยังจะดื้อที่จะ fall-back ไปเขียน C++ อยู่ดี?ความเคยชินบางอย่างมันแก้กันยาก อาจจะเป็นเพราะว่าผมใช้เวลาอยู่กับ C++ มานานกว่าภาษาอื่นๆ และทำงานจริงในภาษาตระกูล C มานานกว่าภาษาอื่นๆ หลายเท่าตัวก็ได้ (C, C++, Objective-C)เปล่าหรอกครับ ผมไม่ได้ถามเพื่อหาคำตอบใดๆ เพราะว่านี่คือธรรมชาติของมนุษย์ อะไรก็ตามที่เราทำจนเป็นนิสัย จนเป็น second nature แล้วมันอาจจะเปลี่ยนแปลงยากมาก หลายเรื่องเราเปลียนไม่ได้ เพราะว่าเรามีความรู้สึกว่า “เคยทำ” อะไรที่มันคล้ายๆ กันมาก่อนในลักษณะนั้นอยู่แล้ว (เช่นเวลาผมจะเขียนโปรแกรมง่ายๆ บางทีผมใช้ C++ โดยไม่มีเหตุผล ทั้งๆ ที่เขียน Ruby ง่ายกว่าเยอะ ส่วนหนึ่งเพราะว่าผม “เคยทำ” สิ่งนั้นมาแล้วใน C++ มั้ง)ผมเลยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะให้น้องๆ ที่อยากจะเขียนโปรแกรมภาษาใหม่นะครับ ดังนี้

  1. เขียน code ภาษานั้นให้เยอะที่สุดและเร็วที่สุด โดยอย่าเอาแต่ลอก code จากหนังสือหรือว่า tutorial เพราะว่าคุณจะไม่ได้ใช้งานจริง และไม่ได้ force ให้ตัวเองคิดในลักษณะของภาษาใหม่ๆ เท่าไหร่
  2. เรียน standard library ของภาษานั้นๆ ให้มากที่สุดในเวลาที่น้อยที่สุด เพื่อให้รู้ว่ามันพอจะทำอะไรให้เราได้บ้าง โดยไม่ต้องลงอะไรเพิ่มเติม แล้วก็ลองดูว่ามันเอามาทำอะไรให้ชีวิตเราง่ายขึ้นได้บ้าง
  3. หักดิบ อย่าเล่นภาษาเดิมเท่าที่จะทำได้ ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ลองลบ compiler ภาษาเดิมทิ้งไปเลย
  4. อย่าเอาแต่เรียน syntax กับ library นะ เพราะว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งที่แทบทุกคนลืม ก็คือ การเรียน idiom ของภาษานั้นๆ ยิ่งหลายภาษา โดยเฉพาะพวกภาษาใหม่ๆ เป็นพวก expressionism ซะด้วยสิ แบบนี้ idiom ยิ่งสำคัญมากเข้าไปอีก
  5. ยิ่งถ้าเป็นการเรียนภาษาคนละ paradigm กับที่เคยเขียนนะ ยิ่งไปกันใหญ่ เพราะว่าลักษณะการเขียน วิธีคิด idioms ต่างๆ มันจะต่างกันมาก มากๆ ถึงมากที่สุด
  6. ยากนะ แต่ว่าหลายครั้งต้องคิดนอกกรอบเดิม ถ้าคิดตามกรอบเดิมล่ะก็ คุณก็จะไม่ได้เขียนภาษาใหม่หรอก แต่ว่าจะเขียนภาษาเดิมน่ะแหละ แต่ว่าอยู่ใน syntax ใหม่เท่านั้นเอง
  7. ทำงานจริง เพราะว่าทำงานจริงเท่านั้นที่จะบังคับให้เราต้องอยู่กับภาษาโปรแกรมภาษาใหม่และกระบวนการคิดของมัน ยิ่งทำงานจริงแบบมี deadline ด้วยแล้วล่ะก็ ยิ่งดี เพราะว่าเป็นการบังคับให้เรายิ่งต้องคิดและ figure out การทำงานต่างๆ และ idioms ของมันให้ได้เยอะที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุด และให้งานเสร็จเร็วที่สุด
  8. หา library เพื่อช่วยงานโน้นงานนี้เยอะๆ มีของเล่นเยอะๆ แล้วลองเล่นกับมัน เดี๋ยวก็ชินกับมันไปเองแหละ
  9. ดูภาษาอื่นๆ ใน paradigm เดียวกันบ้าง เพื่อหาข้อเปรียบเทียบหน่อยๆ ก็ดี
  10. ระลึกไว้ ว่าไม่ใช่ทุกภาษาเหมือนกัน สิ่งที่ผิดหลักการในภาษาหนึ่ง อาจจะเป็นสิ่งที่ถูกหลักการและควรทำในอีกภาษาหนึ่งก็เป็นได้ ดังนั้นอย่ายึดติดกับหลักการและข้อบังคับข้อกำหนดต่างๆ ของภาษาหนึ่งๆ มากไปนัก
  11. พยายามมองหาโอกาสใช้มันให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่าเลี่ยงโอกาสในการใช้มันซะล่ะ

จริงๆ เรื่องนี้ยังเขียนได้อีกยาวมาก แต่ว่าวันนี้พอแค่นี้ก่อน ชักเหนื่อย แต่ขอปิดท้ายด้วย quote ดังจากคนดัง

Anyone could learn Lisp in one day, except that if they already knew Fortran, it would take three days.Marvin Minsky

Quote: แก้ไขอดีต

จาก Fortune (via: Exploring Solution Spaces, C. Keith Ray):

You can change tomorrow’s yesterday only if you make a change today.

สุดยอดมาก ขอเก็บไว้เป็นอีกหนึ่ง quote ในดวงใจเลย (มี quote ที่ชอบเยอะแยะไปหมด) …

เราชอบบ่นกันใช่มั้ยล่ะ ว่า ถ้าแก้ไขอดีตได้นะ หรือว่าถ้าวันน้ันทำแบบนั้นทำแบบนี้ ถ้าย้อนกลับไปได้นะ ฯลฯ …. แต่ว่า วันนี้ มันก็จะกลายเป็น อดีต เมื่อ พรุ่งนี้ มาถึงใช่มั้ยล่ะ อืมมมม

เราสามารถเปลี่ยนอดีตของวันพรุ่งนี้ได้ ก็ต่อเมื่อเราเปลี่ยนมันในวันนี้

เมื่อเอามาประกอบกับ quote หนึ่ง (อันนี้จากการไปฟัง VP ของ IBM พูดมานะ) ซึ่งผมชอบอยู่แล้วเป็นทุนเดิมล่ะก็เยี่ยมเลย

If nothing changed, nothing changes.

หรือว่าแปลว่า

ถ้าไม่เปลี่ยนอะไร ก็ไม่มีอะไรเปลี่ยน

สรุปว่า มันจะมีเรื่องโน้นเรื่องนี้ ที่เราเห็นว่ามันไม่เข้าท่า แล้วเราก็มานั่งด่ามัน นั่งบ่นมัน นั่งกลุ้มใจ นั่งอารมณ์เสีย นั่งเสียสติ นั่งคิดมาก นั่งฟุ้งซ่านอยู่กับมัน แต่ว่าหลายคนกลับกลัวการเปลี่ยนแปลง มีข้ออ้างโน่นนี่สาระพัดสาระเพ เพื่อให้ไม่ต้องเปลี่ยนไป ข้ออ้างที่ไร้เหตุผลและไร้สาระที่สุด ก็คือ เดี๋ยวมันก็ดีขึ้นเอง หรือว่าเมื่อเวลาผ่านไปทุกอย่างจะดีขึ้นเอง ทำนองนั้น

เวลามันไม่ช่วยอะไรหรอกนะครับ มันไม่เคยช่วยอะไรเลย

ผมเชื่อว่าทุกอย่างน่ะ มันเป็น dynamical system ง่ายๆ แค่

x[t+1] = F(x[t])

เท่านั้นแหละครับ….. ถ้าอยากจะให้พรุ่งนี้มันเปลี่ยนไป ไม่ต้องนั่งด่าเรื่องโน้นเรื่องนี้ หรือว่าบ่นเรื่องเดิมๆ อีกล่ะก็ ช่วยๆ กันเปลี่ยนๆ มันตั้งแต่วันนี้เถอะครับ