คิดว่ามันมีกันมั้ยล่ะ
ถามผมนะ “ไม่มีหรอก” และที่แย่ คือหลายคนพูดแบบนี้กันในลักษณะ generality มาก เช่น “คนนี้เป็นคนเก่งนะ” หรือว่า “คนนี้เป็นคนดีนะ” อะไรทำนองนี้
คำถามที่น่าจะตามมาก็คือ แล้ว metric อะไรล่ะ เป็นตัววัด แล้ว fitness landscape ที่มันอยู่ล่ะ คืออะไร
ใครเล่น Genetic Algorihtm (GA) น่าจะรู้ดี ว่า solution หนึ่งใน population ต่อให้มันดีแค่ไหน เปลี่ยน fitness function นิดเดียว อาจจะเปลี่ยนจาก solution ที่ดีที่สุด กลายเป็น solution ที่ห่วยที่สุด และจำเป็นต้องถูก “คัดทิ้ง” อย่างไม่ใยดี ในพริบตา ก็เป็นได้
แต่ทำไมบางทีพอมาถึง “คน” เรากลับ superficial กับมันจัง … เราพูดถึงมัน ยังกับมันวัดเป็น general ได้ หรือว่ามี universal fitness function ที่ครอบคลุมทุกอย่าง พอ “ดี” หรือว่า “เก่ง” อย่างหนึ่ง แล้วมันกลายเป็น general ได้มากมายมหาศาล
ยกตัวอย่างกันนิดนึงมั้ย
บางคน อาจจะเป็น programmer ที่ “เก่ง” (ไม่ใช่ผมนะ ผมกำลังพูดถึงใครก็ไม่รู้ เป็น Mr. T คนหนึ่งก็ได้นะ) แต่ว่าอยากจะทำอะไรบางอย่างที่ตัวเองไม่มีความสามารถ ความเหมาะสม เช่น อยู่ดีๆ อยากจะหยิบมีดมาผ่าตัด โดยตัวเองไม่มีความสามารถ
แล้วดันมีคนบอกว่า ก็น้อง/พี่/คนนี้ เป็นคน “เก่ง” นะ ก็ “ต้องช่วย” ให้ได้งานผ่าตัดนี้ให้ได้
Make sense มะ? ใครก็คงจะตอบได้ว่า “ไม่เห็นจะ Make sense ตรงไหน”
แต่ว่าพอมาถึงเรื่องความดี ทำไมมันไม่เป็นแบบนี้บ้างหว่า ทำไมมันเหมือนจะมี “ความดี” แบบ general กันได้ด้วยแฮะ ทั้งๆ ที่ environment และสิ่งที่อยู่ใน environment มันน่าจะเป็นตัวที่ define fitness function พวกนี้เหมือนกันนะ (เช่นเดียวกับที่ programmer คนนั้น อาจจะผ่าน fitness function ของการเขียนโปรแกรมด้วยคะแนนแบบ topๆ แต่ว่า fitness function ของการผ่าตัดกลับตกระนาว)
ผมกำลังพูดว่า คิดยังไงกับประโยคนี้
“ก็เค้าเป็นคนดี ก็ต้องช่วย”
อืมมม ส่วนมากอาจจะเห็นด้วยแบบไม่ต้องคิดมากก็ได้นะ แต่ว่าพอดีมันคนละ environment กันน่ะสิ ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุด ก็คงเป็นงี้:
มีแฟนคู่หนึ่งทะเลาะกัน จะเลิกกัน ฯลฯ หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ แล้วก็มีคนพยายามจะช่วยเหลือเกินที่จะเป็นตัวประสานระหว่างสองคนนี้ ว่า “ก็เค้าเป็นคนดี ก็ต้องช่วย”
อืมมม การเป็น “คนดี” ใน fitness function ของ “คนรู้จัก” หรือว่า “เพื่อนแฟน” หรือว่า “messenger” หรือว่าแม้แต่ “คนในสังคม” จำเป็นด้วยหรือว่าจะต้องเป็น “คนดี” ใน fitness function ของ “แฟน” ซึ่งแต่ละตัวมันก็คนละ environment คนละตัว evaluate คนละ fitness function
ซึ่งแน่นอนว่าอาจทำให้ solution ที่ “ดี” หรือแม้แต่ “ดีที่สุด” ของ landscape หนึ่ง กลายเป็น solution ที่ห่วยที่สุดไปเลยก็ได้
ให้คนที่เป็น “แฟน” เค้า เป็นคนพูดจะดีกว่ามั้ย สรุปว่า ไอ้พวก “เพื่อนๆ” หรือ “ผู้หวังดี” เนี่ย กรุณาสงบปากสงบคำ เงียบๆ ไว้ไม่ต้อง “เสือก” จักเป็นพระคุณยิ่ง
(ขอโทษที่ต้องใช้คำแรง อารมณ์มันพาไป แต่จริงๆ มัน nothing personal อ่ะนะ .. เพียงแต่ว่าเขียนแบบนี้ได้อารมณ์ดี ถ้าไม่เหมาะสมก็ขออภัยผู้อ่านด้วยครับ)
ก็ทำนองว่า นกมันจะบินเก่งแค่ไหน ลองจับมันไปว่ายน้ำเล่นสิ หรือว่าปลามันจะว่ายน้ำเก่งแค่ไหน ลองจับมันไปโยนขึ้นฟ้าสิ … นั่นแหละ
มันก็แปลกดีนะ พอเป็นเรื่อง “เก่ง” เนี่ย มันพอจะเข้าใจได้ง่ายหน่อย ว่ามันไม่ข้าม field of expertise เท่าไหร่หรอก ถึงจะมีหลายคนที่เก่งแบบ แทบทุกเรื่องก็ตาม
แต่ว่าพอมาเป็นเรื่อง “ความดี” เนี่ย มันกลับมีความคิดแบบ universal/general ได้ซะงั้น
เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ตอนเรียน ป.ตรี (ซักปีสามได้มั้ง) ชื่อ The Labyrinth of Reason (หนังสือเก่าหน่อย ตั้งแต่ปี 89 ตอนนี้คงอยู่ในตู้ซักตู้ใน office) มีบทหนึ่งที่คิดว่าเข้าท่านะ คือ Anything confirms Anything หรือว่าอะไรทำนองนี้แหละ …. ก็เขียนเรื่องทำนองนี้ไว้เหมือนกัน ว่าบางทีเราก็เอาความจริงเรื่องหนึ่ง ไป confirm เป็นตุเป็นตะกับเรื่องโน้นนี้คนละเรื่อง ไว้วันหลังจะเล่าให้ฟังละกันครับ
ทิ้งท้ายนิดนึงดีกว่า …
All forms of generalization are false; including this one.
อ่านแล้วก็ออกจะงงๆ ไม่แน่ใจว่าจับประเด็นอาจารย์ถูกหรือเปล่า กรณีคนดีไม่จำเป็นว่าจะเก่ง
และคนเก่งไม่จำเป็นว่าจะดี แต่ก็อาจมีทั้งสองอย่างได้ในคนๆ เดียวกัน
แต่คนรอบข้างจะวัดความเก่งและความดีของอีกคนหนึ่งไม่เหมือนกัน
ในมุมมองของของนายก.อาจะเห็นว่านายข.เป็นคนดี แต่นายค.อาจจะเห็นว่านายข.ไม่ดีก็ได้
อาจเป็นเพราะนายค.ไม่รู้จักนายข. แต่รู้สึกไม่ถูกชะตา นายข.ก็อาจจะเป็นคนไม่ดีไปในสายตานายค.
คนดี อาจจะไม่ได้ดีไปซะทุกเรื่อง มาตราการวัดความเป็นดีก็อาจจะแตกต่างกันไป (ละมั๊ง) น่าจะมีหลายมาตราฐาน
ถ้าจากมาตราฐานส่วนตัวนะคะ คนดีก็น่าจะเป็นคนที่โอบอ้อมอารี ไม่ชอบเบียดเบียนหรือคดโกงใครโดยเจตนา
แต่จะเป็นคนดีมากๆ ถ้าสามารถช่วยเหลือคนอื่นตามกำลังและความสามารถ (ไม่ใส่แบบว่าไปเสือกเรื่องคนอื่นนะคะ)
แต่ในอีกมุมคนนั้น อาจจะเป็นคนปากร้าย และอื่นๆ ที่เป็นข้อเสีย ซึ่งส่วนมากคงไม่สมบูรณ์แบบไปหมดซะหมดทุกเรื่อง
ส่วนเรื่องตัวอย่างเพื่อนแฟนเนี่ยอ่าอันนี้ น่าจะเข้าข่ายบุคคลที่ 3 มากกว่ามั๊งคะ คงไม่ใช่เหตุผลว่าใครดีหรือไม่ดี
เขียนยาวไปเดี๋ยวจะนอกประเด็น สรุปว่า นานาจิตตัง นะคะอาจารย์
มีหลายๆ เรื่องที่เราอาจจะรู้สึกว่าไม่ make sense เอาซะเลย
แต่สำหรับคนๆ หนึ่งมันอาจจะ make sense เอามากๆ
โอ๊ะ ยาวไปจิงๆ ด้วย อาจารย์อย่าว่ามาใส่เกือกนะ แหะๆ
@nite_o
คุณหลงประเด็นครับ
– ผมไม่แย้งคุณ เรื่องที่บอกว่า คนหนึ่งคน สามารถเป็นได้ทั้งสองอย่าง ในบทความนี้ไม่ได้พูดอะไรถึงเรื่องที่ว่าจะต้องเลือกว่าจะเก่งหรือดี
– ผมเห็นด้วย เรื่อง “metric มีการวัดอาจต่างไป” ซึ่งนั่นผมเขียนชัดเจนในบทความ
– ประเด็นคือ
1. ในขณะที่ “ความเก่ง” นั้น เรามักจะวัดกันเป็น “ด้าน” แยกกันได้ง่าย และตรงกับความคิดของเรา (ไม่มีใครเก่งไปเสียทุกด้าน)
2. แต่ว่า “ความดี” นั้น เรามักจะมองเหมารวม
การที่คุณเขียนมาว่า
“คนดี อาจจะไม่ได้ดีไปซะทุกเรื่อง มาตราการวัดความเป็นดีก็อาจจะแตกต่างกันไป (ละมั๊ง) น่าจะมีหลายมาตราฐาน
ถ้าจากมาตราฐานส่วนตัวนะคะ คนดีก็น่าจะเป็นคนที่โอบอ้อมอารี ไม่ชอบเบียดเบียนหรือคดโกงใครโดยเจตนา
แต่จะเป็นคนดีมากๆ ถ้าสามารถช่วยเหลือคนอื่นตามกำลังและความสามารถ (ไม่ใส่แบบว่าไปเสือกเรื่องคนอื่นนะคะ)
แต่ในอีกมุมคนนั้น อาจจะเป็นคนปากร้าย และอื่นๆ ที่เป็นข้อเสีย ซึ่งส่วนมากคงไม่สมบูรณ์แบบไปหมดซะหมดทุกเรื่อง”
นี่แสดงให้เห็นว่า fitness function ของคุณ ว่าอะไรคือ ดีมาก ดีน้อย หรือว่าแค่ดี เป็นเช่นไร แต่นี่ก็ยัง general เกินไปและไม่ได้แสดงถึง context ของการที่จะ “ดี” เช่นนั้น
บทความนี้เป็นบทความวิชาการ เรื่อง fitness landscape, fitness function ซึ่งหากคุณเป็นนักวิชาการคอมพิวเตอร์หรือผู้สนใจ คุณควรศึกษาเรื่อง genetic algorithms เพิ่มเติม
หรือหากคุณเป็นนักศึกษา/นักวิชาการที่มีความรู้ทางด้านทฤษฎีวิวัฒนาการ ลองศึกษาเพิ่มเติมก็ได้
อยากจะย้ำเพียงแค่ว่า
“ทุกรูปแบบของการ generalization มันผิดหมด รวมถึงอันนี้ด้วย” (เพราะว่าอันนี้เป็นการ generalization ของ “ทุกรูปแบบของ generalization”)
คุณนอกประเด็นตั้งแต่ต้นครับ ไม่ต้องกลัวว่าเขียนไปแล้วมันจะออกนอกประเด็นหรอก
ผมก็คิดนะ คนที่เป็นเพื่อนที่ดี พอมาเป็นแฟนแล้ว ไม่จำเป็นต้องกลายเป็นแฟนที่ดีไปด้วย เช่น ตอนเป็นเพื่อนนี่เป็นห่วงเป็นไย แต่เป็นแฟนแล้วกลับชอบหนีไปเที่ยวกับผู้หญิงอื่น
มันทำให้ผมคิดถึงเมื่อสมัยก่อน (และสมัยนี้ด้วยแหละ จริงๆแล้ว) ที่ผู้หลักผู้ใหญ่มักจะเลือกคู่ครองให้บุตรหลานตนเอง โดยยึดความ “ดี” ในสังคมทั่วไปเป็นหลัก (เช่น ช่วยเหลือคนอื่น มีสัมมาคาระวะ รู้จักกาลเทศะ ฯลฯ) แต่พอแต่งงานมาอยู่ด้วยกันแล้ว กลับกลายเป็นครอบครัวที่ล้มเหลว ภรรยาไม่สามารถดูแลลูกๆได้ สามีก็ไม่ช่วยอะไร แถมยังเป็นเสาหลักให้ครอบครัวไม่ได้อีก … มาถึงตอนนี้ ความล้มเหลวในสภาวะหนึ่ง (ครอบครัว) ก็ส่งผลกับอีกสภาวะหนึ่งด้วย (สังคม) กลายเป็นคน “ไม่ดี” ไปทั้งสองสภาวะ ทั้งๆที่ด้านสังคมแล้ว ทั้งคู่ยังคงทำ “ดี” เหมือนเดิม