ของเล่นใหม่ ในที่สุดก็มี Leica กับเค้า!

อ่อ ยังไม่ถึงขนาดจะไปถอย Leica M มาเล่นหรอกครับ (เห็นราคา M8 แล้วกุมกระเป๋าตังค์แน่นต่อไป และไม่คิดจะไปขอลองกดชัตเตอร์เล่นด้วย) แต่ว่าเป็นหมอนี่ครับ

lumix_lx3011.jpg

ครับ Panasonic Lumix LX3 ซึ่งจริงๆ ก็เป็นฝาแฝดกับ Leica D-Lux 4 น่ะแหละครับ (ต่างกันแค่ Image processing engine เท่านั้นเอง)

ผมก็เลยมี Leica กับเค้าซะที … มียังไงเหรอ? ถึงมันจะเป็นฝาแฝดกับ D-Lux 4 แต่ว่ามันก็ยังเป็น Lumix ไม่ใช่เหรอ?

อ่าฮะ ไม่ผิดๆ แต่ว่าเหตุผลที่ผมเลือก LX3 เพราะเหตุผล 4 ข้อครับ

  1. นโยบายสวนทิศทางของความเชื่อสาธารณะ: ไม่เพิ่ม pixel count!
  2. นโยบายที่ถูกทิศทาง แม้ตลาดส่วนมากจะไม่รู้: เพิ่มขนาด sensor!
  3. รูปร่างหน้าตาที่ลอกแบบ Rangefinder หรือกล้องโบราณๆ อีกหลายตัว
  4. เลนส์ Leica DC Vario-Summicron 24-60mm (35mm eq.) f/2.0-2.8

อย่างน้อยๆ ก็มีเลนส์เป็น Leica ล่ะน่า (ฮาฮา) จริงๆ Panasonic ก็ใช้เลนส์ Leica ใน Lumix หลายรุ่นนะครับ แต่ที่พิเศษกับรุ่นนี้ ก็คือ การเลือกทางยาวโฟกัสที่สั้น เพื่อให้ได้คุณภาพที่มากขึ้นในแต่ละช่วง และมีขนาดรูรับแสงที่กว้างมาก (f/2.0-2.8) ซึ่งเมื่อประกอบกับการที่มี sensor ที่มีขนาดใหญ่กว่า compact ทั่วไป (ถึงแม้จะยังเล็กกว่า DSLR รวมถึงพวกที่ sensor เล็กๆ อย่าง 4/3 format หรือ compact ที่ยัด DSLR-class sensor อย่าง Sigma DP1 อยู่มากโข) ทำให้เพิ่มโอกาสได้ภาพค่อนข้างมากทีเดียว และพอจะเล่นกับ Depth-of-Field สวยๆ ได้บ้างเล็กน้อย (เอาไว้ถ่ายหน้าชัดหลังเบลอได้นิดหน่อย)

เท่าที่ทดสอบเล่นๆ มา ก็เข้าท่าทีเดียว กล้องตัวนี้กลายเป็นกล้องติดรถ ติดกระเป๋าถือ ใส่กระเป๋ากางเกง ฯลฯ สำหรับกรณี “เผื่อมีภาพอยู่เบื้องหน้า” จะได้ไม่พลาดการได้ภาพเหล่านั้น

การตอบสนองถือว่าทำได้ดีพอสมควร ในเรื่องของประสิทธิภาพและการใช้งาน การตอบสนองเยี่ยม เสียงเงียบมาก มีข้อเสียนิดๆ หน่อยๆ ตรง command dial ด้านบนมันเปลี่ยนตำแหน่งง่ายไปนิด กับ lens cap ที่น่ารำคาญหน่อยๆ (ทำให้ใช้งานมือเดียวลำบากมากๆ เมื่อเทียบกับพวกที่ใช้การเปิดปิดเลนส์แบบอัตโนมัติ) อ่อ แล้วก็อยากให้มี optical viewfinder หน่อยนึงด้วย (เดี๋ยวซื้อ optional เพิ่มเอาก็ได้)

อ่อ มีอีกหน่อย แล้วก็การเลือก aspect ratio ที่มีตัวเลื่อนตรง lens ซ้ายสุดเป็น 4:3 ตรงกลางเป็น 3:2 และขวาสุดเป็น 16:9 ซึ่งมันก็เปลี่ยนไปมาค่อนข้างง่าย คนชอบถ่าย 3:2 อย่างผมก็เลยเซ็งหน่อย เพราะว่าเวลาเอาใส่กระเป๋ากางเกง บางทีมือไปโดนนิดหน่อยพวกก็ชอบเลื่อนไปซ้ายทีขวาที เช่นเดียวกับ Focus mode แต่ว่าอันนี้ยังดีหน่อย ที่ AF อยู่บนสุด แต่ไม่แน่ใจว่าถ้าอยู่ล่างสุดมันจะดีกว่าหรือเปล่า (กดลง ง่ายกว่าดันขึ้น ดังนั้นถ้า AF อยู่ล่างสุด มันก็จะกดลงไม่ได้อีกแล้ว)

ส่วนเรื่องคุณภาพของภาพ ถือว่าทำได้เยี่ยมเกินคาด แต่อย่างหวังเอาไปเทียบกับ DSLR มากมายนัก แต่ว่าถ้ากรณีทั่วๆ ไป และเอาไว้ถ่าย street หรือว่าถ่ายเล่นถ่ายเที่ยว รับรองว่าคุณภาพไม่น่าเกลียดแน่นอน เรียกได้ว่าสวยเลยล่ะ โดยเฉพาะสีสันดีมาก ถึงจะใช้ Film mode เป็น standard ถ้าใช้ Film mode เป็น smooth ก็ถ่ายคนได้เนียนดี

แถมให้รูปนึงละกันนะครับ นอกนั้นเจอกันใน multiply รูปนี้ถ่ายที่หน้าวิหารเซียน ตอนบรรยากาศอึมครึมสุดๆ ระหว่างฝนตกหนักระลอกแรก กับก่อนฝนหนักๆ ระลอกถัดไปจะเทลงมา ใช้ Auto White Balance ตั้ง Film mode เป็น standard แล้วเพิ่ม sharpness ไป +1 ในกล้อง นอกนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย ทั้งสีทั้งคอนทราสท์ และไม่ได้ post-process ทั้งสิ้น (ปกติผมไม่ post-process รูปอยู่แล้ว อันนี้คนรู้จักรู้กันดี) ย่อแล้วลงเลย ไม่ได้ทำการ sharpen เพิ่มเติมก่อนหรือหลังย่อ

lumix_lx3012.jpg

พอใจกับภาพและสีสันที่ได้มากมายครับ

สูตร

สิ่งที่พบบ่อยเวลาที่มีการนำเสนองานหรือว่าพูดถึงอะไรก็ตามที่มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) คนนำเสนอมักจะพูดกันว่า

“สูตร” (เช่น “เป็นไปดังสูตร” เป็นต้น)

ผมไม่ได้เรื่องมากหรือว่าจ้องจับผิดคนหรือว่า Picky มากกว่าไปกับเรื่องพวกนี้หรอกนะ แต่ว่าผมเชื่อว่ามันให้ความรู้สึกต่างกัน ระหว่าง

  • แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
  • ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ ในเชิงคณิตศาสตร์
  • การมองคณิตศาสตร์เป็นภาษาๆ หนึ่ง

กับการใช้คำว่า “สูตร” ซึ่งมักจะให้ความรู้สึกในเชิงคำนวณ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ผิดทั้งหมด เพราะว่าในท้ายที่สุดแล้วความสัมพันธ์เชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical Relation) นั้นท้ายที่สุดมักถูกนำไปใช้ในการคำนวณหา Output จาก Input หรือว่าในทำนอง R(Input) = Output อยู่แล้ว

แต่ว่าจุดมุ่งหมายในการพูดถึงความสัมพันธ์นั้นๆ น่ะ มันไม่ใช่ความรู้สึกที่อยากได้ผลลัพธ์แต่ถ่ายเดียว แต่ว่าหมายถึงความต้องการที่จะบอกว่าอะไรสัมพันธ์กับอะไรอย่างไร อะไรส่งผลถึงอะไรอย่างไร มากกว่า

มันเป็นเรื่องของ ภาษาของเหตุและผล ซึ่งเป็นแบบจำลองในลักษณะ abstraction จากความเป็นจริง ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ implied มาจาก “ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์” และ “แบบจำลองทางคณิตศาสตร์”

ไม่ใช่การมุ่งจะเอาผลโดยไม่คิดถึงเหตุ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ผมมีกับคำว่า “สูตร”

มีเรื่องขำๆ อีกเรื่อง เคยมีอยู่ครั้งที่ผมไปคอมเมนท์การใช้คำว่า “สูตร” ที่เป็นอสมการ (เป็น constraint ของปัจจัยบางปัจจัย) แล้วน้องคนที่นำเสนอ ก็เลยเลี่ยงไปใช้คำว่า “ดังสมการ” ทั้งๆ ที่เป็น “เครื่องหมายมากกว่า” อย่างชัดเจน เลยต้องคอมเมนท์ไปอีกที

The way I see the world through lens

I just noticed how I see the world through my lens and record it on a photo:

howiseetheworld.jpg

This is a snapshot from my multiply front page. Can you see how many of the album cover have a ‘line’ (either ‘actual line’ or some sort of ‘imaginary line’) from approximately lower left corner to approximately upper right corner?

I guess I will have to look a bit deeper into my photo library to see if this is just coincident or I really see the world this way.

When you have lots of data and you start looking at them. Just look at them together, sometime you see ‘patterns’.