My Leica Story #2: The M9 (English Version)

[Note] This is a long-overdue, paragraph-by-paragraph English translation of the Thai version that I posted on September 30th, 2013.

This is a continuation from first part of the story (The M8), but more of a user review/impression story than a very personal story about photography like the previous part. You may want to read the first part if you haven’t.


Prelude

Not long after I go the M8, Leica did something they’d been telling people they couldn’t do: a full-frame digital M. They, naturally, called it the M9 and was announced on a very special day, the 09/09/09.

I wasn’t interested in the M9 even one bit when it came out. The main reason was the I still didn’t know how to make good photographs with the M8. I thought it wouldn’t be worth whatever price they were asking. You can read more about this in the previous part of the article, I won’t repeat those things here.

Things changed, after the M8 changed me. (And it took years).


Leica M9 Body

Leica M9 in Steel Grey, taken by the previous owner of this camera.

Continue reading

“วิธีการเรียนรู้/การเริ่มต้นงาน”: Trick ง่ายๆ ที่หลายคนมองข้าม

“การเรียนรู้” มันเป็นเรื่องโลกแตกสำหรับใครต่อใครหลายๆ คน ที่มีปัญหามากมาย แล้วก็ไม่ว่าจะเรียนรู้อะไรเท่าไหร่ ก็เหมือนกับจะไม่รู้เรื่อง หรือทำไม่ได้สักที …. ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ภาษาโปรแกรมใหม่ๆ หรือการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์ใหม่ๆ การเรียนภาษาอังกฤษ หรือการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ อีกหลายๆ เรื่อง … แล้วในที่สุดก็ต้องพึ่งพาทางลัดทั้งหลายทั้งปวง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตัวเองต้องการอย่างเร่งด่วนฉาบฉวย

วันนี้ผมก็เลยขอเสนอวิธี “ง่าย” ที่ได้ผลอย่างไม่น่าเชื่อในการเรียนรู้เรื่องอะไรต่ออะไรหลายๆ เรื่อง แล้วเป็นการอธิบายด้วยว่าทำไมเราถึงเรียนอะไรต่ออะไรกันยากเย็นนัก (เช่นพวกภาษาอังกฤษ หรือการเขียนโปรแกรม) ก็เพราะว่าเราเรียนรู้มันแบบ “ผิดวิธี” น่ะแหละ … คือเราเรียนรู้ด้วยการ “พยายามใช้มันเร็วเกินไป” ยกตัวอย่างเช่น บางคนเริ่มเรียนรู้การเขียนโปรแกรม จากโจทย์ที่ตัวเองทำไม่ได้ ไม่เคยทำได้ บางคนเริ่มเรียนภาษาอังกฤษ จากเนื้อหาที่ตัวเองก็ไม่ได้คุ้นเคยมาก่อน …. หรือที่เรียกว่า Unseen อะไรพวกนี้ … มันไม่ค่อยช่วยการเรียนรู้อะไรเท่าไหร่หรอก จริงๆ มันทำให้การเรียนรู้แย่ลงด้วยซ้ำไป

ลองพิจารณากันดูสักเล็กน้อยจะพบว่า … ในการอ่านหนังสือนั้น เรามีปัจจัยอย่างน้อยสองเรื่อง คือ “ภาษา” และ “เนื้อหา” ในขณะที่การเขียนโปรแกรมสักตัวนั้น เราก็มีปัจจัยพื้นฐานอย่างน้อย 2 เรื่อง คือ “ภาษา” และ “โครงสร้าง” ส่วนการพัฒนาโปรแกรมเพื่อตอบโจทย์ทางอะไรก็ตาม (เช่นโจทย์ทางธุรกิจ) จริงๆ นั้น ก็มีปัจจัยพื้นฐาน 2 เรื่องเช่นกัน คือ “ความสามารถในการพัฒนาโปรแกรม” และ “ความเข้าใจเรื่องราวนั้นๆ (เช่นความเข้าใจธุรกิจ)

Continue reading

หนังสือ 30 เล่ม ที่จะอยู่กับผม (และเพิ่มอีก 10 เล่ม)

หลังจากกิจกรรม #IceBucketChallengeTH ผ่านไป ก็มีกิจกรรมลักษณะ Viral แบบเดียวกันมาเป็นดอกเห็ด หลายอันผมปล่อยผ่านไป ไม่สนใจ แต่มีอยู่อันหนึ่งที่คิดว่ามีประโยชน์มากๆ ก็คือ การบอกชื่อหนังสือที่จะอยู่กับตัวเองมา 10 เล่ม โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือที่ดีที่สุด หรือหนังสือที่สุดยอดอะไรทั้งนั้น แค่ชอบอะไรบางอย่าง และเป็นเล่มแรกๆ ที่โผล่มาในหัว หรืออะไรก็ตาม …..

ทีนี้ … มีคน Tag ชื่อผมต่อมา 3-4 คน ผมก็เลยขอ “โกง” ด้วยการบอกมากกว่า 10 เล่ม (เพราะว่าเอาจริงๆ ให้เลือก 10 เล่มจากหลายพันเล่ม นี่ยากเอาเรื่อง) และหนังสือเหล่านี้ เป็นหนังสือที่ผมถือว่า 1) “เปลี่ยนผม” ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรู้ ความคิด ความเข้าใจโลก การมองเห็นโลก ฯลฯ หรือพูดอีกอย่างก็คือ “ทำให้ผมเป็นผมอยู่ทุกวันนี้” หรือ 2) มีความทรงจำพิเศษอะไรบางอย่างเกี่ยวกับมัน โดยความทรงจำที่ว่านี้อาจจะเป็นความทรงจำส่วนตัวมากๆ คนอื่นไม่อินไม่อะไรทั้งนั้น ก็ได้


L1000013.jpg

บางเล่มผมจะใส่ Link ใน Amazon ให้นะครับ บางเล่มไม่มีใน Amazon (ก็แน่นอนแหละ) และผมขี้เกียจหาจาก Store ไทย

Continue reading

Nikon Coolpix A: My New “Anywhere” Buddy

ไม่ได้เขียนรีวิวอุปกรณ์ถ่ายรูปซะนาน ส่วนหนึ่งเพราะช่วงหลังๆ ไม่ได้ซื้ออะไรเลย …. ตั้งแต่ถอย Nikon Df (อ่านรีวิวที่นี่) ก็ไม่ได้ซื้ออะไรทั้งนั้น แล้วก็งานยุ่งซะจนไม่ได้ไปเที่ยวถ่ายรูปที่ไหนเลย แล้วก็ไม่ค่อยได้เข้าไปอ่านกระทู้ตามเว็บบอร์ดกล้องด้วย

จนกระทั่งช่วงก่อนหน้านี้ กล้องตัวที่ผมสนใจมากก็คือ Sigma dp2 Quattro เริ่มไปถึงมือบรรดาคนเล่นกล้อง คนถ่ายรูปในต่างประเทศ ผมเลยเริ่มกลับมาอ่านๆ กระทู้หรือบทความต่างๆ อีกครั้ง …. จนกระทั่งวันหนึ่งก็เข้าไปยังห้อง Nikon ในเว็บ ThaiDPhoto เจอกระทู้น่าสนใจคือ “[จับเข่าคุย] ชวนผู้ใช้ Coolpix A มาคุยกันหน่อย” ก็เลยเกิดความสงสัยนิดๆ …. เอ๊ะ กล้องมันก็ออกมานานแล้วนี่ ตั้งแต่มันออกมาก็เห็นเงียบๆ กัน ไม่ค่อยมีคนพูดถึง ทำไมอยู่ดีๆ มีคนตั้งกระทู้ ก็เลยลองเข้าไปอ่านดู … ​แล้วผมก็พบข้อมูลที่ทำให้ตาลุกทันที ก็เพราะว่ามันมีโปรโมชั่นที่ร้าน Pixpros House ในราคาถูกมากจนแทบไม่น่าเชื่อ (จาก 36,900 เหลือ 14,900 เท่านั้นเอง ป.ล. ไม่ได้ค่าโฆษณา) ….. ขยี้ตาดูราคาอยู่สองรอบ


DSC_6049.jpg

Nikon Coolpix A สีเงิน + Skin ลายหนังสีดำ ให้เข้าชุดกับ Nikon Df และ Leica M240 ที่มีอยู่แล้ว

จริงๆ ผมก็ค่อนข้างจะสนใจ Coolpix A อยู่แล้วตั้งแต่มันออกมา แต่ด้วยอะไรหลายๆ อย่าง และราคาที่ค่อนข้างจะสูง ทำให้ไม่ได้ซื้อมาเล่น แต่ในเมื่อมันมีโปรโมชั่นแบบนี้ และมีถึงแค่สิ้นเดือนนี้เท่านั้น ประกอบกับตอนนั้นผมเพิ่งจะขาย Fuji X100s ไปด้วย เลยไม่มีกล้อง APS-C ขนาดเล็กใช้ นอกจาก Sigma DP2 Merrill ซึ่งค่อนข้างเป็นกล้องเฉพาะทางมากๆ (อ่านรีวิวที่นี่) ผมก็เลยรีบไปสอยมา …. และรีบเขียนรีวิวนี้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจมันอยู่ (จะได้ทันก่อนหมดโปรโมชั่น หรือของหมด)

Continue reading

Lens Design: อะไรคือ “X Elements in Y Group”

หลังจากตั้ง New Year Resolution ว่าจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นรีวิวอุปกรณ์ การใช้งานอุปกรณ์ ข่าวต่างๆ หรือความรู้เชิงเทคนิค อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 บทความ … สัปดาห์ก่อนก็เขียนเรื่อง Nikon Df: Impression, Review, Feeling, and More! ไปล่ะ แต่สัปดาห์นี้จนวันนี้ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี

และแล้วเสียงสวรรค์ก็มาโปรด เมื่อมีคนถามผมใน Message หลังไมค์บท Facebook Page Photographed by Rawitat Pulam ว่า:


fbmessage.jpg

ก็เลยได้เรื่องเขียนล่ะ ต้องขอบคุณผู้ถามมาตรงนี้ด้วยนะครับ … และ เอาล่ะ เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า

คนที่สนใจเล่นกล้องลองเลนส์ทั้งหลายก็คงจะคุ้นเคยกับ Spec ของเลนส์กันอยู่บ้าง ที่ผู้ผลิตเลนส์จะบอกอยู่เสมอว่า โครงสร้างของเลนส์ประกอบด้วยกี่ชิ้นเลนส์ (Elements) ในกี่กลุ่มเลนส์ (Groups) และพวกนี้มันมีไปทำไม ตัวเลขพวกนี้บ่งบอกอะไร ตัวเลขมากหรือน้อยดีกว่ากัน ทำไมเลนส์บางตัวมีโครงสร้างที่ดูไม่ค่อยซับซ้อนเลย แต่บางตัวซับซ้อนมาก ทำไมบางตัวที่คนเขาว่าดีๆ กัน กลับมีตัวเลขพวกนี้ดูน้อยกว่า เรียบง่ายกว่าตัวที่ตลาดๆ หลายตัวซะอีก แต่บางตัวก็ตัวเลขสูงมากมาย ฯลฯ

Continue reading

Nikon Df: Impression, Review, Feeling, and More!

[อัพเดท: 01/04/2014] เพิ่ม Section “One More Thing”
[อัพเดท: 01/15/2014] เพิ่มเรื่อง “เสียงชัตเตอร์”


กล้องที่ผมสนใจที่สุดในปี 2013 ที่ผ่านมา ไม่มีทางพ้น Nikon Df แน่นอน สนใจถึงขนาดที่ตอนที่มันยังไม่ออกมา ผมยังเขียนบทความที่เกี่ยวกับมันไปแล้วถึง 2 เรื่องด้วยกันคือ Reflection on “Nikon’s Pure Photography” และ ไม่ใช่รีวิว: Nikon Df

หลังจากรอแล้วรออีก … ตอนนี้มันก็อยู่ในมือผมเป็นที่เรียบร้อย จริงๆ แล้วผมแทบรอเขียนรีวิวมันไม่ไหว แต่ต้องรอจนกระทั่งใช้งานจริงเสียก่อนเพื่อให้รู้ว่ากับสถานการณ์จริงต่างๆ แล้วมันเป็นยังไงบ้าง ไม่ใช่แค่เรื่องคุณภาพของภาพ หรือการควบคุมภายนอกต่างๆ และตอนนี้ผมได้ทำงานกับมันจริงจังมาสักพักหนึ่งแล้ว ดังนั้นก็ถึงเวลาแล้วที่จะ “รีวิว Nikon Df” ล่ะครับ

ก่อนที่จะเข้าเรื่อง ผมขอบอกสั้นๆ เลยครับว่า Nikon Df เป็นกล้องที่

“Love it, or Hate it — ไม่รัก ก็เกลียด”

เลยทีเดียวล่ะครับ ….​ เพราะมันเป็นกล้องไม่กี่ตัวที่ “ซื้อด้วยหัวใจ ไม่ใช่เหตุผล”





Nikon Df — ถ่ายจาก Sony A7 + Voigtlander 50mm f/1.1

แต่กล้องที่ “ซื้อด้วยหัวใจ ใช้ด้วยความรู้สึก” นี่ถ้าเอามาใช้งานจริงๆ แล้วจะรู้สึกยังไง ใช้แล้วเป็นยังไงบ้าง ดีมั้ย แย่มั้ย ฯลฯ ….. รีวิวนี้มีคำตอบจาก “มุมมองและประสบการณ์ส่วนบุคคล” ที่เป็นแค่คนธรรมดาๆ คนหนึ่งที่ชอบถ่ายรูป มีความสุขกับการเล่นอุปกรณ์ไปเรื่อยๆ ใช้เองจริง ถ่ายภาพเรื่อยๆ เล่าเรื่อง เวิ่นเว้อ (แต่ไม่เพ้อเจ้อนะ) :D

Continue reading

Let it “Burn”

ไม่ค่อยได้เขียนเรื่อง Software Development สักเท่าไหร่ (ทั้งที่จริงๆ เป็นเรื่องที่เดินสายพูด เดินสายบรรยาย สอน และถนัดที่สุดแล้วในบรรดาเรื่องทั้งหมด) แต่เมื่อคืนน้องในทีมพัฒนา Sticgo (http://www.sticgo.com) Startup ที่ผมเป็น Mentor อยู่ในโครงการ True Incube (http://incube.truecorp.co.th) ดันเอา Chart อะไรบางอย่างขึ้นใน Facebook แล้วพี่ Roofimon (www.roofimon.com) เข้ามาบอกเลย “บาป” แล้วก็งงว่ามันคือ Chart อะไร ผมก็เลยสัญญากับพี่รูฟไปว่าจะเขียนเรื่อง Chart ตัวนี้ใน Blog ด้วยความเป็นลูกผู้ชาย ก็เลยต้องรักษาสัญญาซะหน่อย

เป็นที่รู้และเข้าใจกันดี ว่าการพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวหนึ่งมันไม่ใช่เรื่องเล็กๆ มันมีเครื่องไม้เครื่องมือมีกระบวนการมี Mindset อะไรหลายต่อหลายอย่างเอาไว้ให้เราใช้ในการช่วยพัฒนาซอฟต์แวร์

Mindset โบราณที่ลอก Metaphor มาจากการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่ากระบวนการแบบ Waterfall ก็มีเครื่องมือหลากหลาย และตัวหนึ่งที่เราต้องเจอกันมาตลอดก็คือ “Gantt Chart” ซึ่งไอ้เจ้า Gantt Chart ตัวนี้เป็นเครื่องมือนำ “แผนการทำงาน” มาวางต่อเนื่องบน Timeline เพื่อดูว่าเราวางแผนการทำงานอย่างไร อะไรต้องทำก่อนทำหลังอะไร แล้วเวลาที่จะใช้คือประมาณเท่าไหร่ ฯลฯ

สิ่งที่ Gantt Chart ตอบได้อย่างชัดเจนก็คือ การให้เห็นแผนการทำงาน ระยะเวลาของงาน และปริมาณงานที่เสร็จไปแล้ว ซึ่งนี่คือสิ่งที่จำเป็นมากในการทำงานอะไรก็ตามในโลกความเป็นจริงที่เราต้องอยู่กับชาวบ้าน ทำงานกับคนอื่น (ลูกค้า เจ้านาย ฯลฯ) เพราะว่ามันจะมีความถามเราตลอดเวลากับคำถามต่อไปนี้ “แล้วจากนี้จะทำอะไร ต่อจากนั้นทำอะไร ใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ เหลืองานอีกเยอะมั้ย เสร็จไปแล้วเท่าไหร่” ฯลฯ (ซึ่งพวกนี้จะเกี่ยวข้องกับค่าจ้างเราด้วยนะ)

แน่นอนว่า ในโลกบางใบ คนหลายคนต้องการที่จะเห็นรายละเอียดทั้งหมดเหล่านี้ Up-Front ซึ่งหมายความว่าเห็นรายละเอียดของแผนการดำเนินการ ระยะเวลา และงบประมาณทั้งหมดก่อนที่จะเริ่มดำเนินการ ซึ่งในขณะที่แนวคิดแบบนี้ใช้ได้กับงานบางประเภท มันกลับไม่เหมาะเอาซะเลยกับการพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ “เป็นของใหม่ ไม่มีใครทำมาก่อน” ซึ่งมันมี Unknown เยอะ (ถ้าเป็นโปรแกรมประเภท Data Entry ธรรมดาๆ นี่อีกเรื่อง อันนี้พอจะประมาณได้จากประสบการณ์ แต่ต้องมีประสบการณ์เยอะพอที่จะทำได้นะ — บอกตรงๆ ว่าโดยทั่วไป ต่อให้เป็นผมหรือเก่งกว่าผมก็มองเห็นทุกอย่าง Up-Front ขนาดนั้นไม่ได้หรอก)


1.jpg

Continue reading

Reflection on “Nikon’s Pure Photography”

[อัพเดท: 11/03/2013] เพิ่มตอนที่ 6
[อัพเดท: 11/04/2013] แก้ไขข้อความ แก้ไขข่าวลือเล็กน้อย


ปกติผมไม่เขียนถึงกล้องหรือเลนส์ที่เป็นข่าวลือ หรือยังไม่ประกาศนะ (แน่นอน นี่ไม่ใช่เว็บข่าวลือ) แต่ตัวนี้ผมต้องเขียนถึง ไม่เขียนไม่ได้ล่ะ อึดอัด!

ผมเชื่อว่าลึกๆ แล้วในใจคนหลายคน ยังมีความโหยหาโลกสมัยก่อน ที่ทุกอย่างเรียบง่าย ละเอียด โลกที่เวลายังเดินช้า ไม่มีการแข่งขัน ไม่มีความรีบเร่ง เร่งร้อน เร่งด่วน โลกที่ยังทำให้เรารู้สึกอบอุ่นเหมือนอยู่บ้าน โลกที่ทำให้เรารู้สึกว่า “ชีวิตมันเป็นของเรา” มากกว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มันตรงกันข้ามกันในทุกวันนี้ … ทำไมนะ ถึงที่ทำงานเราจะมีการออกแบบสไตล์โมเดิร์นที่เต็มไปด้วยกระจกและความเรียบหรู แต่ที่บ้านเรายังชอบเฟอร์นิเจอร์ที่แลดูวินเทจ .. ก็คงจะเป็นเหตุผลเดียวกัน

มันก็คงจะเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่การออกแบบอุปกรณ์ที่มีประวัติยาวนานเช่นกล้องถ่ายรูป จะเริ่มย้อนยุคกลับไปใช้การออกแบบสมัยก่อน หรือที่เราเรียกว่า Retro Style กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Fujifilm X100/X100s ที่หลายต่อหลายคนซื้อ แล้วก็รักมัน ด้วยความ “คลาสสิค” ของรูปร่างหน้าตา มากกว่าฟีเจอร์หรือความสามารถ จนกลายเป็นรูปแบบการออกแบบกล้องทุกตัวของ Fujifilm ไปซะแล้ว หรือว่าแบบ Leica M ที่ยังคงรูปร่างหน้าตาและการใช้งานตั้งแต่ยุคคลาสสิคไว้แทบไม่เปลี่ยนเลย ถึงแม้ภายในของ Leica M 240 จะเปลี่ยนไปทั้งหมด แต่ภายนอกนั้นก็ยังคงเรียบง่ายเหมือนเดิม [บทความ: My Leica Story Pt3: The M 240]

และแล้วก็มาถึงคิวของ Nikon บ้าง


“Classic Nikon F3 Film SLR”


Image Source: nikonrumors.com
http://nikonrumors.com/wp-content/uploads/2013/10/Nikon-F3-film-camera.jpg


Continue reading

ว่าด้วย “ขนาด Sensor” [1]: Crop Factor และผลต่อ DoF & FoV

ไม่ได้เขียนบทความเชิงเทคนิคซะนาน เขียนซะหน่อยก่อนที่มือไม้จะขึ้นสนิม และนี่คงเป็นเรื่องที่ตอบคำถามคาใจของใครหลายต่อหลายคนได้ดีทีเดียว คำถามที่ว่านั้นก็คือ “กล้องตัวคูณ คืออะไร” หรือ “ทำไมคนนั้นใช้เลนส์ 20mm มันเหมือนจะถ่ายรูปได้กว้างกว่าผมใช้เลนส์ 18mm ครับ” และ “ทำไมกล้องตัวเล็กๆ ถึงถ่ายหน้าชัดหลังเบลอไม่ค่อยได้” ตลอดจน “ทำไมกล้องใหญ่ถ่ายที่แสดงน้อยดีกว่ากล้องเล็ก” แม้กระทั่ง “ทำไมไม่ทำเลนส์ 24-200 f/2.8 ขนาดเล็กๆ ใช้กับกล้อง D600/800 จะได้มีตัวเดียวเที่ยวทั่วโลก” และยังมีคำถามอื่นๆ อีกมากมายที่เป็น Variation ของคำถามเหล่านี้

ต้นตอสำคัญ เรื่องของเรื่อง ก็คือ “ขนาดของเซ็นเซอร์มันต่างกัน” ครับ และสำหรับบทความนี้เราจะว่ากันแค่เรื่องของ “ตัวคูณ” หรือ Crop Factor “Depth of Field” (DoF) และ “Field of View (FoV) แค่นั้นครับ ส่วนเรื่องการถ่ายในที่มืดค่อยว่ากันในบทความต่อไป และผมจะพยายามอธิบายโดยใช้ฟิสิกส์ให้น้อยที่สุดนะครับ :D

หลักการพื้นฐานง่ายๆ ที่ไม่เปลี่ยนของการถ่ายภาพก็คือเหมือนกับตาคนครับ แสงสะท้อนจากวัตถุ ผ่านเลนส์ ตกกระทบตัวรับภาพ ซึ่งในกรณีของกล้องก็คือฟิล์มหรือเซ็นเซอร์ ทีนี้ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า เซ็นเซอร์ดิจิทัลในกล้องทั่วๆ ที่เราใช้ๆ กันอยู่เนี่ย มันดันมีหลายขนาด ถ้าเราเริ่มจากเซ็นเซอร์ขนาดเทียบเท่ากับฟิล์ม 35มม. หรือที่เรียกว่า Full-Frame เป็นหลัก แล้วไล่ขนาด “ลงมา” ถึงที่ใช้กันในกล้องมือถือแล้วล่ะก็ จะได้ประมาณนี้ครับ


sensor_size

ขนาดเซ็นเซอร์ที่ใช้ในกล้องทั่วไป ตั้งแต่ Full Frame (เท่ากับฟิล์ม 35มม.) จนถึงโทรศัพท์มือถือ

อันที่จริงแล้วฟิล์มเองก็มีหลายขนาดครับ ไม่ได้มีแค่ 35มม. แต่ว่าขนาดอื่นๆ เราจะไม่ค่อยคุ้นกันเท่าไหร่ เพราะมันมักจะอยู่ในวงแคบๆ ของคนเล่นจริงจังหรือมืออาชีพ เช่นพวก Medium/Large Format ที่มีขนาดใหญ่กว่า 35มม. เป็นต้น กล้องทั่วๆ ไปที่เรามีโอกาสใช้ ตั้งแต่กล้อง SLR ไปจนถึงกล้องคอมแพค ใช้ฟิล์มขนาดเดียวกันแทบจะทั้งหมด (ฟิล์มแบบที่เราเห็นขายทั่วไปน่ะแหละ) คนใช้กล้อง คนถ่ายรูปทั่วไปก็เลยแทบจะไม่มีประเด็นอะไรเรื่องของ “ขนาดฟิล์ม” แต่กล้องดิจิทัลเดี๋ยวนี้ เรามักจะเจอกับเซ็นเซอร์หลากหลายขนาด และส่วนมากเป็นเซ็นเซอร์ขนาดเล็กทั้งนั้น … ว่าแต่ .. แล้วขนาดเซ็นเซอร์มีผลยังไงบ้างล่ะ

Continue reading

My Leica Story [3]: The M Typ 240 (M240) + Review

[อัพเดท: 10/17/2013] เพิ่มเรื่องไฟล์ RAW และภาพเปรียบเทียบ
[อัพเดท: 10/18/2013] เพิ่มเรื่อง JPEG Processing Capability


ความเดิม:

กล่องที่ยังไม่ได้แกะของ Leica M Typ 240 (ซึ่งต่อไปนี้ผมจะเรียกย่อๆ ว่า M240 นะ) วางอยู่ตรงหน้าผมแล้ว บอกตามตรงเลยว่าผมมี First Impression ที่ดีมากกับเจ้า M240 ตั้งแต่ผมเห็นกล่องล่ะครับ กล่องของ M240 มีรูปทรงเปลี่ยนไปจาก M8 และ M9 แบบเห็นได้ชัด ดูเล็กลง แต่ “Lean” ขึ้นอย่างรู้สึกได้ และเมื่อเปิดกล่องออกมายิ่งรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงในเชิงการออกแบบในทางที่ดีขึ้น การออกแบบการจัดเก็บต่างๆ ภายในกล่องถูกออกแบบในรูปแบบของลิ้นชัก แยกชัดเจนระหว่างตัวกล้อง อุปกรณ์ และสายไฟต่างๆ (แล้วในส่วนเก็บสายไฟ นี่เปิดมาเจอสายชาร์จในรถด้วยนี่รู้สึกฟินมาก เข้าใจผู้ใช้งานจริงๆ)


DSC_1178.jpg

The M

ผมค่อยๆ แกะดึงกล่องที่บรรจุตัวกล้อง ที่วางอยู่ที่ชั้นบนสุดภายในกล่องออกมา แล้วค่อยๆ เอาตัวกล้องออกจากพลาสติกที่ห่อมันเอาไว้ เอาเลนส์ 50mm f/1.4 Summilux ASPH ที่เอาไปด้วย เมาท์กับตัวกล้อง … ตั้งแต่ความรู้สึกแรกที่เอาเจ้า M240 ออกจากกล่อง มาถือในมือหลังจากเมาท์เลนส์ … ทุกความรู้สึกผมมันบอกล่ะครับว่า มันคือ ….

“The Best Digital M”

แต่มันจะเป็นยังงั้นจริงหรือเปล่า … เรื่องนี้ “ยาว” ครับ

ก่อนจะอ่านต่อ ต้องบอกไว้ก่อนว่า .. นี่ไม่ใช่ “รีวิว” ของ M240 นะครับ แต่เป็นการเขียนถึงความรู้สึกต่างๆ จากการใช้งานจริงของผู้ใช้คนหนึ่ง ถึงจะออกแนวรีวิวมากกว่าทั้งสองตอนที่ผ่านมาก็เถอะ … ถ้าไม่ชอบบทความอารมณ์ “เล่าเรื่องราว” ก็ข้ามไปนะครับ อย่ากดเข้าไปอ่านต่อ :-)

Continue reading