ดาบสองคม

ดาบสองคม คมหนึ่งมันคมเท่าไหร่ อีกคมมันมักจะคมเท่านั้น

แต่เรามักจะเห็นมันคมเดียว ณ เวลาหนึ่ง จนกระทั่งอีกคมหนึ่งมันไปฟาดอะไรซักอย่างของเราเท่านั้นแหละ ที่เราจะเห็นอีกคมหนึ่ง

เทคโนโลยีทุกอย่าง เป็นดาบสองคม
การพัฒนาการทุกอย่าง เป็นดาบสองคม

เข้าทำนอง ยิ่งรัก ก็ยิ่งทุกข์ เมื่อวันหนึ่งที่ความรักนั้นมันกลับมาเป็นดาบอีกคมหนึ่ง

คุณกำลังสัมผัสดาบสองคม ที่คมที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

“อินเทอร์เน็ต”

อินเทอร์เน็ต ให้ Scale ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในแง่ของ Information Economy นั่นคือ ทุกคนแทบจะมี Economy of Scale เทียบเท่ากัน ขาดแต่เพียง Social Networking รองรับเท่านั้น

ดาบสองคมที่ว่านั่น ก็คือ ถ้าทุกคนอยู่ในฐานะของ “สื่อ” ได้แล้วล่ะก็ จะมีกี่คนเล่าที่มีจรรยาบรรณของสื่อ หรือว่าคำถามที่ดีกว่านั้น จะมีกี่คนเล่าที่ใช้มันไปในทางสร้างสรรค์

เราต้องมี Information Literacy ที่ดีขึ้น …..

นอกจากนั้น อินเทอร์เน็ต มันยังเป็นแหล่งเก็บข้อมูลชั้นดี ที่ไม่มีวันล่ม แทบไม่มีวันหาย

ข้อมูลหลายอย่าง ถ้ามันอยู่บนอินเทอร์เน็ตแล้ว มันแทบจะเป็นอดีตที่ไม่มีวันลบวันเลือน ….

เช่น เมื่อไม่กี่ปีก่อน ถ้ามีแฟน แล้วเลิกกัน อยากจะตัดขาดทิ้งทุกอย่าง มันคงจะทำได้ไม่ยาก ก็แค่เอาเผารูป เผาฟิล์ม เผาจดหมาย ก็เท่านั้นเอง ……

แต่ว่าทุกวันนี้ ถ้ามันอยู่บนอินเทอร์เน็ตเสียแล้ว Searchๆ ไป ค้นๆ ไป มันก็ยิ่งเจอไปเรื่อยๆ ทั้งข้อความที่เคยคุยกัน ซึ่งแสดงความสัมพันธุ์ที่เคยมี รวมทั้งภาพโน้นภาพนี้จากวันที่เคยมีกันและกัน และมันอาจจะดูดีกว่าปัจจุบันมากมาย วันดีคืนร้าย ภาพเหล่านั้นของวันที่เคยดี อาจจะกลับมาหลอกหลอนตัวเองหรือคนอื่น ในรูปแบบไหนก็ได้

อืมมม แล้วก็ .. บางคนก็เขียนแต่เรื่องดีๆ ของกันและกัน เรื่องเสียๆ หายๆ ไม่เคยเขียน บางคนกลับกัน เขียนแต่เรื่องเสียๆ หายๆ เรื่องดีๆ ไม่เขียน พอวันหนึ่งที่มันกลายสภาพเป็นเพียงหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ ข้อความทั้งดีและไม่ดี ก็คงส่งผลต่างกัน

ดาบสองคมชัดๆ

History of the Internet & the Web

เทอมนี้สอนวิชา Programming on the World Wide Web และคิดจะใช้วิธี collaborative knowledge development กับวิชานี้ (และอาจจะวิชาอื่นๆ ที่สอนในเทอมนี้ด้วย) ก็คือ ผมจะรวบรวมบทความหรือว่าเร่ืองน่าสนใจต่างๆ มาเป็น reading list และนักศึกษาจะต้องเข้าไปอ่าน​ (ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด) และต้องมีความคิดอะไรบางอย่างกับสิ่งที่ตัวเองอ่านไป ว่าให้ข้อคิดอะไรบ้าง ส่งให้เกิดผลอย่างไรบ้าง หรือว่าทำให้เข้าใจโลกที่เป็นอยู่อย่างไรบ้าง และนักศึกษาจะต้องเขียนเป็นบทความสั้นๆ แล้ว submit กลับเข้าไปในระบบ โดยที่ผมจะเป็น editor ให้ เพื่อคัดเลือกบทความที่ดี (interesting, insightful ตามภาษา slashdot) ให้อยู่ในระบบ และการนับคะแนนจะนับตาม contribution ในการร่วมกันสร้าง knowledge

สำหรับ reading list แรกของวิขานี้ คือเรื่องเชิงประวัติศาสตร์ นั่นคือ history of internet & the web ซึ่งผมเห็นว่าจริงๆ ก็น่าสนใจดี ก็เลยเอามา post ไว้ที่นี่อีกที่หนึ่ง

517312 Programming on the World Wide Web: Reading: History of Internet & the Web

ซึ่งก็คงต้องขออภัยอย่างสูงด้วยอีกเรื่องหนึ่งคือ ใน website นั้น ไม่ให้คนนอกสมัครเข้ามาเขียน content ได้แต่อย่างใด (เนื่องจากกำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง model นี้ในการศึกษา)

วิวัฒนาการของ Dock

อ้างอิง: Road to Mac OS X Leopard: Dock 1.6 โดย Prince McLean

Dock ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Interface หลักใน Mac OS X (และ Desktop อีกหลายตัว) ซึ่งตัว Dock นี้วัตถุประสงค์หลักของมันก็คือไว้เก็บ Application ที่ใช้บ่อยๆ (ย้ำ บ่อยๆ) หรือว่าใช้เป็นงานหลัก เพื่อให้เข้าถึงง่ายและเรียกใช้ได้เร็ว แต่ว่าหลายๆ คนกลับเอาโน่นเอานี่ใส่ไว้เยอะแยะมากมายมหาศาล (โดยเฉพาะโปรแกรมในชุด iLife หลายตัวที่อาจจะแทบไม่ได้ใช้ หรือว่าใช้นานๆ ครั้ง) ทำให้ Dock มันรก และไม่สะดวกในการใช้งาน



[ภาพ Dock ใน OS X 10.5 จาก AppleInsider]

จริงๆ แล้วในปัจจุบันก็ค่อนข้างที่จะ controversial มากพอควร ว่าจริงๆ แล้วการใช้งาน Dock ในลักษณะแบบนั้นนี่จะเหมาะสมดีจริงๆ หรือเปล่า เพราะว่าจริงๆ แล้วมันทำให้มีการเลื่อน mouse เยอะพอดู (แต่ว่าก็ยังน้อยกว่าการค้นจาก Application folder หรือ Start Menu) และถ้าเราเป็นคนมักมากก็คงจะเอาโปรแกรมโน้นนี้ไปใส่ไว้ใน Dock เกือบหมด ซึ่งทำให้การใช้งาน Dock มีความสะดวกน้อยลง (เพราะว่า icon เล็กลง การหาเสียเวลามากขึ้น) … ยิ่งถ้าเป็น QuickLaunch ของ Windows ด้วยยิ่งไปกันใหญ่ เพราะว่ามันไปแย่งที่อยู่กันเองกับ Taskbar



[ภาพจาก QuickLaunch & Taskbar จาก AppleInsider]

Controversial ที่ผมว่านี้ ส่วนหนึ่งก็คือ Dock ไม่ได้เหมาะสมเท่าไหร่ในฐานะของ Application Launcher หรือเปล่า เพราะว่าเวลาเราจำโปรแกรม ส่วนหนึ่งเราจะจำเป็นชื่อ และหลายครั้งที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์ มือของเราจะอยู่ที่ keyboard ไม่ใช่ mouse ทำให้มีคนพัฒนาโปรแกรมในลักษณะ Application Launcher ที่เรียก shortcut (มักจะเป็นการกดปุ่มบน keyboard สองปุ่มหรือว่าสามปุ่มพร้อมกัน) แล้วพิมพ์ชื่อโปรแกรมลงไปมากกว่า เช่น QuickSilver บน Mac OS X เป็นต้น

บทความที่ผม link มาด้านบน​ มีเรื่องวิวัฒนาการของ Dock ตั้งแต่เริ่มต้นใน RISCOS เป็น NeXT เป็น Newton เป็น … และมาลงเอยด้วย Mac OS X และครอบคลุมถึง feature ใหม่ๆ ใน Mac OS X 10.5 Leopard ด้วย (เช่น Stacks) เป็นบทความที่ยาว 3 หน้า แต่ว่าเป็นเรื่องวิวัฒนาการของ Dock หน้าเดียว นอกนั้นเป็น Dock ใน Leopard

Stacks สำหรับ Dock ใน OS X 10.5 นี่เท่าที่อ่าน (ยังไม่ได้สัมผัส) ก็น่าจะเข้าท่าทีเดียว แต่ว่าจะทำให้การใช้งานง่ายขึ้น หรือว่าเพิ่มความซับซ้อนในการใช้งาน (และ visual effect) โดยใช่เหตุ ก็ยังเป็นประเด็นที่จะต้องขอดูต่อไปก่อน

เสียดาย ที่บทความที่ว่า ไม่ได้พูดถึง Dock ใน Desktop Environment อื่นๆ เลย แต่ว่าก็ไม่เป็นไร เพราะว่าเค้าอยากจะเขียน focus ไปที่ Dock ของ OS X รุ่นใหม่ ก็เลยไม่ได้ focus ไปที่ตัวอื่น

เอาไว้ถ้ายังไงผมจะลองเขียนๆ ให้อ่านเองก็แล้วกันครับ (สัญญาอีกล่ะ) เหมือนกับที่เคยเขียนเรื่อง History of Modern Mac Operating Systems: Mac OS 8, 9 and X ไว้เมื่อนานมาแล้ว (จริงอยากจะขยายเป็นหนังสือ เรื่องประวัติ Modern OS ซักเล่ม แต่ว่าท่าทางจะยาว…… ข้อมูลมันเยอะมาก ยิ่งพวกสาย Linux, BSD เนี่ย เยอะสุดๆ)