Pencast วิชา​ Visual Simulation ครั้งที่ 4

ก่อนอื่นต้องขอชมน้องๆ หลายคนก่อนว่า ทำการบ้านครั้งที่แล้วได้ดีมากเลยครับ

เนื้อหาคราวนี้หลักๆ เป็นการเชื่อมโยงเนื้อหาคราวที่แล้ว (1D Dynamical System; Logistic Equation) กับเรื่องที่นักศึกษาสาขา animation คุ้นเคย นั่นก็คือ การกำหนดค่าการเคลื่อนไหวต่างๆ ให้กับ animation ก็หวังว่าจะทำให้หลายๆ คนเข้าใจบทบาทของ Dynamical system simulation กับการประยุกต์ใช้งานในเรื่อง animation มากขึ้นบ้าง

  1. ตอนที่ 1: Simple Dynamical System & Animation Control ขนาด 7.8 MB

  2. ตอนที่ 2: Simple Dynamical System & Animation Control (ต่อ) ขนาด 5.3 MB

  3. ตอนที่ 3: 2D Rule-based Dynamical System ขนาด 2.3 MB

  4. ตอนที่ 4: การบ้าน (นิดๆ หน่อยๆ) ขนาด 639 KB
    7.01 VS: Homework
    brought to you by Livescribe

ไฟล์เอกสาร (PDF) : VS_4_1.pdf, VS_4_2.pdf

หลังจากนั้น เนื่องจากน้องๆ หลายคนยังไม่เข้าใจการบ้านเท่าไหร่ ว่าจะต้องส่งอย่างไร ทำอะไร ต้องใส่อะไรบ้าง ฯลฯ (ถึงแม้ว่าผมจะให้ keyword “Cellular Automata” ในการ search google, wikipedia ซึ่งผมบอกว่า จะเอารูปจากเค้ามาเลยก็ได้ ไม่ผิด ก็ตาม) ซึ่งก็พอจะเข้าใจนักศึกษานะครับ ก็เลยต้องเปิด “เฉลย” การบ้านให้ดูก่อน ว่าให้น้องๆ ทำตามนี้แหละ เขียนส่งมาแค่นี้แหละ ซึ่งตรงนี้ไม่ได้บันทึกไว้ เพราะว่าเป็นการเปิดจากไฟล์ presentation ในเครื่อง (ผมไม่สามารถเขียนภาพผลการรัน Cellular Automata กฏ 110 ด้วยมือได้ครับ เกินความสามารถ) ก็เลยเอาภาพและ animation บางส่วน ที่สร้างจากการประยุกต์ใช้ Cellular Automata ดังๆ อย่าง Conway’s Game of Life ให้น้องๆ ดูไปด้วย

ก็ต้องขออภัยนะครับ ที่ในส่วนนั้นไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้

Pencast จากวิชา UI วันที่ 6/21

วันนี้มี 4 ตอนครับ โดยไอเดียเป็นการเกริ่นเรื่อง Application Design ในโลกที่เต็มไปด้วย Data และแนวคิดที่ว่าโปรแกรมควรออกแบบเพื่อ maximize ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูล/สารสนเทศ … อ่อ แล้วครั้งนี้เสียงอาจจะแปลกๆ หน่อยนะครับ เพราะว่าใช้ไมโครโฟนครับ ปกติจะพูดดังๆ เอา แต่วันนี้ไม่ไหว เสียงค่อนข้างพัง พูดดังไม่ได้ เลยใช้ไมค์

  1. ตอนที่ 1: Data and UI Design (ไฟล์เสียง 6.1 MB และไฟล์ PDF UI_6_21_1.pdf)

  2. ตอนที่ 2: Metadata (ไฟล์เสียง 4.4 MB และไฟล์ PDF UI_6_21_2.pdf) เป็นเรื่อง surprise ผมมากพอสมควรเลยนะ ที่น้องๆ ปีสาม ไม่รู้จัก Metadata กัน หลายคนไม่เคยได้ยิน ไม่เป็นไร ก็สอนซะหน่อย เพราะว่านี่เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เราเล่นกับข้อมูลได้หลากหลายและสนุกเลย

  3. ตอนที่ 3: Applications and Data (ไฟล์เสียง 5.6 MB และไฟล์ PDF UI_6_21_3.pdf)

  4. ตอนที่ 4: Application and Data (QA) (ไฟล์เสียง 2.9 MB และไฟล์ PDF UI_6_21_4.pdf) พอดีมีน้องคนนึงถามว่า “แล้วการเปลี่ยนจาก Application แบบเปล่าๆ เป็น Application+Data ต้องทำไงบ้าง” คิดว่ามีประเด็นดีะน ก็เลยพูดยาวหน่อย

น้องๆ ที่ลงวิชานี้อย่าลืมการบ้านนะครับ keyword ในการตั้ง subject ของ e-mail คือ app+data ครับ และช่วยๆ รบกวนทำการบ้านให้เหมือนกับว่าอยากจะผ่านวิชาหน่อยนะครับ

Pencast จากที่สอนวิชา UI วันที่ 6/14

Pencast ข้างล่าง 3 อันนี้ เป็นการบันทึกสดจากการสอนวิชา User Interface Design และ Human-Computer Interaction ครั้งที่ 3 (สองครั้งแรก ไม่มีการบันทึก เพราะยังไม่มีของเล่น แต่ว่าเนื้อหาจะยังคงไม่มีอะไรมากมายนัก และส่วนหนึ่งก็ได้พูดถึงซ้ำในวันนี้)

เนื้อหาคร่าวๆ ในวิชานี้ ผมไม่ได้ต้องการเพียงแค่ว่าหลักการในการออกแบบ User Interface เท่านั้น แต่จะรวมถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บ requirement เพื่อให้ได้มาซึ่ง User Experience (UX​) ที่ดี และการนำความรู้เรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักการ 80:20 หลักการทำงานของสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง creativity การสร้าง innovation การศึกษาและระบุตลาดของซอฟต์แวร์ และความสร้างความสามารถในการแข่งขันโดยให้ User Interface, User Experience ที่เหนือกว่า เรื่องต่างๆ จาก Game Theory (เช่น Prisoner’s Dilemma) เป็นต้น

เนื้อหาด้านล่างนี้ แบ่งเป็น 3 ส่วน ตามที่ผม lecture ซึ่งในส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่ผมนึกออกระหว่างสอน ว่าน่าจะพูดถึง น.ศ. จะได้ทราบบ้าง ว่าสมองทำงานอย่างไร ไอเดียต่างๆ ซึ่งเป็นนวัตกรรมได้ มันจะมาจากไหน ก็เลยสอนสดๆ เลย โดยแต่ละส่วนนั้น ขั้นด้วย discussion ที่ไม่ได้บันทึกไว้ ซึ่ง น.ศ. ที่ไม่ได้มาเรียน ก็น่าเสียดายแทนด้วย แต่ไม่มีอะไรมากหรอกครับ เพราะว่าส่วนมากก็เป็นเกร็ดเล็กน้อยเสียมากกว่า

ป.ล. เสียงอาจจะมาช้านะครับ อาจจะต้องรอมัน stream เสียงนิดนึง ส่วนภาพคงไม่มีปัญหา เพราะจากที่สังเกต ทาง Livescribe ใช้วิธีการสร้างจาก coordinate data (x, y, t) ส่วนเสียงนี่เป็น audio streaming ธรรมดา

หมายเหตุ มีการแจ้งว่า กด play บนนี้แล้วเล่นไม่ได้ ไปเล่นบนหน้าเว็บของ livescribe เองก็ไม่มีเสียง …​ ผมเข้าใจว่าพอกด play ไปแล้ว มันจะเริ่ม download ไฟล์เสียงครับ ซึ่งจะใช้เวลาหน่อย ในกรณีที่ไฟล์เสียงมันใหญ่ การ streaming ของเสียงอาจจะไม่ดีพอครับ คิดว่าใช้การ download ทั้งไฟล์ ขออภัยในความไม่สะดวกครับ จะติดต่อกับทาง livescribe เพื่อบอกปัญหานี้ต่อไปครับ …. กด play แล้วรบกวน “อดทนรอ” หน่อยนะครับ

ส่วนนี่คือ PDF ที่ export มาจากที่เขียนครับครับ

หวังว่าคงเป็นประโยชน์นะครับ ฟังเล่นเพลินๆ ละกันนะครับ

Pencast: 80/20 & IT ตอนที่ 1

กฏ 80:20 หรือ Pareto’s Principle เป็นเรื่องที่ผมใช้งานค่อนข้างเยอะครับ และต้องอธิบายซ้ำไปซ้ำมาค่อนข้างบ่อยเลย ในแทบทุกคลาสที่ผมสอน กับแทบทุกคนที่ผมคุยด้วย จะต้องมีเรื่องนี้อยู่ด้วยเกือบจะเสมอ ก็เลยคิดว่า น่าจะทำ slideshare หรือว่า video ลง youtube เอาไว้อ้างอิงทีเดียวเลย

แต่ว่าพอดีเร็วๆ นี้ผมได้ของเล่นใหม่มา คือ Pulse Smartpen ของ Livescribe ซึ่งทำ “Pencast” ได้่ คิดว่าเจ๋งดี เลยลองซะหน่อย ถ้าเป็นไงก็บอกด้วยนะครับ จะได้ทำต่อไปครับ

อันนี้เป็น Embedded Video (Flash) นะครับ แล้วก็ดู Full-screen ได้ (ถ้าไม่ดู คงจะอ่านไม่ออก) และจะเป็นการ trace การเขียนคู่ไปกับการพูดเรื่อยๆ ส่วนไฟล์จริง upload ไว้ที่ Livescribe.com ครับ … อ่อ และขออภัยเรื่องเสียงนะครับ ยังตะกุกตะกักอยู่บ้าง เขินๆ น่ะ (และอดนอนด้วย ฮาๆ กันไป)

ป.ล. มัน fully-interactive นะครับ คือ คลิกตรงไหน มันจะเริ่มพูดที่ตรงนั้น

ป.ล.2 อีกอย่าง ผมลายมือห่วยครับ –‘

80:20 and IT #1
brought to you by Livescribe


ไฟล์ PDF ตามที่เขียนครับ
80-20-and-IT-1.pdf

ถึง Advisee โปรเจคจบทุกท่าน

กรุณาซ้อม presentation อย่างน้อยที่สุด “3” ครั้งก่อนที่จะนำเสนอจริง มิอย่างนั้นผมคงจะไม่อนุญาตให้นำเสนอจริงได้ หรือว่าอาจจะต้องไปฆ่ากันเล่นในเวลานำเสนอจริง เพราะว่าผมจะถือว่าเป็นการซ้อมเช่นกัน (เช่น ถ้าคุณซ้อม 2 ครั้ง ผมจะนับวันนำเสนอจริงเป็นการซ้อมครั้งที่ 3)

นักศึกษาหลายคนบอกว่า “กลัวอาจารย์รวิทัตเวลาโมโห/โกรธ” แต่ว่ากลับชอบทำให้อาจารย์คนนั้นโมโห หรือไม่ก็ทำให้อาจารย์คนนั้นโกรธ … เพื่ออะไร? เพื่อที่จะสนองสมมติฐานตัวเองว่าอาจารย์ท่านนั้นดุ น่ากลัว? อย่างนั้นหรือ?

บอกให้มาซ้อม present ให้ฟัง บอกไปเถอะ ปาวๆๆ ไม่เคยสนใจกันหรอก ไม่รู้จะรอเวลาให้ทุกอย่างมันสายจนแก้ไม่ได้กันขนาดไหน รอจนกระทั่งอีกสองสามวันจะ present แล้ว ค่อยเอามาให้ดู ค่อยมาเอาซ้อม แบบนั้นน่ะเหรอ?

บอกให้หัดเขียนโปรแกรมบ้างนะ บอกไปเถอะ ปาวๆๆ ไม่เคยสนใจกันหรอก ไม่รู้จะรอให้มันถึงเวลาไฟลนก้น วันพรุ่งนี้จะต้องเริ่มทำโปรเจคจบ ถึงจะหัดเริ่มเขียน อย่างนั้นเหรอ?

จะทำโปรเจคจบกันยังไงคร้าบบบบบ เขียนโปรแกรมภาษาซีที่ไม่ต้องทำอะไร (โปรแกรมว่างๆ) ยังมีคนเริ่มต้นเขียนไม่ถูกเลย (คนที่เข้าเรียนวิชา SE ครั้งที่แล้วคงจะทราบว่าใคร ขอให้ทราบตัวเองไว้ด้วยก็แล้วกัน)

เฮ้อ

ผมพยายามไม่โมโหพวกคุณแล้วนะครับ และแล้วผมก็พบทางสว่างในการที่จะไม่โมโหพวกคุณ นั่นก็คือ ผมต้อง “ไม่สนใจ” พวกคุณ ปล่อยเลยตามเลย ใครอยากทำอะไรก็ทำ

หวังว่าพวกคุณคงจะพอใจ

ว่าด้วยวิชา User Interface

ไม่ได้อัพเดทบ้านนี้ซะนานเลย มัวแต่ไปอัพที่ Multiply กับ Twitter (แต่ว่าอันนั้นสู้ sugree ไม่ได้หรอก) ก็มันไม่มีเรื่องจะเขียนยาวๆ นี่นะ

เปิดเทอม ยุ่งวุ่นวายนิดหน่อย ตรงที่มีเด็กๆ มาถามเยอะแยะ ว่าทำไมผมไม่เปิดวิชา User Interface

อยากจะบอกน้องๆ ว่า นี่เป็นวิชาที่ผมชอบสอนที่สุด และคิดว่าตัวเองสอนได้สนุกที่สุดแล้ว (หมายถึงเทียบกับเฉพาะวิชาที่ตัวเองสอนนะ) และผม “อยากจะเปิดที่สุด” เหมือนกัน แต่อาจจะด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างทำให้เทอมนี้ภาควิชามีมติว่าไม่เปิด ซึ่งตัวผมเองไม่ได้มีปัญหาอะไรและรับมติ (เลยไปสอน Software Engineering แทน) ซึ่งวันนั้นที่ภาควิชาประชุมกันนั้น ผมไม่ได้เข้าประชุมเนื่องจากติดการประชุมใหญ่ของศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (University Business Incubator; UBI) ทุกมหาวิทยาลัยที่โรงแรม Rama Garden เลยไม่รู้ว่าวันนั้นประชุมกันยังไงบ้าง และตัวผมเองไม่มีโอกาสที่จะยืนยันที่จะเปิดวิชานี้ แต่อย่างไรก็ตาม มติคือมติครับ ผมไม่ขัดข้องแต่ประการใด

ที่เขียนนี่ ไม่ได้บ่นอะไรนะครับ กรุณาอย่าเข้าใจผิด แค่อยากจะขี้แจงให้้น้องๆ ที่ถามผมบ่อยๆ ว่าทำไมไม่เปิดทราบเท่านั้น ซึ่งผมก็เลยให้น้องๆ เหล่านั้นลองทำเรื่องถึงภาควิชา ถ้าอยากให้เปิดจริงก็ลองทำเรื่องดู ซึ่งอาจจะไม่ได้เปิดเทอมนี้ แต่ว่าอย่างน้อยก็เป็นน้ำหนักว่าเทอมหน้าให้เปิด ทำนองนั้น

รู้สึกว่าจะมีคนเข้าชื่อกันเยอะพอควร ก็หวังว่าสุดท้ายถ้าเทอมนี้ไม่ทัน เทอมหน้าก็ยังให้เปิดได้ก็แล้วกันนะครับ