Cloud Atlas

นี่คือหนังเรื่องแรกที่มี Dialog และ Symbol ที่สะท้อนความจริงในสังคมที่ทำให้ผมหลุด “เหยดดดด เจ๋งว่ะ” เบาๆ ในโรงหนังในรอบ 3 ปี

Cloud Atlas (IMDB) คือหนังเรื่องที่ผมพูดถึง คือหนังเรื่องที่ผมบอกได้เต็มปากเต็มคำว่า “Love it or Hate it” เป็นเรื่องที่ผมไม่ได้ยินอะไรกลางๆ เกี่ยวกับมันเลย จะมีแต่บวกสุดโต่ง หรือลบสุดขั้ว ก็เท่านั้น

บทความนี้ จะเป็นสิ่งที่ผมเห็นจากในหนัง ซึ่งเขียนในแบบ “ถอดเทป” ที่ผมตีความทันทีที่ดูจบ ซึ่งผมเสียดายที่ผมจะต้องเขียนมันวันนี้ เพราะผมเชื่อว่า หนังอย่าง Cloud Atlas จะโตตามชีวิตของเราที่เปลี่ยนไป เมื่อผมกลับมาดูมันใหม่ในรอบที่ 2, 3, 4, 5 … ไปเรื่อยๆ จนเป็นรอบที่ 20 ผมก็ยังจะเห็นอะไรใหม่ๆ ที่มันสะท้อนให้เราเห็นในทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัว เช่นเดียวกับ The Matrix, Brazil และหนังอีกหลายเรื่อง และนี่เป็นหนังประเภทเดียว ที่ผมอยากจะดูซ้ำไปซ้ำมา … ไม่ใช่เพราะเราอยากดูหนังหรอกนะ แต่เราอยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราในอีกมุมหนึ่ง ผ่านกระจกสะท้อนภาพที่เรียกว่า “ภาพยนต์”

และนั่นคือสิ่งแรกเลยที่ผมเห็น “ความรู้เป็นเพียงแค่กระจกสะท้อน” สิ่งที่เรารู้ ก็คือสิ่งที่หล่อหลอมจนมันกลายเป็นตัวเรา พูดง่ายๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ผมเคยได้ยินมาว่า “เราคือสิ่งที่เรากิน” ประโยคเด็ดจากนักโภชนาการ แล้วประโยคเดียวกันล่ะ ใช้ได้ไหมกับ “อาหารสมอง”?

แล้วเรารู้จากอะไร? “ตั้งแต่เกิดจนตาย ชีวิตไม่ใช่ของเรา แต่มันถูกนิยามขึ้นมาจากทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวทั้งหมด” (อันนี้เป็นการตีความของผมนะ เพี้ยนจากประโยคในหนังสักนิด เพราะผมได้รับอิทธิพลจากความหมายหนึ่งของคำว่า Ubuntu ที่มีคนเคยตีความให้ผมฟังว่า “เราเป็นเรา เพราะคนอื่น” — เห็นไหมล่ะ เพราะเรารู้ต่างกัน มันก็สะท้อนภาพให้เราเห็นต่างกัน) ทุกสิ่งทุกอย่างทุกความดีความเลว ทุกความถูกความผิด ทุกสิ่งทุกอย่างที่คนสอนเรา ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราคิด ที่เราเรียนรู้ ที่เราถูกปลูกฝังบ่มเพาะขึ้นมา มันเป็นการกำหนดนิยามให้ “ตัวเรา” ขึ้นมาทั้งนั้น

นั่นคือ เวลาเราที่เรามองเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เราจะเห็นอะไรล่ะ นอกจากเงาของตัวเองที่สะท้อนไปบนสิ่งนั้น และเวลาที่เราเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เราจะได้อะไรล่ะ นอกจากสิ่งที่มานิยามตัวเราเองมากยิ่งขึ้น เป็นวัฏจักรไม่มีจุดจบสิ้น

ก็เลยมาถึงประเด็นหนักๆ ของหนังเรื่องนี้กันล่ะครับ นั่นก็คือ “ความรู้” “ความจริง” และ “ความกลัว”

เพื่อให้เห็นความแรงของเรื่องนี้ชัดขึ้น เรามาดูประเด็นรองลงมาก่อน (ซึ่งหลายคนมองเป็นประเด็นหลัก เพราะมันเห็นได้ชัดเจนตลอดเรื่อง) นั่นก็คือ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” หรือที่ในเรื่องบอกตลอดเวลาว่า “มันมีลำดับตามธรรมชาติ สิ่งที่อ่อนแอกว่า ก็จะถูกสิ่งที่แข็งแรงกว่ากินเป็นอาหาร” หรือ ห่วงโซ่อาหาร ความสัมพันธ์แบบ ผู้ล่า-เหยื่อ (Predator-Prey) อะไรทำนองนี้

หนังเรื่องนี้ชี้ให้เห็นแบบชัดเจนมากในเรื่องนี้ … และเป็นการสะท้อนที่แรงมาก เพราะอะไรหรือ ลองสังเกตอะไรบางอย่างดูไหมล่ะครับ

  • เรื่องมนุษย์กินคน ที่เป็น “ผู้ล่า-เหยื่อ” ชัดเจนมาก เรียกว่า เหยื่อจะรู้ตัวเองว่าเป็นเหยื่อ จะกลัวผู้ล่า หนีผู้ล่า และไม่กล้าสู้กับผู้ล่าของมันเด็ดขาด
  • เรื่องการค้าทาส ที่เริ่มเปลี่ยนเป็น Master-Slave มากกว่า “ผู้ล่า-เหยื่อ” นะ และเครื่องมือเริ่มเปลี่ยนจาก “ดาบ มีด กำลัง” มาเป็น “การปลูกฝังความเชื่อ” รวมถึง “ความสบาย” มากขึ้น แต่ก็แน่นอนว่ายังมี “ปืน แส้” เป็นองค์ประกอบด้วย
  • เรื่องนาย-บ่าว ผู้ช่วยทำงานล่ะ ความสัมพันธ์นี้ก็พัฒนาไปอีกขั้น เครื่องมือไม่ใช่กำลังอีกต่อไป แต่กลายเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมยิ่งขึ้น เช่น “สถานะทางสังคม” และ “ชื่อเสียง” แต่แน่นอนว่า “ความรู้” ก็ยังเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน การเป็น Master-Slave มาจากความสมยอมในบริบทสังคม เพื่อสิ่งที่เป็นนามธรรมมากยิ่งขึ้น มากกว่าความจำยอมด้วยลำดับตามธรรมชาติ (ของผู้ล่ากับเหยื่อ)
  • เรื่องต่อมา ยิ่งเป็นนามธรรมมากขึ้น และแรงมากขึ้น ก็คือยุคที่คนส่วนมาก กลายเป็น “เหยื่อ” โดยที่ไม่รู้ตัว จากข้อมูลข่าวสาร จากการผูกขาดการค้า คนส่วนมาก อยู่ในภาวะจำยอมจากผลของปลาตัวใหญ่ๆ ที่เล่นเรื่องผลประโยชน์จากพลังงาน ลองมองรอบตัวเราในปัจจุบันสิ ว่าเราเป็น “เหยื่อ” ของอะไรบ้าง ที่ส่งบิลมาเก็บเงินเราแต่ละเดือน จริงหรือไม่ล่ะ (นึกถึงเรื่อง 3G กับผลประโยชน์ของอะไรไม่รู้ ที่เอาประเทศชาติเป็นตัวประกันบ้างหรือเปล่าไม่รู้)
  • เรื่องสุดท้าย ที่แรงมาก ก็คือ “การสร้างคนขึ้นมาเพื่อเป็นเหยื่อ” และ ​”ปลูกฝังความรู้และความเชื่อ”

เรื่องสุดท้ายสะท้อนแรงจนคงต้องเขียนย่อหน้าใหม่กันเลยทีเดียว … เพราะทุกวันนี้ …​ มันก็เป็นแบบนั้น

“ซอนมี-451” คนที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเหยื่อของระบบที่ใหญ่กว่านั้น ที่ถูกปลูกฝังให้เชื่อว่าการก้าวไปทีละขั้นๆ ในระบบที่ถูกกำหนดไว้ดีแล้วนั้น เป็นเส้นทางสู่อะไรสักอย่าง (การถึงที่หมายละกัน) แต่แท้จริงแล้ว “ที่หมาย” ท่ีว่านี้คืออะไรหรือ ก็คือการเป็น “อาหาร” ให้กับคนอื่นในระบบน่ะแหละ

ภาพซ้อนจากหนังเรื่อง The Matrix ตอนที่ Morpheus ทำให้ Neo ตื่นขึ้นมาเห็น “ไร่พลังงานมนุษย์” โผล่ขึ้นมาในหัวผมเลยทีเดียว และถึงกับขนลุกเมื่อผมเห็นฉากสุดท้ายของระบบนั้น … ผมเดินออกจากโรงหนัง นึกถึงระบบที่มีในบ้านเราหลายต่อหลายระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบอำนาจ ระบบการศึกษา หรือระบบอะไรก็ตาม .. สิ่งที่ผมอ่านจากหนังสือหลายต่อหลายเล่ม ถล่มลงมาในที่เดียวกันหมดเป็นภาพเดียวกันหมดตรงนั้น….

ใช่ครับ เรากำลังอยู่ในระบบแบบนั้นน่ะแหละ เราถูกสร้างขึ้นมาให้เชื่อในระบบและโครงสร้างแบบนั้น โดยที่เราไม่เคยตั้งคำถามอะไรกับมันเลยด้วยซ้ำ ทีละขั้น ทีละขั้น ที่เราถูกใส่ Serial Number ที่สะท้อนกระบวนการผลิต (เช่นรหัสนักศึกษา) ออกมาเพื่อให้เรากลายเป็นอาหารของสิ่งที่ใหญ่กว่าเราอย่างเต็มใจ (เราเดินร้องเพลงอย่างเต็มใจเพื่อไปเข้าโรงเชือดให้เป็นอาหาร)

วิวัฒนาการของกระบวนการอะไรก็ตาม มักจะลงเอยด้วยการ Industrialize หรือการ Mass Produce ตั้งแต่ยุคของการทำการเกษตร ที่มาแทนการเก็บของป่าและการล่าสัตว์ จนมาถึงปัจจุบันที่เราผลิตคน และสร้างคนขึ้นมาตามกระบวนการอะไรบางอย่าง ปลูกฝัง “อาหารสมอง” บ่มเพาะด้วย “ความรู้” และ “ความเชื่อ” อะไรบางอย่าง เพื่อให้คนเหล่านั้นเป็นเหยื่อและเป็นทาสของระบบ ที่ทำให้ระบบนี้มันอยู่ต่อไปได้

และเครื่องมือที่สำคัญที่สุด ที่ใช้มาทุกยุค ก็คือ “ความกลัว”

ความกลัว ถูกสร้างได้หลายรูปแบบจากผู้ที่มีอำนาจ ผู้ที่เป็นผู้ล่า กับเหยื่อของตัวเอง (ครั้งหนึ่งผมเคยเจอกับพระป่าที่ไม่กลัวเสือ และท่านสอนผมว่า “ลูกเอ๋ย มีแต่เหยื่อของเสือเท่านั้นแหละ ที่กลัวเสือ”) ไม่ว่าจะเป็นจากการเขียนหน้าเขียนตาให้น่ากลัว การใช้กำลัง ดาบ ปืน อาวุธต่างๆ จนมาเป็นเครื่องมือที่เป็นนามธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น ชื่อเสียง สถานะทางสังคม ข่าวสาร สื่อ หรือแม้กระทั่งความกลัวที่จะหนีจากชีวิตหนึ่งไปยังอีกชีวิตหนึ่ง ที่อันที่จริงมันอาจเป็นเพียงประตูบานหนึ่งก็ได้ และเมื่อถึงจุดๆ หนึ่งเครื่องมือที่ว่านี้ก็จะวิวัฒนาการเป็น “มโนภาพ” ของ “สิ่งที่ได้รับการปลูกฝังมา” ให้ทุกคน “เหมือนกันหมด” … “ความแตกต่าง คือ ความกลัว”

นี่คือสิ่งที่แรงที่สุดที่ผมเห็นจากหนังเรื่องนี้:

ถ้า “ชีวิตไม่ใช่ของเรา ตั้งแต่เกิดจนตาย เราคือสิ่งที่ถูกกำหนดและนิยามขึ้นมาจากทุกอย่างรอบตัวเรา” แล้ว “เราคืออะไร?” .. เราทุกคนถูกสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นเหยื่อ เป็นอาหาร ให้กับระบบที่เราสร้างขึ้นมาเอง ระบบที่มีปลาใหญ่ ระบบที่มีคนที่เหนือกว่าเรา ระบบที่เราจะอยู่ในภาวะจำยอมกับการที่เป็นแบบนี้ ผ่านความรู้ ความเชื่อ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราถูกปลูกฝังมาตลอดชีวิต ตั้งแต่เกิด จนตาย และเราก็กลัว ที่จะก้าวเท้าออกจากมันแม้แต่เพียงก้าวเดียว

สิ่งเดียวที่จะต่อสู้กับความกลัวได้ ก็คือ “ความจริง” ซึ่งในหนังเรื่องนี้จะเห็นว่าจะมีตัวละครตัวหนึ่ง ที่มีหน้าที่ “รักษาความกลัว” โดยการไม่ให้คนเข้าถึง “ความจริง” อยู่ตลอดเวลา ด้วยวิธีการต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ที่ปลูกฝังกันมาให้เชื่อตามๆ กัน การฆ่านักข่าว … และสุดท้าย “การกำจัดความต่าง”

ทำไมน่ะหรือ … เพราะสุดท้ายแล้ววิวัฒนาการของระบบมันจะพาเราไปหาจุดที่เครื่องมือทุกอย่างเป็นนามธรรม เป็นเพียงภาพลวงตาที่มันจริงในมโนภาพของเราเท่านั้น การที่มี “คนที่แตกต่าง” ขึ้นมาเพียงคนหนึ่ง อาจจะทำให้ระบบที่สร้างไว้ทั้งหมดพังทลาย เพราะการที่ต่างได้ จะเป็นผลโดยตรงกับ “ความเชื่อ” ทั้งหลายที่ถูกปลูกฝังและสะสมมา ดังนั้น “การกำจัดความต่าง”​ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการรักษาระบบ

แล้วเราจะทำอะไรกันล่ะ เมื่อเราอยู่ในระบบแบบนี้ เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรามันเป็นระบบแบบนี้? ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเราเหมือนกับจะเป็น The Matrix เล็กๆ อยู่เต็มไปหมด และมีคนที่เหมือนกับเป็นสาวเสื้อแดง ที่พร้อมจะเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้ปกป้องระบบ เพราะระบบทำให้เขามีตัวตนอยู่ได้เต็มไปหมด

คำตอบมีอยู่เต็มไปหมดในหนังเรื่องนี้คือ ตั้งแต่ Tagline ที่ว่า “Everything is Connected” หรือทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวข้องกันหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อยแค่ไหนก็ตาม ใครจะไปคิด ว่าเรื่องเล็กน้อยที่คนๆ หนึ่งทำ เช่น ละครชีวิตตัวเอง จะกลายมาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการปฏิวัติทางความเชื่อในอนาคตกันไกลโพ้นได้ และการปฏิวัติทางความเชื่อนั้นๆ แม้ว่าจะจบลงด้วย “การกำจัดความต่าง” แต่เมล็ดของความเชื่อใหม่ ก็ถูกส่งกระจายออกไปยังที่ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จนกระทั่งกลายเป็นความเชื่อใหม่ในอนาคตที่ไกลโพ้นออกไปอีก

อนาคตมันเป็นเพียง “ผล” ของทุกสิ่งทุกอย่างที่เราทำ ในลักษณะ Collective ไม่เพียงแค่คนๆ เดียวคนใดคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยแค่ไหนที่เราทำ ทั้งสิ่งดี สิ่งไม่ดี สิ่งที่เราไม่ได้ทำ ทุกสิ่งทุกอย่างที่สะสมมา .. แม้ว่าสิ่งที่เราทำจะเป็น หยดน้ำในมหาสมุทร” แต่ “มหาสมุทรคืออะไรเล่า ถ้าไม่ใช่หยดน้ำมหาศาลรวมกัน”

ไม่มีอะไรที่สูญเปล่าและไม่มีอะไรที่ตาย การกลับมาเกิดใหม่เป็นไปได้เสมอ แม้จะไม่ใช่การกลับมาเกิดใหม่ในแบบที่หลายคนคิด (คนนี้ตายกลับมาเกิดใหม่เป็นคนนั้น) แต่เป็นการกลับมาเกิดใหม่ของ “ความคิด” การกลับมาเกิดใหม่ของ “ความเชื่อ” การกลับมาเกิดใหม่ของ “วิญญาณ” ผ่านการกระทำและสิ่งที่ถูกบันทึกไว้ ได้รับการถ่ายทอดและปลูกฝังลงไปใหม่เป็นเมล็ดความคิดให้กับอีกคนหนึ่ง อีกที่หนึ่ง อีกเวลาหนึ่ง

แต่ว่า … สุดท้ายมันก็นำมาซึ่งระบบอีกระบบหนึ่ง … นั่นเอง

ป.ล. มีคนถามว่าทำไมจึงเป็นชื่อ Cloud Atlas … ตอนแรกที่ผมดู ผมคิดว่ามันคือ “แผนที่ของเมฆ” ที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามกาลเวลา แล้วแต่เราจะตีความว่าเป็นรูปอะไร แต่เมื่อผมดูจบแล้ว ผมรู้สึกว่า “เป็นไปไม่ได้” มันน่าจะมีความหมายอย่างอื่นแน่นอน ก็เลยมาค้น Google ดู … ใช่สิ Atlas คือเทพตามตำนานกรีกที่ถูกสั่งจากคนที่มีอำนาจเหนือกว่า ให้แบกโลกไว้บนบ่า … จะหมายความว่าอย่างไรดีล่ะ … ถ้าสิ่งที่พวกเราต้องแบกไว้บนบ่า คือ มโนภาพที่จับต้องไม่ได้ ทะลุได้ทั้งหมด แต่เมื่อมองไกลๆ มันดูเหมือนมีรูปร่าง มีตัวตน ยิ่งใหญ่ และน่ากลัว (เวลาพายุกำลังตั้งเค้า) … เช่นเดียวกับ “เมฆ” (Cloud)

รู้สึกยังไงกันบ้างล่ะครับกับ “มโนภาพที่ไร้ตัวตน ที่แบกไว้อย่างหนักอึ้งอยู่บนบ่า”? ลองดูใน “วันที่ไม่มีเมฆ” สิครับ ว่า “ฟ้าสวยแค่ไหน” และเรารู้สึกว่า “เป็นอิสระ” แค่ไหน (และนี่คืออีกเรื่องหนึ่งที่มีการเล่นประเด็นในหนังเรื่องนี้ตลอดเวลา)

The Flying Ducthman

ในหนังเรื่อง Pirates of Caribbean มีเรือลำหนึ่งที่ผมชอบมาก ยิ่งกว่า The Black Pearl นั่นคือ The Flying Dutchman ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าผมเคยได้ยินตำนานของเรือลำนี้มาตั้งแต่เด็กๆ

ยอมรับว่าในตอนแรกที่ผมดูเรื่องนี้ ผมไม่ได้คิดอะไรมากเลย กับการออกแบบ The Flying Ducthman และลูกเรือ ออกจะผิดหวังเสียด้วยซ้ำ ที่ออกแบบมาเป็นสัตว์ประหลาดที่ผสมคนกับสัตว์ทะเล มากกว่าที่จะเป็น “เรือผี” แบบ The Black Pearl ในภาคแรก (อาจจะด้วยเหตุผลง่ายๆ ว่าไม่อยากจะออกแบบซ้ำ)

แต่ว่ายิ่งเวลาผ่านไป ผมมีโอกาสดูหนังเรื่องนี้ใหม่ทั้งสามภาคแบบรวดเดียวอีกรอบ และมีโอกาสนั่งคิดอีกครั้ง ด้วยประสบการณ์ชีวิตที่เปลี่ยนไปมาก จากการทำงานบริหารหน่วยงานราชการ (ศูนย์คอมพิวเตอร์ ม.ศิลปากร) มาสองปีเต็มๆ …. ก็เห็นอะไรบางอย่าง ที่ “เฮ้ย เจ๋งว่ะ”

  • ก่อนอื่นขอเล่าว่า ผมมักจะเปรียบเทียบการทำงาน กับการเดินเรือในมหาสมุทรอยู่แล้ว
  • เรือทุกลำที่เดินทางในมหาสมุทร ย่อมต้องมีเป้าหมาย ไม่เช่นนั้นจะหลงทาง เรือหลายลำมีเป้าหมายที่เรียบง่าย เช่น เดินทางจากท่าหนึ่งไปยังอีกท่าหนึ่ง และ Flying Dutchman ก็เช่นเดียวกัน
  • Flying Dutchman เป็นเรือที่ “เคย” มีเป้าหมาย และเป้าหมายที่ว่านั้น คือ การส่งวิญญาณจากภพหนึ่ง ไปยังอีกภพหนึ่ง
  • แต่สิ่งที่เราเห็นในภาพยนต์นั้น Flying Dutchman คือ “องค์กรที่ไร้เป้าหมาย” ซึ่งอาจจะเกิดจากเหตุผลอะไรก็แล้วแต่
  • ทีนี้พอเป็นองค์กรไร้เป้าหมาย ผลเป็นอย่างไร ผลคือ “การเสื่อมสลายขององค์กร” องค์กรที่ไม่ได้รับการดูแล เหลียวแล มีสภาพกลืนไปกับสภาพแวดล้อมอะไรก็ได้ที่มันเป็นอยู่ กลายเป็นแหล่งหา “ผลประโยชน์” ของลูกเรือในองค์กร ที่อ้างองค์กรเพื่อผลประโยชน์ตัวเองและพวกพ้อง กลายเป็นแหล่งพักพิง “ถาวร” ของบรรดาลูกเรือ
  • การล่าผลประโยชน์ในคราบขององค์กรมันช่างน่าสะพรึงกลัวนัก หลายคนอยู่ไปนานๆ เข้า ก็ปรับตัว “ฝัง” เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรที่ไร้เป้าหมาย ล่องลอยอยู่ในทะเลเรื่อยๆ ลืมตัวตนของตัวเอง ลืมว่าตัวเองเคยเป็นใคร ตัวเองเคยอยากทำอะไร ตัวเองต้องการอะไร ตัวเอง ฯลฯ อะไร จนวันหนึ่งความเป็นตัวเองก็สูญสิ้นไป กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการหาผลประโยชน์ในคราบของ “องค์กร” อย่างสนิท
  • อย่างหนึ่งที่ผมโคตรชอบเลยว่ะ ก็คือ Flying Dutchman ไม่สามารถเทียบฝั่งได้ ถ้าโดยทั่วไปแล้ว เรามักเทียบฝั่งเป็นเป้าหมาย และการ “ถึงฝั่ง” คือ การไปถึงเป้าหมาย ก็จะพบว่า องค์กรแบบ Flying Dutchman รวมถึงคนในองค์กร ไม่มีวันนั้นแน่นอน
  • การเปลี่ยนกัปตันเรือ (= การเปลี่ยนผู้บริหาร) อาจจะนำมาซึ่ง “เป้าหมาย” ให้กับองค์กร (เหมือนที่ลูกเรือคนหนึ่งบอกว่า “เรือลำนี้มีเป้าหมายอีกครั้ง”)
  • ซึ่งเมื่อองค์กรมีเป้าหมาย เราอาจจะได้เห็นความเป็นตัวเองของลูกเรือแต่ละคนอีกครั้ง เป็นลูกเรือที่ช่วยกันเพื่อให้องค์กรไปสู่เป้าหมาย (และตัวเองก็ไปถึงเป้าหมายร่วมกับองค์กร) โดยยังคงเป็นตัวเองอย่างชัดเจน ไม่เหมือนกับสมัยที่ยังไร้เป้าหมาย ที่ “เหมือนจะทำงาน” แต่ว่าไปไม่ถึงไหน หาประโยชน์อะไรบางอย่างไปวันๆ
  • แต่ว่าไอ้พวกองค์กรไร้เป้าหมายพวกนี้อ่ะนะ ว่าไป ก็ชอบเป็นมาเฟียน่านน้ำ ใช่มั้ยล่ะ ไม่รู้ว่าจะโผล่มาเมื่อไหร่ เป็นที่หวาดกลัวของบรรดานักเดินเรือที่มีเป้าหมายทั้งหลาย

ตัดกลับมาที่องค์กรของเราๆ ทั้งหลายนะครับ ลองถามเล่นๆ ว่า “องค์กรของเรามีเป้าหมายหรือเปล่า” ไม่ใช่เป้าหมายเชิงผลประโยชน์ หรือว่าการหาผลประโยชน์นะครับ ไอ้พวกนั้นเซ็ตง่าย และถ้าเซ็ตเป็นเป้าหมายหลักเมื่อไหร่ มันก็ไม่ต่างอะไรกับ Flying Ducthman ตั้งแต่ต้น (คือเป็นเรือที่เกิดมาเป็น Flying Dutchman เลย)

หากองค์กรของเรามีเป้าหมายไม่ชัดเจน วัดไม่ได้ว่าไปถึงไหนหรือเปล่า เราสังเกตดีๆ ว่ามันจะเป็นเหมือนกับ Flying Dutchman น่ะแหละ คือเป็นแหล่งรวมคนที่ต้องการประโยชน์ในคราบองค์กร ที่อาศัยองค์กรเป็นแหล่งฝังตัวอย่างเหนียวแน่น สับสนระหว่างผลประโยชน์ตัวเอง พวกตัวเอง และผลประโยชน์ขององค์กร ฯลฯ

อย่างหนึ่งที่ต้องระวัง ในองค์กรหลายองค์กร มีการพูดถึง “หน้าที่” ก่อน “เป้าหมาย” ซึ่งผมบอกได้เลยว่า “งี่เง่า” ครับ บนเรือ Flying Dutchman มีลูกเรือทำหน้าที่ต่างๆ มากมาย แต่พาองค์กรไปไหนกัน? เพราะว่า Flying Dutchman ในฐานะขององค์กรมันไม่ได้มีเป้าหมายอะไร (ใน timeline ของหนัง) พูดอีกแบบคือ มันกลายเป็นเครื่องมือในการทำอะไรก็ไม่รู้ของใครบางคน (หรือของกลุ่มบุคคล) ผิดวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ตั้งมาตั้งแต่ต้น

ในองค์กรที่มีแต่ “หน้าที่” แต่ไม่มี “เป้าหมาย” ความอันตรายของมันก็คือ ทุกคนจะคิดว่าตัวเองกำลัง “ทำงาน” แต่ว่ามันอาจจะ pointless ไม่ได้พาอะไรไปไหนเลย ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย นอกจากภาพลวงตาว่าตัวเองกำลัง “ทำงาน” อย่างหนักหนา ตาม “หน้าที่” ที่ได้กำหนดไว้แล้ว

ที่น่ากลัวคือ หลายองค์กรมี “หน้าที่” แต่กลับไม่มี “เป้าหมาย” จริงจัง มีเพียง “เป้าหมาย” ที่ลอยไปลอยมา เอาไว้พูดติดปากให้เท่ๆ เก๋ไก๋ เวลามีใครถามเท่านั้นเอง .. ก็มักจะลงเอยด้วยการอ้าง “หน้าที่” นั้นแหละ มาทำลายความเจริญหรือความคืบหน้าอันควรจะเป็น “เป้าหมาย” ขององค์กรตามที่มันถูกตั้งมาแต่ต้น อย่างแน่เสียดาย

update 1 : มีอะไรเพิ่มเติมนิดหน่อย … สังเกตมั้ยว่ากัปตันเรือจะต้องเริ่มด้วย “ให้หัวใจกับเรือ” … ครับ ถ้าไม่สามารถให้ “ใจ” กับองค์กรได้แล้ว อย่าริไปเป็นกัปตันเรือลำไหนเด็ดขาด มีเวิร์กหรอก

Tron Legacy

เพิ่งออกจากโรงหนังหมาดๆ เลย กับเรื่องที่หลายคนรอมานาน และผมกะว่าจะดัดนิสัยตัวเอง ให้กลับมาเป็น “พอดูหนังจบ ก็ blog ทันที” อีกครั้ง เหมือนที่เคยเป็นมาในอดีต ก็เลยเขียนซะหน่อย

เรื่อง Tron ภาคแรก เป็นหนังที่ผมชอบมากที่สุดเรื่องหนึ่ง ซึ่งผมดูเรื่องนี้มานานพอดูแล้ว (ประมาณ 10 ปี) แต่ว่าผมไม่ได้คาดหวังอะไรมากมายนักกับภาคนี้ ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง เช่น

  1. ผมยังไม่เคยชอบหนังแนว Remake หรือว่าภาคต่อ ที่ขาดหายไปจากภาคก่อนๆ นานสักเรื่อง (Star Wars ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ผมเคยเขียน Review EP1 ไว้แบบเสียหายมากมาย แต่ว่า EP2, EP3 นี่ผมถือว่ามันเป็นภาคต่อจาก EP1 นะ)
  2. Plot เรื่อง ที่ต่อให้วางต่อจากภาคเก่ายังไง ก็เดากันได้หมด ยิ่งดู Trailer ด้วยแล้ว ยิ่งเดาได้ไม่ยากเลย ไม่พ้นพวก Artificial Life แหงๆ … ยิ่งถ้าเคยดู The Matrix, 13th Floor ด้วยแล้วนี่ ยิ่งเดาโคตรไม่ยาก ว่ามันไม่มีอะไรแหวกแนวไปจากนี้แน่นอน
  3. จุดขายอย่างหนึ่งของภาคเก่า คือ Visual ทั้งหลายแหล่ แต่ว่าภาคนี้จะทำให้มัน Revolution ขนาดภาคเก่า เทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ ในตลาดหรืออุตสาหกรรมตอนนี้ บอกได้เลยว่า “ยากส์”
  4. เพืิ่อนสนิทมิตรสหาย คอเดียวกันทั้งหลาย ไม่ค่อยจะชอบเท่าไหร่

แต่ว่าผมกลับเดินออกจากโรงหนังด้วยความรู้สึก “ผมชอบมันว่ะ” ทำไมน่ะเหรอ

อาจจะเป็นเพราะผมโตขึ้น (แก่ขึ้น) มั้ง เลยเห็นอะไรต่างๆ ไปเยอะ ยิ่งมีความคาดหวังแบบ 4 ข้อด้านบนด้วยแล้ว ยิ่งไม่ได้คิดจะดูเพื่ออรรถรสแบบดูหนัง คือ ดู Visual ดูเนื้อเรื่องให้สนุกตื่นเต้น/อินไปกับเนื้อเรื่อง/รอเซอร์ไพรส์แบบหักหลังคนดู/ฯลฯ ดูการแสดง อะไรพวกนี้ แต่ว่าผมเข้าไปดูเพื่อหา “Hidden Message” หรือว่าข้อความซ่อนเร้นต่างๆ ที่ผมสามารถตีความได้ (โดยผู้สร้างหนังจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม) จะสังเกตว่าพักหลังๆ ผมรีวิวหนังออกแนวตีความเยอะมาก ตั้งแต่ Spider Man, X-Men แล้ว (ที่ยังไม่ได้เขียน แต่เล่าให้น้องๆ ที่ทำงานด้วยฟัง มีอีกเยอะ) ที่ไปออก MCOT.NET เรื่อง Avatar ก็เช่นกัน

แล้วเรื่องนี้มันเป็นยังไง? … เอาเป็นข้อๆ เลยละกันนะ อ่านง่ายดี มีไม่เยอะหรอก แต่ “แรง” … และสำหรับคนที่ยังไม่ได้ดู อาจจะมี Spoiler นะ แต่ไม่ตั้งใจจะ Spoil หรอก ถ้ากลัวก็หยุดอ่านมันซะตรงนี้ละกัน

  • ในภาพใหญ่ที่สุด นี่เป็นเรื่องของ Digital World และ Physical World โดยสิ่งที่อยู่ในโลก Digital นั้น เป็น “โปรแกรม” ทั้งหมด
  • เราต้อง “โหลด” ตัวเองเข้าสู่โลก Digital … แล้วเราโหลดอะไร? เราโหลด Data ของเรา ความทรงจำของเรา เรื่องราวต่างๆ ของเรา เข้าไปในโลก Digital เรื่องนี้สังเกตได้จาก Symbol หลักของเรื่องเลย ว่าเมื่อพระเอก (Sam) เข้าไปในโลก Digital แล้ว สิ่งแรกที่โดนทำก็คือ สวมชุดที่เป็น Data Suit และมี Disk เก็บความทรงจำอยู่ นั่นคือ ตัวตนของเราในโลก Digital ก็คือ Data และความทรงจำของเรา ที่เราโหลดมันขึ้นไปน่ะแหละ (นึกถึงพวก Facebook, Hi5 อะไรพวกนี้แล้วจะนึกออก)
  • พวกเราหลายต่อหลายคน ยินดี “หันหลัง” ให้กับชีวิตของพวกเราเอง และเลือกที่จะ “หมกมุ่น” อยู่กับโลก Digital ที่เราสร้างมันขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น Social Network หรือว่ากลุ่มเพื่อน หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ เราคิดเราฝัน ว่านี่คือโลกที่เราฝันใฝ่ และจะสร้างมันให้เป็นแบบนั้นแบบนี้
  • แต่ว่าหลายครั้งเราก็ลืมไปว่า ชีวิตของเราจริงๆ มันอยู่ข้างนอก เราอาจกลายเป็นคนอื่นสำหรับคนใกล้ตัวเรา
  • และนั่นคือสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อ “ตัวตน Digital” (ในเรื่องคือ Clu) มีอิทธิพลเหนือชีวิตเรา กลายมาเป็นตัวเราแทนเรา และทำให้เราไม่สามารถกลับออกมาได้อีก .. สิ่งที่เราสร้างขึ้นมา กลายเป็นศัตรูกับชีวิตจริงของเราไปซะงั้น
  • น่าคิด ว่าการที่ Clu เป็นตัวการในการดึง Sam (หรือคนอื่นที่ได้รับเพจ) ให้เข้ามาในโลก Digital ก็เหมือนกับเวลาที่ตัวตนในโลก Digital ของเรา มีอิทธิพลเหนือเราเมื่อไหร่ เราก็มักจะชวนเพื่อนคนโน้นคนนี้ เข้ามาในโลกเดียวกับเราด้วย … เช่น ติด Twitter ก็ชวนคนอื่นมามี Twitter ด้วยกันหมด .. ไปๆ มาๆ ขนาดนั่งอยู่ใกล้ๆ กันแท้ๆ แทนที่จะคุยกัน ดัน Tweet, WhatsApp, อะไรก็ช่าง คุยกัน
  • น่าสนใจ ที่กุญแจที่ใช้ในการออกจากโลก Digital ก็คือ Disk ที่เก็บความจำนั่นเอง … ใช่สิ ลองนึกถึงว่า มันมีอะไรบ้าง ที่เราใส่เข้าไปในโลกออนไลน์ไม่ได้ เรามีความทรงจำ มีสังคม มีอะไรนอกโลกออนไลน์บ้างมั้ย …. สิ่งเหล่านี้แหละ คือสิ่งที่จะทำให้เราออกมาจากโลก Digital ที่เราสร้างขึ้นได้(บ้าง)
  • แล้วทำไม Clu ต้องการออกมาข้างนอก? บางคนตัวตนในโลก Digital ดีจัดมั้ง ก็เลยอยากจะให้ตัวตนแบบนั้นของตัวเอง พร้อมทั้ง “กองทัพ” (ถ้าภาษา Twitter คงเรียกว่า “Followers” หรือว่าภาษาแขวะกัน ก็ “สาวก”) ที่ตัวเองสร้างขึ้น ออกมาในโลกความเป็นจริงด้วย
  • หลายคนนะ ที่เป็นเซเลปในโลก Digital แต่ว่าเป็น Looser ในโลกความเป็นจริงนอกสังคมออนไลน์ ลองดูสิว่า Kevin Flynn และ Clu คือใคร รอบๆ ตัวเรา ซึ่งถ้า Clu พร้อมกองทัพของเขาออกมาได้ นี่จาก Looser จะกลายเป็นเซเลปจริงๆ ได้เลยนะ
  • วิธีสร้างกองทัพก็ไม่ยาก แค่ Re-program ใหม่เท่านั้นเอง ซึ่งถ้าเราทำอะไรกับตัวตนในโลก Digital ได้ มันจะส่งผลถึงตัวตนในโลกความเป็นจริงด้วยน่ะสิ (ดูสิ ถ้าเราก่อดราม่าสร้างเรื่องด่าใครที่แรงพอจะเป็นกระแส ตัวจริงเค้ากระเทือนมั้ย หรือว่าถ้าเราสร้างภาพในโลกออนไลน์พอ พวกสาวกก็มองเราดี โดยไม่สนใจตัวจริงเรา ใช่มั้ย)
  • (ขำๆ นะ) แต่ว่าตัวตนในโลก Digital ของเรานี่ เราจะหยุดอายุเอาไว้ที่เมื่อไหร่ก็ได้นะ (เช่น คน 35 จะบอกว่า 18 ก็ย่อมได้) ฮ่าๆ
  • (ขำๆ ต่อ) เรื่องดีๆ จากเรื่องนี้ก็มีเหมือนกันนะ คือ พระเอก (Sam) พบรักในโลก Digital นะ แถมลากออกมาเป็นคู่ในชีวิตจริงได้ซะด้วย .. จริงๆ ก็มีหลายคู่นะ ที่พบรักกันในโลกออนไลน์ แต่ว่าคีย์มันคือ “ต้องออกมาสู่โลกจริง”
  • เรื่องนี้เอาไป Mix กับข้อความแรงๆ จาก Avatar และ Inception แล้วสยองพิลึก เพราะว่าสองเรื่องนั้นข้อความแรงๆ ของมันคือ “เราจะเลือกโลกจริงจากสิ่งที่เราคิดว่าจริง” ซึ่งไอ้ความ “จริง” นั้นนิยามง่ายๆ คือ มันให้เราได้อย่างที่เราต้องการ .. ถ้าในโลก Digital นั้น เราได้เป็นสิ่งที่เราอยากจะเป็นมากกว่า (เช่นเป็นจุดสนใจ) เราก็จะเลือกว่ามัน “จริง” ไปโดยปริยาย .. นั่นคือ Clu ของเราก็จะแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยปริยาย
  • (ต่อ) ดังนั้น อย่าทำร้ายคนในโลกความเป็นจริง จนเค้าต้องหนีไปพึ่งโลกออนไลน์หรือโลก Digital มากขึ้นๆ จะดีที่สุด
  • ฉากจบ เป็นอะไรที่สะเทือนใจผมมากเอาเรื่อง (ทั้งๆ ที่หลายคนอาจจะคิดว่ามันไม่มีอะไรเลย) เมื่อ Sam ได้ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนโลกความเป็นจริงด้วยกำลังที่เขาทำได้ (ขึ้นมาจัดการ ENCOM) ไม่ใช่แค่ใช้ความสามารถป่วน ด่า แขวะ ชาวบ้านชาวช่องไปเรื่อยๆ (ป่วนการออก OS ใหม่ พร้อมข้อความเสียดสี ฯลฯ) ทั้งๆ ที่ตัวเองก็มีกำลัง (เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่) …. นี่แหละคือสิ่งที่ผมอยากเห็นในบ้านเมืองเรา คือ การลุกขึ้นมาเปลี่ยนโลกความเป็นจริง แค่ในขอบเขตที่เราเปลี่ยนมันได้ และไม่ต้องไปป่วนสิ่งที่คนอื่นทำ “ถ้าเราไม่ชอบมัน ก็เข้ามาทำเอง ไม่ใช่ด่าและหวังว่าคนอื่นจะทำอย่างใจเรา”
  • (นอกเรื่อง) อีกอย่าง หนังเรื่องนี้ทำให้ผมคิดถึงสมัยทำวิจัยเรื่อง Artificilal Life (Cellular Automata, Artificial Evolution, AVIDA ฯลฯ) สมัยเรียนที่ญี่ปุ่นมากๆ …..

ผมดูเรื่องนี้จบ แล้วรู้สึกอยากจะเลิกเล่น Social Network ทุกอย่างที่เล่นอยู่ตอนนี้ไปเลยทีเดียว หรืออย่างน้อยๆ ก็ต้องไม่อยู่ในอิทธิพลของมันขนาดนี้ จากที่เราคิดตอนแรกๆ แค่ “เอาไว้เป็นช่องทางในการติดต่อ” แต่ว่าไปๆ มาๆ มันกลับกลายเป็นตัวตนของเรามากขึ้นๆ เรื่อยๆ

มองรอบๆ ตัว เวลาไปไหนมาไหน ผมเห็นแต่คนหยิบมือถือขึ้นมาแชท ขึ้นมาทวีต ขึ้นมาเฟสบุ๊ค … ราวกับถูกโหลดเข้าไปอยู่ในโลก Digital แล้ว ไม่สนใจคนรอบๆ ตัว ในโลก Physical เท่าไหร่ (นึกถึงโฆษณาของ Dtac ขึ้นมาตะหงิดๆ) …….

ผมคงต้อง “ถอยจากตรงนี้สักก้าวหนึ่ง” เสียที

โดยรวมแล้ว ถ้าดูเป็นหนังก็คงไม่มีอะไรมาก เดาเรื่องทั้งหมดได้ตั้งแต่ต้นจนจบ การแสดงงั้นๆ กราฟิกส์ก็ไม่ได้อลังการขนาดจะ Revolution อะไร ที่ดีหน่อยคงจะเป็น OST (กดซื้อจาก iTunes Store ไปเรียบร้อย) ที่ชอบอยู่บ้างก็ไอ้พวก Visual ที่มัน Nostalgia ทั้งหลาย เช่นเพลง 8-bit ภาพโบราณๆ ฯลฯ แต่ว่าถ้าเอาสิ่งที่คิดได้จากการได้ดูเข้ามาประกอบด้วย ผมต้องบอกว่า

“ผมชอบเรื่องนี้ว่ะ”

หมายเหตุ ระหว่างเขียนเหมือนๆ จะมีอะไรอีกสักอย่างในหัว … แต่ว่านึกไม่ออกแล้ว ถ้านึกออกจะอัพเดทมันอีกที

อัพเดท #1: นึกออกล่ะ …ฉากที่ Sam พยายามอธิบายเรื่องพระอาทิตย์ขึ้น….

มันมีหลายเรื่องแค่ไหนนะ ที่เรา take for a grant มากๆ จากความเคยชินทั้งหลายที่เรามีอยู่ ทั้งที่มันเป็นเรื่องสุดวิเศษและน่ามหัศจรรย์ กะอีแค่สิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกวี่ทุกวัน จนเหมือนไม่มีอะไรพิเศษ เช่น พระอาทิตย์ขึ้น แสงตอนพลบค่ำ ดาวตก ทะเลหมอก ฯลฯ …. เราจะอธิบายพวกนี้ให้ “คอมพิวเตอร์โปรแกรม” ที่ต้องการเหตุต้องการผล ทำอะไรตามกฏตามเกณฑ์ เถรตรง รู้เรื่องได้อย่างไร

ถอยออกมาสักนิด อย่าพยายาม “สร้าง” อะไรมากมายจนเกินไป จนลืมที่จะเรียนรู้ที่จะเห็น ที่จะยินดี ชื่นชม และมีความสุขกับสิ่งต่างๆ ที่เป็นอยู่รอบๆ ตัวเรา

ผมเชื่อว่าโดยพื้นฐานแล้ว จักรวาลและธรรมชาติมันเป็นคอมพิวเตอร์นะ (ลองศึกษาพวก quantum computation ก็ได้นะ) ดังนั้นโลก Digital ก็เหมือนกับเรากำลังทำตัวเป็นพระเจ้า สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาเองอีกที (computation theory อนุญาตให้มี universal turing machine (UTM) ใน UTM ได้) …. อย่าหมกมุ่น หลงไหลกับสิ่งเหล่านี้มากไป จนลืมดูสิ่งที่พระเจ้าได้ให้กับเราไว้แล้วซะล่ะ

ตีความ “หนัง” สะท้อนชีวิตจริง

มา note ไว้ก่อน ว่าจะเขียนบทความยาวๆ เกี่ยวกับการตีความภาพยนต์ ในเชิงสัญลักษณ์และกระจกสะท้อนความเป็นจริงกี่เรื่อง ที่คิดว่าจะทำให้เสร็จก่อนสิ้นปี (หวังว่าจะทำได้นะ เพราะว่าหลายเรื่องก็คิดๆ มานานแล้ว ร่างๆ ไว้แล้ว)

ว่ากันเป็นเรื่องๆ ไป

  1. “Brazil” เรื่อง Management by number (รวมถึงการตัดสินใจ), KPI & QA, ข้อมูลและความเป็นจริง
  2. “Fight Club” เรื่องการเป็น Entrepreneur การตั้ง startups การเป็นตัวของตัวเอง
  3. “Pirates of Caribbean” โดยเฉพาะการตีความเรือ “Flying Dutchman” กับองค์กรที่ไร้เป้าหมาย
  4. “Inception” ความเป็นจริง สุดท้ายแล้วคือสิ่งที่เราเลือกจะคิดว่าจริง

ถ้ามีเวลาทำนะ …. จริงๆ อยากจะเขียนมันรวมเล่มเป็นหนังสือสักเล่มไปเลย ให้มันละเอียดกว่าบน blog แต่ว่าหาเวลาเขียน blog และเขียนหนังสือ iOS development ที่กำลังเขียนอยู่ให้เสร็จก่อน

Review: X-Men Triology

ก่อนที่จะเขียนรีวิว X-Men Origins: Wolverine ขอเอารีวิวของไตรภาคแรกของ X-Men มาโพสท์ใหม่นะครับ ซึ่งจริงๆ เป็นรีวิวที่เขียนไว้นานแล้ว และโพสท์ไว้นานแล้ว ใน Blog ในเว็บไซต์ที่ภาควิชา ซึ่งไม่ได้อัพเดทมานานมากแล้ว (และปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นเว็บที่ตายไปแล้วด้วยซ้ำไป)

รีวิวนี้ถูกโพสท์ไว้ที่ http://www.cp.su.ac.th/~rawitat/weblog/files/x_men.html เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2006 ซึ่งนานโขแล้ว … เอาเป็นว่าผมขอเอามาโพสท์ไว้อีกครั้งที่นี่ โดยไม่แก้ไขเนื้อความใดๆ ทั้งสิ้น ก็แล้วกันนะครับ

***อาจจะ spoil นะ ใจไม่ด้านพออย่าอ่านต่อ อย่าหาว่าไม่เตือนด้วย***

ไม่ได้เขียน review หรือว่าวิเคราะห์วิจารณ์หนังนานแล้ว แต่ว่าเรื่องนี้อดไม่ได้จริงๆ เพราะว่ามันตีความสวยๆ ได้เยอะเลย ตั้งแต่เริ่มภาคแรกน่ะแหละ อีกอย่าง บอกไว้ก่อนว่าผมไม่ได้สนใจความ “เหมือน” ในเนื้อเรื่องระหว่างหนังกับการ์ตูน หรือว่าการเพิ่ม/ลด/เปลี่ยนบทบาทตัวละครบางตัวนะ

ผมอยากจะมองในแง่การตีความเชิงปรัชญากับชีวิตมากกว่า

ผมอยากจะมองแค่ว่า ถ้าบรรดา X-Men หรือว่าพวกมนุษย์กลายพันธุ์ เป็นคนธรรมดาที่แตกต่างไปจากคนทั่วๆ ไป คนที่ไม่ใช่ mainstream คนที่คิดแตกต่าง ทำแตกต่าง มีแนวคิดและความสามารถที่แตกต่างออกไปจากคนทั่วไปล่ะ …. สิ่งที่คนพวกนี้พบจากสังคมก็มักจะเป็นสิ่งเดียวกันน่ะแหละ คือ ความกลัว ที่มักจะแฝงอยู่ในรูปของความโน่นความนี่

หลายคนอาจจะมองคนที่แตกต่างเหล่านี้ ว่าเป็นผู้มีปัญหาทางจิต มีปัญหาในการเข้าสังคม มีปัญหาเพราะว่าไม่เหมือนคนหมู่มาก ฯลฯ และพยายามแก้ ด้วยการบังคับ (โดยการใช้กฏของสังคม) ให้พวกที่แตกต่างเหล่านี้เป็นไปตามคนหมู่มาก อ้างโน่นอ้างนี่ และสุดท้ายก็อ้างประชาธิปไตย (เหมือนในหนัง X-3 น่ะแหละ ที่มีการเอาตรงนี้มาแดกดันเล่นด้วย) …. แต่ว่าคนทั่วไปมันเข้าใจประชาธิปไตยซะที่ไหนเล่า ว่ามันต่างจากพวกมากลากไปตรงไหน

ผมมองว่าบรรดามนุษย์กลายพันธุ์ทั้งหลายนี่ เป็น exaggerated version ของคนธรรมดาๆ ที่มีความสามารถพิเศษอะไรบางอย่างน่ะแหละ ลองแทนความสามารถทางร่างกายด้วยคำว่า จิตใจ สิ เช่น คนที่มีใจแบบความสามารถของ Wolverine ก็เป็นพวกใจแข็งเป็นเหล็ก กล้าหักกล้าทะลวงกล้าแหก รักษาอาการบาดเจ็บทางจิตใจ (อาการท้อแท้ ฯลฯ) ได้เร็ว .. คนที่มีใจแบบ Iceman ก็เป็นพวกที่ทำให้ทุกคนใจเย็นลงได้ หรือว่าเย็นใจได้เมื่ออยู่ใกล้ๆ ผมว่าจริงๆ ลองแปลๆ ตีความเล่นๆ แบบนี้ก็เข้าท่าดีเหมือนกัน

ที่ผมชอบที่สุด (แต่ว่าหลายคนอาจจะไม่ชอบไปด้วย) ในเรื่อง X-3 ก็คือ Angel ที่หลายคนบอกว่า ไม่เห็นมีบทอะไรเลย ออกมาเท่ห์แค่ไม่กี่ฉาก พลังพิเศษอะไรก็ไม่มี นอกจากบินได้

แต่ว่า Angel เป็นสัญลักษณ์ของคำว่า อิสรภาพ ซึ่งอาจหมายถึงคนที่มีใจรักอิสะเสรีด้วย คนธรรมดาๆ คนหนึ่งที่ไม่มีอะไรพิเศษนี่แหละ คนพวกนี้เป็นคนที่น่าสงสารที่สุดในสังคมที่พวกเราๆ สร้างมันขึ้นมา ผมเชื่อว่า คนเราทุกคน เกิดมาพร้อมกับสิ่งๆ หนึ่งที่ถูกเด็ดทิ้งไปโดยระบบโลกที่พวกเราสร้างมันขึ้นมาเอง … นั่นก็คือ ปีกแห่งเสรีภาพ (Wings of Freedom)

ใน X-3 ภาพของ Angel จะเป็นการโบยบินบนท้องฟ้า ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมา เราใช้แทนสัญลักษณ์ของการมีอิสรภาพ และ Angel ก็คือคนที่จะถูก รักษา เป็นคนแรกของเรื่อง นั่นก็คือ การเด็ดปีก หรือทำลายเสรีภาพทิ้งนั่นเอง

คนที่มีลักษณะพิเศษหลายอย่าง ที่ถูกระบบของโลกเรา อ้างความเป็นคนหมู่มาก อ้างความเหมือนความเท่าเทียม ไม่ให้ความสำคัญหรือแม้แต่ยอมรับความต่าง … ทำลายลงไป … คนที่บทจะดีก็ดีใจหาย บทจะร้ายก็ร้ายน่ากลัว มีพลังมหาศาลที่สามารถเอาไปใช้สร้างสรรค์ทุกอย่างได้ หรือว่าจะทำลายอะไรก็ได้ อย่าง Phoenix … ก็มีหลายคนในความเป็นจริง แต่ว่าน่าเสียดายที่คนพวกนี้หลายคนต้องจบชีวิตตัวเอง หรือไม่ก็ดำเนินชีวิตไปในทางเลวร้ายทำลายล้าง เพราะว่าเมื่อทำดี หรือพยายามทำดี แล้วต้องอยู่ภายใต้กรอบมากไป เหมือนกับถูกกักขัง และไม่ได้รับการยอมรับในความสามารถตัวเองอย่างแท้จริง .. หรือว่าคนที่เป็นอย่างมนุษย์กลายคนพันธุ์คนอื่นๆ

ผมไม่ค่อยเชื่อหรอก ที่มีคนบอกว่า ความต้องการพื้นฐานทางจิตใจของคนเรา คือ ความรัก ผมว่ามันคือ การยอมรับ ในทางที่ตัวเองเป็น และการยอมรับและยินดี ในสิ่งที่ตัวเองทำ จากความปรารถนาและเจตนาที่ดีอย่างจริงใจ ต่างหากล่ะ

อยากจะ quote อะไรบางอย่างจากหนังแฮะ แต่ว่าไม่รู้จะ quote อะไรดี ก็เอานี่ละกัน

“Do we look like we need your help (cure)?”

และพบกันในรีวิว X-Men Origins: Wolverine เร็วๆ นี้ครับ …. (ไม่ได้เขียนรีวิวหนังมานานมาก สนิมเกาะหมดแล้ว)

Three Kingdoms: Resurrection of the Dragon

ไม่ได้เขียนรีวิวหนังซะนานมากเลย จริงๆ ยังมีเรื่องที่ดูไปแล้วและอยู่ในคิวจะเขียนอีกเยอะ โดยเฉพาะ Batman: The Dark Knight แต่ว่าเรื่องนั้นขอดูอีกสักเที่ยวสองเที่ยวก่อน เพราะว่ามีข้อคิดเยอะมากๆ แต่ว่าเอาเรื่องนี้ก่อนละกัน เพราะว่าท่าทางจะสั้นที่สุด และคงไม่จำเป็นต้องดูเที่ยวที่สอง

จริงๆ เป็นหนังที่อยากจะดูตั้งแต่อยู่ในโรงหนังแล้ว แต่ไม่มีโอกาสไปดู เผลอๆ จะอยากดูเรื่องนี้มากกว่า Red Cliff ซะอีก เพราะว่าบ้าสามก๊กอยู่เป็นทุนเดิมด้วย และมีเรื่องสามก๊กนี่ตัวละครที่ผมชอบที่สุด ชอบเสียยิ่งกว่าชอบ คือ “จูล่ง” (Zhao Yun) ยิ่งอ่านหนังสือ “จูล่ง สุภาพบุรุษจากเสียงสาน” จากสามก๊กฉบับวณิพกของยาขอบแล้วยิ่งชอบมากเข้าไปอีก

ดังนั้นหนังที่เอาจูล่งมาเป็นพระเอก และเอาพระเอกฮ่องกงที่ผมชอบที่สุดคนหนึ่ง คือ หลิวเต๋อหัว มารับบทนี้ด้วยแล้ว ยิ่งอยากดูเข้าไปใหญ่

ดูแล้วรู้สึกยังไงบ้าง เอาล่ะ ไม่พูดพร่ามมากล่ะครับ เอาไปเป็นข้อๆ เลย

  • การเลือกตัวละครมารับบทต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกันอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นกวนอู เตียวหุย เล่าปี่ ขงเบ้ง ม้าเฉียว ทำได้ดีมากพอสมควร การออกแบบอาวุธก็สวยดี อลังการดี (โดยเฉพาะง้าวของกวนอู กับทวนของจูล่ง) เสียดายไม่ได้เห็นยอดกระบี่ในตำนาน “กระบี่ชิงกัง” (ฟันเหล็กเหมือนฟันหยวก) ชัดๆ

    ตรงนี้มีที่คลาดเคลื่อนหน่อยนึง ในหนังให้จูล่งชิงกระบี่มาจากโจโฉ แต่ว่าจริงๆ แล้วเป็นการชิงมาจากแฮหัวเอี๋ยน

  • แปลกใจเล็กน้อยที่เห็น Maggie Q มารับบทเป็น Cao Yin ซึ่งในหนังให้เป็นหลานสาวโจโฉ เพราะว่าตามประวัติศาสตร์และเรื่องสามก๊กจริงๆ แล้ว Cao Yin นี่ถ้าผมจำไม่ผิดจะเป็นเจ้าชายน้อย ซึ่งตายตอนอายุได้ 1 ปีเท่านั้น คนที่ชื่อใกล้เคียงที่สุดคือ “โจหยิน” (Cao Ren) ซึ่งเป็นคนแซ่เดียวกับโจโฉ และเสียชีวิตก่อนสงครามครั้งนั้นของจูล่งแน่ๆ (223 AD)

    เพราะความใกล้เคียงกันของชื่อ … ทำให้หนังสือพรีวิวหนังหลายเล่มบอกว่า Maggie Q รับบทเป็น “โจหยิน” ซึ่งผิดนะครับผม

    ดังนั้นตัวละครของ Maggie Q นี้จึงเป็น Fictional character แน่ๆ ครับผม และคงจะมีเข้ามาเพื่อสร้างโทนของหนังด้วย ไม่งั้นคงจะมีแต่ผู้ชาย รบราฆ่าฟัน ขิงไหวชิงพริบ แค่นั้น และเรื่องนี้ Maggie Q เด่นมากทีเดียว ยิ่งตอนเล่นดนตรีกำกับการรบนะ สุดยอดมากๆ ไม่เคยเห็นเลย dramatic ดี

  • ฉาก Action โดยเฉพาะ 1-on-1 ทำได้ดีและไม่เวอร์เกินจริง แบบหนังกำลังภายใน (ตอนแรกกลัวว่าจะออกมาเป็นแบบนั้นมากๆ)
  • หนังเรื่องนี้เอา character ของจูล่งออกมาได้ดีมากพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความกล้าหาญ ความถ่อมตัว ความเยือกเย็น ความสุขุม ไหวพริบ ความน่าเกรงขามทั้งในและนอกสนามรบ และอื่นๆ และที่ขาดไม่ได้เลย นั่นก็คือเรื่องของฝีไม้ลายมือในการรบ ซึ่งแสดงให้เห็นตั้งแต่ต้นเรื่องว่าขนาดกวนอู และเตียวหุยสองคนช่วยกันรุม ยังได้เพียงแค่สูสีเท่านั้น ไม่พอ ยังปราบนายพลของวุ่ย 4 คนรุมกันได้อย่างง่ายๆ อีกด้วย ต้องเล่นลอบกัดสถานเดียว
  • อ่านพรีวิวตอนแรก เห็นว่าหนังเน้นไปที่เรื่องของจูล่งในวัยชรา ไม่คิดว่าจะได้ดูจูล่งตอน “จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า” ซึ่งเป็นตอนที่เด่นมาก ถึงกับเป็นหนึ่งในสองตอนที่อยู่ในหนังสือเรียนของประเทศไทยด้วย โดยคัดมาจากฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) (อีกตอนคือ ยุทธการณ์ผาแดง — เดี๋ยวผมไปหาดูแล้วจะมารีวิวนะ) ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็ทำได้ดีพอสมควร
  • เสียดายไม่ได้ดูตัวละครอื่นๆ เลย แต่ว่าไม่เป็นไร เพราะว่าเห็นใจคนทำและคนเขียนบทมากๆ เพราะว่าประวัติศาสตร์จริงมันตั้งกี่ปี ตัวละครที่ซับซ้อนมากๆ ตั้งกี่ตัว (ฉบับงิ้วของหลอกว้านจงใส่สีใส่ไข่ใส่ความซับซ้อนเข้าไปอีกเท่าไหร่ — ไม่นับการบิดเบือนประวัติศาสตร์และความพยายามอย่างแสนสาหัสที่จะทำให้ก๊กเล่าปี่เป็นพระเอก และโจโฉเป็นผู้ร้าย แต่นั่นนอกประเด็นของการรีวิวนี้) เอามาย่อได้ขนาดนี้ และให้จูล่งมีมิติได้แค่นี้ ผมก็ว่าเก่งแล้ว (ถึงมิติที่ว่านี่จะยังแบนๆ ราบๆ อยู่ก็เถอะ)
  • อีกอย่างหนึ่งที่แสดงออกมาให้เห็นได้อย่างดีในหนัง ก็คือ ความสามารถของขุนพล ขุนพลรุ่นหลังของจ๊กก๊ก ที่ไม่สามารถจะเทียบกับขุนพลรุ่นก่อนได้ (ซึ่งอันนี้ตอนที่ผมอ่านเรื่องสามก๊ก ไม่ว่าจะฉบับไหน ก็รู้สึกแบบนั้น)
  • อีกอย่างหนึ่งก็เรื่องของขงเบ้ง ที่ชอบวางแผนลึกลับ เขียนแผนใส่ถุงไถ้ไว้ให้ไปเปิดอ่านตามที่ต่างๆ ซึ่งคนที่จะทำแบบนี้ได้ แปลว่าลูกน้องต้องเชื่อใจอย่างมาก เพราะว่ามันเหมือนกับต้องเดินคลำทางในที่มืดเลย โดยต้องเชื่อว่าสิ่งที่ขงเบ้งคาดการณ์ไว้จะเป็นจริง และค่อยเปิดอ่าน

    เรื่องนี้ “สามก๊กฉบับคนเดินดิน” ของ เล่าชวนหัว (เล่ม “เปิดหน้ากากขงเบ้ง”) เขียนกัดไว้สุดยอดมาก แต่ว่าผมอ่านนานแล้วนะ (อ่านทั้งชุดของเล่าชวนหัว ตอนเรียน ป.4-5)

  • ฉากจบเท่ห์มากครับ เท่ห์สุดๆ ชอบมาก และหนังจบแบบนั้นโดยค้างไว้ว่าสรุปว่าจูล่งเป็นเช่นไรในสงครามครั้งนั้น ซึ่งในหนังจะผิดจากประวัติศาสตร์นิดหน่อยครับ จากในหนังนี่เราคิดว่าจูล่งโดนจับได้หรือตายชัวร์ (ไม่น่าจะรอดได้)

    แต่ว่าในประวัติศาสตร์จูล่งกับกองทหารกลุ่มหนึ่ง เอาตัวรอดจากกองทัพที่ใหญ่และดีกว่ามากของวุ่ยไปได้ เรียกว่ากองทัพวุ่ยขนาดมหึมา ก็ยังทำอะไรจูล่งไม่ได้เช่นเดิม ไม่พอยังรักษาเสบียงกลับมาที่แคว้นจ๊กได้อีกต่างหาก (แต่ว่าก็ยังนับเป็นศึกครั้งแรกกระมัง ที่จูล่งได้รับความ “พ่ายแพ้” แบบจริงๆ จังๆ ขนาดนั้น ) ฉบับยาขอบเขียนไว้ประมาณนี้มั้ง ว่ารบกันทั้งคืน ทหารวุ่ยก็ยังทำอะไรจูล่งในวัยชราคนเดียวไม่ได้ (ผมจำไม่ได้นะ)

    อ่อ แต่ก็ยังตรงกับประวัติศาสตร์ (จริงไม่จริงไม่รู้) อยู่บ้าง เพราะว่าศึกครั้งนั้นนี่ ขงเบ้งวางหมากไว้ให้จูล่งเป็นตัวล่อกองทัพของวุ่ย เพื่อให้กองทัพหลักของตัวเองไปเข้าตีจุดยุทธศาสตร์อื่นๆ แต่ว่ากองทัพใหญ่ของขงเบ้งแพ้ราบคาบ ทำให้จูล่งต้องรักษาตัวรอด และรักษากองทัพที่เหลือและเสบียงไว้ด้วย

    แต่ว่าถ้าจบแบบนี้ก็ไม่เท่ห์สิครับพี่น้อง

  • เพิ่มเติมนะครับ สำหรับผู้สนใจ จูล่งตายด้วยโรคชรา หรือไม่ก็ป่วยตายไม่กี่ปีหลังจากนั้นครับ (รู้สึกจะเป็นคนเดียวในขุนพลแคว้นจ๊ก ที่ตายดี)

    ซึ่งจริงๆ ตรงนี้หนังก็ทำทางออกให้ตัวเองไว้ เพราะว่าหนังเรื่องนี้ใช้วิธีการเล่าเรื่องจากมุมมองของบุคคลที่สามประกอบไปด้วย และบุคคลนั้น (ซึ่งตอนหลังคงจะโดนจับและโดนนำตัวไปแคว้นวุ่ยน่ะแหละ และคงจะรอดมาเล่าเรื่อง) ก็บอกว่า “นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้เห็นจูล่ง” ไม่ได้บอกว่าจูล่งเป็นหรือตายในสมรภูมินั้น

  • อ่อ เสียดายอีกอย่าง ที่ไม่ได้เห็นฝีมือการยิงธนูของจูล่งเลย
  • มีที่ติสักหน่อย เรื่องการออกแบบเครื่องแต่งกาย … มันดูซามูไรญี่ปุ่นยังไงๆ ก็ไม่รู้แฮะ
  • อ่อ ถึงจะโผล่มาแค่นาทีเดียว แต่ในหนังก็แสดงให้เห็นล่ะครับ ว่า พระเจ้าเล่าเสี้ยน (อาเต๊า) เป็นยังไง

ไปๆ มาๆ ไม่ใช่รีวิวหนังแล้วนะเนี่ย ฮาฮา สรุปว่าผมชอบครับ มีเก็บไว้ก็ดี DVD ลิขสิทธิ์ราคาไม่กี่ตังค์ แต่ว่าชอบขนาดที่จะต้องดูซ้ำไปซ้ำมามั้ย …. อืมมม ไม่ล่ะครับ

คะแนน: ผมให้ 7/10 ครับ หักไปเพราะว่าความตื้นของตัวละคร (แต่อันนี้เข้าใจ) การออกแบบเครื่องแต่งกาย การเล่าเรื่องการไม่ราบรื่น ตัวละครหลายตัวจู่ๆ ก็โผล่มาเลยมากเกินไป เพลงประกอบที่ไม่ dramatic สมกับเรื่อง

ปล. ถ้าใครเห็นหนังสือชุด “สามก๊กฉบับคนเดินดิน” ของ เล่าชวนหัว ที่ไหน กรุณาบอกผมด้วยจะเป็นพระคุณมากๆๆๆๆ เลย อยากอ่านอีกครั้ง อยากเก็บเลย ใครมีของเก่าทั้งชุดอยากจะขายต่อบอกนะครับ ให้ราคาดีมากๆ เลย สัญญา ทั้งชุดนี้จะมี “เปิดหน้ากากขงเบ้ง 1,2”, “ชำแหละกึ๋นเล่าปี่”, “ผ่าสมองโจโฉ” และ “แหวะหัวใจซุนกวน” ครับ ถ้าผมจำไม่ผิดนะ (ผมอ่านมัน 20 ปีแล้วครับ อาจลืมไปบ้างได้ตามกาลเวลา ขออภัยด้วย)

ซื้อหนัง ดูหนัง รีวิวหนัง

มีหนังที่ดูไปไม่นานมานี้หลายต่อหลายเรื่อง (ทั้งหนังใหม่ ดูในโรง และหนังที่เก่าหรือค่อนข้างเก่า ดูจากแผ่น DVD/VCD) แต่ว่าไม่มีเวลาเขียนรีวิวเลย ทั้งๆ ที่อยากจะเขียน เอาเป็นว่าผมเอา list มาวางไว้ที่นี่ก่อนละกัน

ยังไม่รวมหนังที่เคยดูไปแล้วเป็นชาติ ที่ชอบมากๆ อยากจะเขียนรีวิว (ในเชิงปรัชญาและแง่คิดที่ได้จากหนังด้วย) แต่ว่ายังไม่เคยเขียน เช่น Planet of the Apes (ทั้ง original และ 2001 remake), 2001 Space Odyssey, Terminator Trilogy Equilibrium, The Matrix Trilogy, Brazil ฯลฯ อีกเป็นตั้ง

แต่ว่าเร็วๆ นี้… เริ่มกลับมาซื้อหนังอีกครั้ง หลังจากไม่ได้ซื้อหนังมานานมาก แต่ว่ารู้สึกเลย ว่าเราจะซื้อหนังมาเก็บไว้ได้เร็วกว่าที่จะดูมัน เวลาไปซื้อทีนะ 3 ชั่วโมงมันได้หลายเรื่องไง บางทีก็มี list อยู่ในใจแล้ว แต่ว่าเวลาดู มันดูได้ทีละเรื่อง เรื่องละสองสามชั่วโมง หนังที่อยากดูมันก็เยอะเหลือเกิน พอเห็นวางๆ บนชั้นแล้วก็เลยอดซื้อติดมือกลับบ้านไม่ได้ แต่ว่าพอเอากลับมาได้แล้วมันดูได้ทีละเรื่องเนี่ยสิ ตอนนี้ก็เลยต้องพยายามดูบ้าง แต่ว่าไม่ให้มันรบกวนเวลาทำงานด้วย ไม่งั้นนอกจากจะดูหนังไม่จบ ไม่ได้เขียนรีวิว .. ซึ่งไม่ใช่เรื่องเป็นเรื่องตาย แล้วยังงานไม่เสร็จ หรือว่าเสร็จแต่ไม่สมบูรณ์ หรือว่าไม่ดี เนี่ยสิ …. เรื่องคอขาดเลย

Review: Harry Potter and the Order of the Phoenix

จากหนังสือที่ยาวที่สุด กลายมาเป็นหนังที่สั้นที่สุด ที่หลายคนบ่นอุบ ว่าฉากโน้นฉากนี้โดนตัด ว่าไม่สนุกเท่ากับภาคอื่นๆ ที่ผ่านมา ฯลฯ แต่ว่าใครจะว่ายังไงไม่รู้ ผมว่าแบบนี้นะ

  • + สำหรับผมแล้ว นี่คือภาคที่สนุกที่สุด การดำเนินเรื่องทำได้ฉับไว มีน้ำหนัก มีอารมณ์ร่วม
  • = ต้องเข้าใจด้วยว่า ภาคนี้อาจจะถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนจุดหนึ่งของชีวิต Harry จากการเป็นเด็กเข้าสู่ช่วงของการเป็นผู้ใหญ่ นั่นคือข้อความที่ระบุไว้ชัดเจน จากภาคีฯ ว่า Harry ไม่ใช่เด็กแล้ว ซึ่งได้รับการตอบรับว่า แต่ว่าก็ไม่ใช่ผู้ใหญ่เช่นกัน
  • = ดังนั้นเรื่องความสนุกสนานแบบวัยเด็ก ที่กำลังจะผ่านพ้นไปและพบกับมรสุมของการเป็นผู้ใหญ่ กำลังจะเข้ามา ลองนึกถึงชีวิตตัวเองดู ว่ามันสนุกหรือเปล่า ในตอนที่ตัวเองกำลังอยู่ในวัยแบบนั้น
  • = (นอกเรื่อง) แต่ว่าทั้งนี้ อย่าไปดูช่วงอายุนะ โดยความเห็นส่วนตัวผมเชื่อว่าเป็นเรื่องวุฒิภาวะของจิตใจและความรับผิดชอบ มากกว่าอายุ เจอมาเยอะ พวกที่อายุ 20 กว่าๆ ปลายๆ หรือว่่า 30 ต้นๆ หรือว่ามากกว่านั้น ที่ไม่ค่อยจะมีวุฒิภาวะเท่าไหร่ แต่ว่าเรื่องนี้ช่างมันเถอะ กลับเข้าเรื่องหนังดีกว่า
  • + ภาคนี้ด่าเรื่องการศึกษาได้ “สะใจ” ที่สุดเลยล่ะ ไอ้ที่ว่าให้เรียนแต่ทฤษฎีในตำรา ไม่ต้องเอามาปฏิบัติจริงเนี่ย เพราะว่านี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาการศึกษาหลายแห่งในโลก ซึ่งในหนังยังกัดอีกว่า เรียนแค่นี้ก็เพียงพอสำหรับ “ผ่านการสอบ (ข้อเขียน) แล้ว” ซึ่งพวกเด็กๆ พวกหนึ่งก็ไม่เห็นด้วยและไปฝึกหัดเวทมนต์กันจริงๆ
  • + ตอนที่ Harry พูดกับพวกที่จะเป็นกองทัพ Dumbledore ก็ดีนะ เรื่องที่ว่า การผิดพลาดในโรงเรียน (ในตอนฝึกหัด) น่ะ มันยังมีพรุ่งนี้ให้คุณกลับไปลองทำอีกได้ อีกกี่ครั้งก็ได้ แต่ว่าในชีวิตจริง ในสถานการณ์ที่จะต้องเลือกระหว่างความเป็นกับความตาย กับตัวเองและคนอื่น กับความกดดันต่างๆ จะมีกี่คนที่ handle มันได้จริง
  • + ซึ่งเราจะได้เห็นว่าหลังจากที่อาจารย์ Harry lecture เสร็จแล้ว ก็จับฝึกกันเลย โดยที่แต่ละคนจะต้องลงมือเอง ทำได้เองและล้มเหลวเอง ลุกขึ้นจากการที่ตัวเองล้มเอง และประสบความสำเร็จเอง ซึ่งตอนจบ ตอนฉากที่ department of mystery ที่ห้องเก็บลูกแก้วพยากรณ์ จะเห็นได้ว่า สถานการณ์จริง ไม่มักไม่ค่อยจะใจดีให้เราพลาดได้เท่าไหร่นักหรอกนะ มันคือ live and dead มากกว่า
  • = มาถึงตอนนี้ผมอยากจะบอกนักศึกษาทุกคนเหลือเกินนะ ว่า

ยอมล้ม ยอมหัด ยอมทดลอง ยอมเป็นคนโง่ ตอนที่เรียนอยู่เถอะนะน้อง วันนี้น้องยังล้มได้ ยังมีพรุ่งนี้ให้ลุกได้ แต่ว่าถ้าไม่ยอมผิดไม่ยอมพลาด คิดว่าทำครั้งแรกต้องได้หมด ผิดหรือว่าคิดว่าทำไม่ได้ก็เลยไม่ลองทำ … หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ ถ้ามันผ่านวันนี้ไปแล้ว ไปเจอความจริงของชีวิต มันไม่ใจดีกับเราแบบนี้หรอกนะ

  • + จริงๆ เวทมนต์ที่ผมชอบที่สุดคือ คาถาผู้พิทักษ์นะ เพราะว่ามันคือการนึกถึงสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขที่สุด สิ่งที่เราชอบที่สุด และแต่ละคนมีผู้พิทักษ์ต่างๆ กัน นั่นคืออะไรล่ะ ก็เวลาที่เรารู้สึกแย่ รู้สึกว่า “ความสุขทุกอย่างในโลกได้หายไปจากชีวิต” (แหม copy มาหมดเลยนะ) เนี่ย นึกถึงสิ่งที่ชอบที่สุด สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขที่สุด ช่วงเวลาที่ดี มันเป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตเราจากความสิ้นหวังทั้งปวง และผลที่ได้จากคาถา แต่ละคนต่างกันหมด ขึ้นกับตัวเอง ประสบการณ์ตัวเอง ทั้งนั้น
  • คิดว่าจะไม่พูดแล้วนะเรื่องความสวยความงามเนี่ย ….​ เกิดอะไรขึ้นกับ โช แชง ฟะ ไม่สวยเอาเสียเลย มีคนคิดแบบเดียวกับเราหลายคน เช่น mk (อีกล่ะ รีวิวหลังหมอนี่ทุกที :-P) ตอนภาคที่แล้วยังน่ารักมากๆ อยู่เลย เกิดอะไรขึ้นฟะเนี่ย
  • + ป้าคนที่เล่นเป็น Dolores Umbridge เจ๋งมาก ตีบทแตกกระจุยกระจาย คนที่เล่นเป็น Luna Lovegood ก็ถือว่าดีนะ ก็ JKR บอกเองว่าเธอเป็น Perfect Luna เลยนะเนี่ย
  • = หลายคนคงเห็นแล้วล่ะ ว่าโทนเรื่องมันมืดลงๆ เรื่อยๆ นับจากภาคแรก ซึ่งไม่แปลกอะไรถ้าจะนับว่ามันเป็น transition จากวันและวัยที่ทุกอย่างสดใส ไปหาวันที่มันเริ่มไม่เป็นเช่นนั้น
  • ฉากการตายกับ Sirius Black รู้สึกไปเองหรือเปล่า ว่ามันไม่ค่อยจะดึงอารมณ์ร่วมออกมาได้เท่าไหร่ หรือว่าผมอ่อนไหวน้อยไปเองหว่า เฉยๆ มากกับฉากนี้
  • + แต่ว่าการกำกับศิลป์ กับฉากอื่นๆ ถือว่าทำได้ดีไม่เลวเลยนะ ฉากตอนจบที่ department of mystery ค่อนข้างจะได้ใจพอควร
  • + เรื่องของทางเลือก เหมือนกับตอนที่เขียนรีวิว Spiderman 3 นะ ตอนที่ Sirius Black พูดกับ Harry ที่ว่า โลกมันไม่ได้แบ่งเป็นคนดีกับผู้เสพย์วิญญาณ​ (คนเลว) หรอกนะ ทุกคนมีดีมีเลวในตัวเอง สิ่งที่สำคัญก็คือการที่เราเลือกกระทำต่างหาก ซึ่งนั่นทำให้เราเป็นเรา
  • + อีกประเด็นหนึ่งเถอะนะเกี่ยวกับการศึกษา ที่ Harry พูดว่า พ่อมดที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ทุกคนก็เริ่มต้นด้วยการเป็นอะไรที่ไม่ได้มากกว่าเราตอนนี้ คือ “นักเรียน (นักศึกษา)” เนี่ยแหละ อันนี้ชอบมาก
  • Order of the Phoenix ไม่ค่อยมีบทบาทเลยแฮะ ท่าทาง (ในหนัง) จะเป็น secret society จริงๆ แฮะ ไม่รู้เรื่องเลยทำอะไรมั่ง มีบทบาทยังไงมั่ง น้อยมากๆ
  • = แต่ว่าจะว่าไป ก็เป็นเรื่องที่อาจจะเป็นปกติของหนัง series นี้อยู่แล้ว ที่ว่าจะเป็น Harry Potter and อะไรก็ช่างเถอะ มันจะเป็น focus/centric อยู่กับ Harry มากกว่าสิ่งที่มาหลัง and … ซึ่งก็ถือว่าเป็น choice เพราะว่าหนังมันไม่เหมือนหนังสือ เอามาทำให้ได้ทุกมุมมองทุกมิติเหมือนกันไม่ได้หรอก ต้องเลือกเอา (หรือไม่งั้นก็ทำมันแยกไปเลย เหมือนกับ Flag of Our Fathers กับ Letters from Iwo Jima)
  • ปิดท้ายด้วยเรื่องที่ไม่เรื่องสักอย่างเถอะ …​ เนื่องจากเปลี่ยนคนแต่งเพลงมั้ง (จากปรมาจารย์ John Williams) ทำให้ Film score ภาคนี้อ่อนกว่าภาคก่อนๆ อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งด้วยมั้ง ที่ทำให้หลายฉากหลายครั้ง มันดึงอารมณ์ไม่ได้
  • = อ่อ แล้วก็อีกเรื่องนะ ด่า/แขวะการเมืองใช้ได้เลย อีกทั้งประเด็นการใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง แล้วก็การแทรกแซงสถาบันการศึกษาด้วยนะเนี่ย :-P

น้องๆ ที่ไปดูหนังนะครับ ขอให้ได้ข้อคิดเกี่ยวกับการศึกษาของตัวเองด้วยผมจะดีใจมาก แทบทุกคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ครั้งหนึ่งเค้าก็ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าพวกคุณหรอก คือ เป็นนักเรียน นักศึกษา ที่ฝึก ที่หัด ที่ทำ ที่ล้ม ที่ลุก ที่เหลว ที่สำเร็จ ฯลฯ มามากมายในชีวิต ทำให้มีประสบการณ์จริงมาก เมื่อไปเจอบททดสอบจริงของชีวิต ที่มักไม่ใจดี และเป็น one-chance เท่านั้น เค้าเลยผ่านมันไปได้ ในขณะที่อีกหลายต่อหลายคน ที่ take it easy ตอนที่ยังเรียนอยู่ กลับต้องมาล้มเหลวกับมันในทีหลัง

ในฐานะหนัง เรื่องนี้สนุกมากกับผม ตรงที่มันให้ข้อคิดกับผมในฐานะนักการศึกษาคนหนึ่ง เนื้อหาในภาคนี้ ข้อความในภาคนี้ หลายอย่าง เนี่ยแหละ คือสิ่งที่ผมอยากจะบอกกับลูกศิษย์ทุกคน

My Rating: 9/10
IMDB Rating: 7.8/10
(30,595 votes)

Review: Die Hard 4.0

ไปๆ มาๆ จะกลายเป็น blog รีวิวหนังไปซะแล้วหรือเปล่าเนี่ย แต่ว่าช่างมันเถอะ ดูๆ สะสมกันไว้นาน ไม่ได้เขียนซะที เอาเป็นว่าไล่ๆ เขียนมันไปให้หมดๆ ก่อนละกันนะ

ภาค 4 (และอาจจะเป็นภาคสุดท้าย?) ของหนัง series เรื่องหนึ่งที่ขาดตอนไปนานเอาการทีเดียว (ภาค 1 เมื่อ 1988, 2 เมื่อ 1990 และ 3 เมื่อ 1995) ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่ได้ดู Die Hard ภาคแรกนะ แต่เค้าว่ากันว่าภาค 2, 3 นี่สู้ภาคแรกไม่ได้ (แต่ว่าก็ไม่ได้ห่วยเท่าไหร่ จาก rating ใน IMDB นะ) เอาเป็นว่าเรื่องนั้นผมไม่พูดถึงละกัน มาดูภาคนี้กันดีกว่า

  • + โทนหนังเปลี่ยนไปจากภาคก่อนๆ นะ คือ threat ของโลกปัจจุบันมันเปลี่ยนไป อะไรๆ เดี๋ยวนี้มันก็ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์หมด อีกอย่างคอมพิวเตอร์มันก็เชื่อมต่อกันหมด ฮาร์ดแวร์กลายเป็นสิ่งที่ irrelevant และ invisible มากขึ้นทุกที เหมือนกับที่ Steve Jobs เคยบอกไว้ว่า “It’s Software, Stupid!” ….. (นึกถึง Terminator 3 หน่อยนะ)
  • + ทีนี้ วายร้ายก็เลยต้องเปลี่ยนไป กลายเป็น Thomas Gabriel (Timothy Olyphant), Hacker อัจฉริยะ (ย้ำ Hacker นะ ไม่ใช่ Cracker ใครสงสัยว่ามันต่างกันยังไง รบกวนหา Hacker Culture, Jargon File หรือว่าอะไรพวกนี้อ่านๆ ดู) ที่กลายมาทำตัวเป็น Cracker ก่อ Cyber-Terrorism เสียเอง แล้วก็ค่อนข้างที่จะ cool เสียด้วย คือเป็นผู้ร้ายที่มีสมองเป็นหลักจริงๆ แต่ว่า “น่าสะพรึงกลัว” เอาเรื่องทีเดียว
  • + ใครเป็นพวก geek น่าจะชอบภาคนี้ได้ไม่ยากนะ เพราะว่ามันมี reference ถึงอะไรๆ ที่ geekๆ เยอะเหมือนกัน แล้วก็พวก geek ในเรื่องนี้มันค่อนข้างที่จะ real พอควร (ไม่เหมือนกับในเรื่อง Antitrust นะ เรื่องนั้นมัน “สะอาด” และ “สำอาง” เกินไป สำหรับพวก geek โดยทั่วไป)
  • + แค่ฉากเข้าไปใน apartment ของ Matt Farrell ก็ได้ใจแล้ว ของเล่น geek เยอะมาก ไม่พอ ยังเอา Justin Long (Mac ใน I’m a Mac and I’m a PC ของ Apple) มาเล่นอีก หมอนี่ใช้ได้ เล่น OK เลย แล้วก็ “Command Center” ขอเจ้าอ้วน Freddy อีก อยากได้หุ่น Boba Fett ตัวโตๆ แบบนั้นบ้าง (จะดีกว่าถ้าเป็น Vader)
  • แต่ว่ามาถึงรายละเอียดเนีี่ย มีอะไรหลายอย่างที่มันไม่น่าให้อภัยนะ (เช่นหมายเลข IP ของเครื่อง อะไรหลายๆ อย่าง) แต่ว่าช่างมันเถอะ คงมี population แค่กระหยิบมือบนโลกที่ดูตรงนั้นรู้เรื่อง แล้วก็พวกรายละเอียดของเครื่องบิน ของ geography อะไรหลายๆ อย่างที่มันไม่ค่อยจะ make sense หรือว่าสมจริงน่ะ (โดยเฉพาะเรื่อง geography เนี่ย เยอะมาก แต่ว่านะ เอาอะไร หนัง ไม่ใช่สารคดี)
  • ตกม้าตายมั้ยเนี่ย ตอน start รถน่ะ ไหนบอกว่า communication network มันล่มหมดไง แล้วติดต่อ telecom ผ่านระบบไหนล่ะนั่นน่ะ ไม่พอนะ ไหนบอกว่าเครื่องบินถูก ground หมดไง แล้วตอนที่ไฟดับ ภาพตัดไปที่สนามบิน ไหงมีเครื่องบินขึ้นได้ฟะ เออ ช่างมันเถอะ เอาแค่นี้แหละ ;-)
  • 500 TB เนี่ย ดูเหมือนจะเยอะนะ แต่ว่ามันพอเหรอ(ฟะ) สำหรับข้อมูล financial ทั้งหมดของสหรัฐอเมริกาเนี่ย อีกอย่างนะ มัน download ผ่านอะไรวะ ทำไมมันเร็วจัง :-P
  • = รู้สึกว่าเราจะเริ่มให้ กับอะไรที่มันเป็น error แบบ geekๆ มากไปแฮะ กลับมาที่หนังดีกว่านะ
  • + เรื่องนี้ก็ยังเป็นคนธรรมดา ในสถานการณ์ไม่ธรรมดา เช่นเคย และทั้ง Willis ทั้ง Long ก็เล่นในบทบาทนั้น ให้ความรู้สึกแบบนั้น ได้ดีมากเลยทีเดียว ผมชอบนะตอนที่ทั้งสองคนนั่งคุยกันในรถ เรื่องการเป็น Hero ….​ ชอบตอนที่ Willis (McClane) สรุปว่า “เพราะว่าไม่มีใครคนอื่นทำน่ะสิ” เพราะว่าผมมักจะพูดว่า ที่เราต้องทำอะไรๆ หลายอย่างที่เราทำอยู่ตอนนี้ ไม่ใช่เพราะว่าตัวเองเก่ง หรือว่าเป็นคนดี หรือว่าอะไรทั้งนั้น ตรงข้าม ผมไม่ใช่คนเก่ง ไม่ใช่คนดี ไม่ได้เป็นฮีโร่และไม่ได้อยากเป็นอะไรทั้งนั้น เพียงแต่ว่า “มันไม่มีคนทำน่ะสิ” คนธรรมดาๆ คนหนึ่ง ก็เลยต้องทำอะไรอย่างที่เค้ากำลังทำอยู่ ประโยคนี้ได้ใจมาก
  • = ชอบ Maggie Q แฮะ เรื่องนี้ ปกติเฉยๆ กับเค้านะ หมวยธรรมดาๆ หน้าจืดๆ เฉยๆ เหมือนจะง่วงนอนตลอดเวลา แต่ว่าเรื่องนี้พอมาเล่นบทนี้แล้ว เออ ใช้ได้ นิ่งดี cool ดี
  • เข้าใจว่าเป็นเรื่องการตลาดนะ อยากจะให้หนังมัน rating ความรุนแรงลดลง ทำให้นี่เป็น Die Hard ภาคแรกที่ไม่ได้ rating “R” แต่ว่ามันทำให้ McClane ไม่ได้สบถวาทะเด็ดประจำตัว แต่ว่าที่ผมให้ติดลบ ก็เพราะว่าการใช้ภาษารุนแรง กับความรุนแรงอื่นๆ มันก็ยังคงเต็มในหนัง เลยไม่รู้มันได้ PG-13 ไปได้ไง
  • + ชอบฉากที่เอาคำพูดของประธานาธิบดีสหรัฐฯ มาต่อกันเป็นหนังแฮะ เด็ดดี ยิ่งตอนสุดท้ายเป็น Bush นี่อย่างฮา ขอบอก
  • = แต่ว่าสำหรับคนที่คิดว่าเนื่องจากมันเป็นหนังที่ออกแนว Cyber-Terrorism ที่มี Hackers/Crackers เป็นตัวหลักทั้งสองด้าน แล้วคิดว่าจะมีการใช้สมองหรือว่าหักเหลี่ยมชิงไหวชิงพริบกันนะ บอกได้เลยว่า “ไม่มี” เพราะว่านี่มัน Die Hard ดังนั้นมันจะมีแต่ความดิบ ล้วนๆ
  • + ชอบบทพูดที่ให้ Matt (J. Long) กัดโน่นนี่แฮะ ชอบตอนที่กัดโฆษณา กัดข่าว ว่ามัน entirely manipulated ที่ให้ทุกคน live in fear ฯลฯ อะไรทำนองนั้น เจ็บว่ะ เจ๋งดี เพราะว่าจริงแหละ วันก่อนได้ดูผู้หญิงถึงผู้หญิงแป๊บๆ ก่อนออกจากบ้าน เรื่อง พ.ร.บ. การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฟังที่กาละแมพูดแล้ว ยังคิดในใจ (แต่ว่าบ่นออกเสียงให้ตัวเองได้ยิน) ว่า F.U.D อยู่เลย ไม่พอ ยังกัด USA ด้วย เรื่องการกู้ภัยตอนที่พายุเข้า
  • ผิดหวังอย่างรุนแรง ที่ประโยคเด็ดจาก trailer ไม่ได้ถูกพูดในหนังจริง …. ที่ว่า “จะฆ่ามันแล้วช่วยลูก ไม่ก็ช่วยลูกแล้วฆ่ามัน (กู)จะฆ่ามันให้หมด!” เนี่ย เสียดายจริง
  • + ได้คะแนนคืนมาอย่างมหาศาลที่แสดงให้เห็น gap ระหว่าง geek กับ non-geek ได้อย่างชัดเจนแล้วก็มีสไตล์ด้วย ชอบมากตอนที่ Matt เล่นโน่นเล่นนี่ ทำสิ่งที่เหมือนกับเป็น magic กับอุปกรณ์ต่างๆ แล้วก็ตอนที่ Matt คุยกับ Freddy หรือว่าตอนที่พยายามอธิบายเรื่องเทคโนโลยีให้ John เข้าใจ (ตอนที่เชื่อม PDA เข้ากับเครือข่าย SATCOM เก่า) ด้วย
  • = (นอกเรื่องนะ) เพราะว่าเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มันไม่เหมือนกับอุปกรณ์/เทคโนโลยีอื่นๆ ด้วยอะไรหลายๆ อย่าง คนที่เก่งๆ เนี่ย จะใช้คอมพิวเตอร์ทำอะไรได้มหาศาลเหมือนกับใช้เวทมนต์เลยทีเดียว แต่ว่าเนื่องจากมันกลายมาเป็น commodity มากขึ้นๆ (แทบทุกบ้านเริ่มมีใช้) ทำให้หลายๆ คน (แม้แต่คนที่เรียนสาขา CE/CS/IT โดยตรง) ไม่ได้มีความสนใจหรือว่าความรู้หรือว่าประสบการณ์ที่จะใช้มันทำโน่นทำนี่ได้มากมายเท่าไหร่ ใช้คอมพิวเตอร์เหมือนกับใช้ TV/Video/วิทยุ/Word Processor/etc รวมๆ กันเท่านั้น แล้วไม่พอ คนที่คิดว่าตัวเองรู้โน่นรู้นี่ เข้าใจโน่นนี่ หรือว่าใช้คล่อง มี เยอะมาก แล้วพวกนี้กล่อมยาก อธิบายยาก เหมือนกับสอนหนังสือสังฆราช … พอล่ะ ขี้เกียจบ่นแล้ว ไปอ่านใน Computer Stupidities ดีกว่า มีให้อ่านจุใจ ;-P

ด้องขออภัยด้วย ที่รีวิวนี้มันออกจะ geek ไปหน่อย ไม่ค่อยมีอะไรเท่าไหร่ แต่ว่าหนังมันไม่ค่อยจะมีอะไรจริง ไปดูเอาสนุก เอามันส์ เอาเรื่อง F.U.D เกี่ยวกับ Cyber-Terrorism ดีกว่า ว่าคนเค้ากลัวอะไรกัน แต่ว่าเรื่องจริงมันไม่เกิดแบบนั้นหรอก ด้วยอะไรหลายๆ อย่าง แต่ว่าในอนาคต (ที่อาจจะอีกไกล) อาจจะเป็นไปได้ก็ได้นะ ไม่มีใครรู้ แต่ว่านิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไรไว้อย่างนึงนะ ว่า Centralized Data Storage เนี่ย อาจจะเป็น bad idea กว่าที่หลายๆ คนคิดก็ได้ ทำเป็น Decentralized จะดีกว่านะ ตอนนี้เทคโนโลยีมันเอื้อด้วยแหละ แล้วก็ mindset ของสังคมเริ่มที่จะไปทางนั้นมากขึ้นแล้วด้วย

My Rating: 8.0/10
IMDB Rating: 8.0/10
(34,305 votes)

ป.ล. นี่เป็นครั้งแรกแฮะ ที่ rating ที่ผมให้ กับที่ได้จาก votes ใน IMDB มันตรงกันเป๊ะ (แต่ว่าเมื่อเวลาผ่านไป มีคน vote มากขึ้น อาจจะเปลี่ยนได้นะ)

Review: Transformers

Transformers เป็นอีกเรื่องที่หลายคนตั้งหน้าตั้งตารอคอยกันนานพอควรในฐานะหนังฟอร์มยักษ์อีกเรื่องของปีนี้ หลายคนก็เพราะว่าเป็นแฟนของเล่นอยู่แล้ว หลายคนบ้าหุ่นยนต์แปลงร่างได้ ฯลฯ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ช่างเถอะนะ เรื่องนี้ก็เป็นหนังที่ดีอีกเรื่อง

  • = นี่เป็นหนัง Action นะ อย่าคิดอะไรมากกว่านั้น หลายเรื่องไม่ต้องไปถามหาเหตุผลอะไรกับมันหรอก ไม่มีทั้งนั้น
  • Plot holes ก็พอจะมีให้เห็นทั้งเรื่อง แผนการหลายอย่างที่ไม่ได้ make sense ก็มีอยู่
  • = และด้วยความที่มันเป็นหนัง Action แบบล้างผลาญ เหมือนกับว่าทุกซีนทุกฉากทุกตอน มีคำว่า Michael Bay เป็น watermark ไว้เลยด้วยซ้ำ (ไปดูรายชื่อหนังที่เค้ากำกับ จะเห็นเองว่ามีประวัติยังไง) และแน่นอนว่า ไม่ใช่หนังเด็กแน่ๆ ถึงหลายคนอาจจะอยากจะมองแบบนั้น เพราะว่าเป็นหนังหุ่นยนต์แปลงร่างที่สร้างมาจากของเล่นก็เถอะ มันล้างผลาญแบบ Bay แน่นอนครับ
  • + มุขตลกที่มีพอสมควรทั้งเรื่อง พวก Autobots มีอารมณ์ขันดีใช้ได้ ฉากค้นหาของที่บ้านของพระเอกทำคนหัวเราะไปครึ่งโรง (ใครนึกไม่ออกว่าตลกยังไง แค่นึกถึงหุ่นยนต์ตัวเท่าตึกพยายามเล่นซ่อนแอบ แต่ว่าดันซุ่มซ่ามตลอดเวลา คงประมาณนั้น)
  • แต่ว่า …. แต่ว่าบางทีก็เหมือนจะยัดเยียดไปนิดเหมือนกัน ก็พอจะให้รำคาญได้ล่ะนะ ว่าเมื่อไหร่เรื่องมันจะเดินต่อซักทีวะ
  • แล้วก็ dialogue ของ Optimus Prime: “Opps, my bad” ….. เฮ้อ ชีวิตช่างบัดซบจริงๆ เล้ยให้ตาย หลายคนคงชอบ แต่ว่าแฟนของ Prime นี่ หลายคนท่าจะรับไม่ได้แฮะ
  • + แต่ว่าฉาก Call center นี่อย่างฮา
  • + CGI เยี่ยมมาก แค่ได้เห็นฉากเปลี่ยนร่างของหุ่นยนต์แต่ละตัวก็พอแล้ว รายละเอียดสุดยอดมาก เรียกได้ว่าคงจะเอา render farm/modeling workstations ที่ ILM ควันขึ้นโขมงพอควรล่ะ แต่ว่านี่แหละ no compromise จริง ต้องยกนิ้วให้
  • แต่ว่าบางทีทำให้มันมี details เยอะเกิน กับการเปลี่ยนร่างที่เร็ว ดูแล้วอาจจะตาลายนิดๆ
  • = หุ่นยนต์หลายตัวจะไม่ได้มีรูปร่าง แล้วก็ร่างแปลงที่เหมือน/ใกล้เคียงกับของเล่น/การ์ตูนนะ ด้วยเหตุผลทางด้านความรุนแรง และ(คงจะ)ความเหมาะสม แต่ว่ามันก็ทำให้หุ่นบางตัว cool ขึ้นแบบสุดๆ
  • + รูปร่าง หน้าตาและสีสันของตัวดีกับตัวร้ายต่างกันแบบไม่ต้องใช้สมองคิดก็เห็นได้ชัดเจน ยกนิ้วให้กับทีมงานตรงนี้ ตัวโกงหน้าตามันก็โกงจริงๆ แหละ แถมดุร้าย โหดเหี้ยม สีคล้ำ อีกตะหาก ส่วนตัวดีนี่ก็ตรงข้ามกันเลย
  • = ผมคิดไปเองหรือเปล่าวะ ว่า Autobots นี่ยังกะขบวนการ 5 สีของญี่ปุ่นเลยแฮะ (ดูจากสีเอาด้วยนะ) ส่วนพวก Decepticons นี่ยังกะสัตว์ประหลาดในหนังห้าสีอีกน่ะแหละ (รูปร่าง สีสัน ฯลฯ)
  • ช่วงกลางๆ ของเรื่องจะอืดๆ นิดๆ นะ แต่ว่าตอนท้ายนี่เรียกว่าอัดกันแหลก ห้ามกะพริบตาเด็ดขาด
  • + Shia LaBeouf ไม่แปลกใจที่หมอนี่อาจจะเป็น Next Big Thing ของ Hollywood เพราะว่าเล่นดีตีบทแตก ธรรมชาติและเนียนมาก ชัดอยากจะเห็นบทบาทใน Indiana Jones ภาคต่อไปของหมอนี่แล้วสิ แต่ว่ากลัวแต่ว่าจะไปมี image กับบทแบบ underdogs ป้ำเป๋อแบบนี้ไปอ่ะดิ
  • + ชอบตอนวิเคราะห์เสียงน่ะ ไม่รู้ทำไม รู้แต่ว่าชอบ อาจจะเพราะว่าสนใจทำด้าน voice matching อยู่ด้วยล่ะมั้ง
  • มี error หลายอย่างนะ แต่ว่ามีอย่างนึงที่เหมือนว่าผู้กำกับลืมแบบน่าตบกะโหลก (พอๆ กับฉากม้าหายใน Lord of the Rings: Return of the King) คือ เจ้ารถตำรวจ Barricade มันถูก Bumblebee จัดการไปแล้วตั้งกะกลางๆ เรื่องไม่ใช่เรอะ แต่ว่าทำไมตอนท้ายมันยังโผล่มาอีกล่ะ แต่ว่าก็ยังดีที่ไม่ได้มีบทบาทอะไร (เหมือนว่าหลังจากฉากรายงานตัวผู้กำกับจะนึกออก?)
  • ความไม่ make sense อีกอย่างก็คือว่าการเอา cube หนีเข้าเมือง (หรือว่าแม้แต่ผ่านเมือง) เฮ้ย จะบ้าเรอะ …. เพราะว่ามันเป็นแผนการทำลายเมืองชัดๆ ถ้าพวก Decepticons ไล่ทันที่เมืองล่ะก็ เมืองพังแน่ๆ …. มันเจ๋งในหนังอ่ะ ได้เห็นฉาก Bay-ism มากๆ (ฉากทำลายล้าง) แต่ว่าในเรื่องจริง จะมีไอ้บ้าที่ไหนคิดแผนฆ่าตัวตาย/ฆ่าคนตายแบบนั้นหว่า
  • เห็นด้วยกับ mk (isriya) อีกเรื่อง ศัตรูเป็นเครื่องบินเจ๊ท แต่ว่าจะให้ขึ้น ฮ. หนี …. จะบ้าเรอะ
  • = แต่ว่าช่างมันเถอะ หนัง action + Michael Bay น่ะ เอาไรมากมาย ท่องไว้ “หนัง action หนัง action” ท่องไว้ Michael Bay Michael Bay
  • เสียดาย เสียดาย เสียดาย อย่างสุดแสนเสียดาย ที่ Transformers ทั้งหมดในเรื่องนี้ ไม่ได้มีอะไรมากกว่าการเป็น “อาวุธสงครามมีชีวิต” แทบทุกตัวไม่ได้มี story หรือว่า personality อะไรเลย เรียกว่ามีไว้ show-off CGi แล้วก็ทำลายฉากแบบ super-cool เท่านั้นมั้ง ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายที่สุด ทั้งๆ ที่เป็นชื่อเรื่องนะ น่าจะ focus กับพวกเค้าหรือว่าอย่างน้อยๆ ก็ให้มันมี story/personality อะไรบ้างสิ
  • + ได้คะแนนคืนมาหน่อยก็ตรงความละเอียดและสมจริงของอาวุธสงครามทั้งหลาย …​อย่างว่า (ว่ากันว่า) Bay เค้าได้กองทัพอเมริกาให้การสนับสนุนเลยนี่
  • ตอนแรกคิดว่าจะออกมาดีกว่านี้ คิดว่า Transformers จะมี depth ของตัวละคร แล้วก็ plot มากกว่านี้ แต่ว่า นอกจาก Sam (พระเอก) แล้ว ตัวละครทุกตัวมัน shallow สิ้่นดี ไม่เว้นแม้แต่ Bumblebee ซึ่งเป็นตัวละคร Transformers ที่มีบทมากที่สุด หรือว่า Optimus Prime ที่สมควรเป็นตัวเอกตัวหนึ่ง ….. หนังเน้นความล้างผลาญเกินไป

พอเหอะ… พอหอมปากหอมคอ จริงๆ หนังเรื่องนี้ก็ถือว่าดีแหละ ถ้าไม่รู้เรื่องอะไรมาก่อนบ้างเลย ผมเองอาจจะมี impression ไม่ค่อยดีกับ Michael Bay ด้วยน่ะแหละ … ถ้าผมจะมี personal message ให้กับ Michael Bay สักข้อความคงเป็น

Mike, (computer) effects and destruction can’t make a good movie.

ไม่ได้หนังเรื่องนี้ไม่ดีนะ แต่ว่าถ้าไม่มีส่วนอื่นๆ อีกหลายส่วนมาช่วยไว้ (+mindset ที่ว่ามันเป็นหนัง Action ล้างผลาญนะ อย่าคิดอะไรมาก) คงจะไม่จืดกว่านี้

My Rating: 7.0/10
IMDB Rating: 8.0/10
(จาก 46,635 votes)