รีวิว: Nikon Coolpix P7700 (& พาดพิง P7800)

หลังจากรีวิวและเล่าเรื่องกล้องตัวโหดๆ ไปหลายตัว ก็กลับมาคุยเรื่องกล้องคอมแพคกันบ้าง หลังจากที่เขียนครั้งสุดท้ายที่รีวิวคือ Nikon P7000 (P7000 #1, P7000 #2) ตั้งแต่ปี 2011 โน่น (เพราะว่าอันที่จริงแล้วผมจะเปลี่ยนกล้องคอมแพคทุก 2 ปี) สำหรับครั้งนี้จริงๆ ก็ดูไว้หลายตัว ทั้ง Panasonic LX7, Canon G1X, G15, Nikon P7700, P310, Sony RX100, Fujifilm XF1, X10 อย่างที่เคยเขียนไว้ในบทความ เลือกกล้องคอมแพคจากปี 2012: Tough Choice

แล้วสุดท้าย หวยมันก็มาออกมาที่ Nikon P7700 (จริงๆ แล้วก็เดาได้ยากเท่าไหร่ จากตัวเลือกที่มีในตอนนั้น)


DSC_0925.jpg

Nikon Coolpix P7700 – On The Trip Product Shot

และหลังจากที่ใช้มาค่อนข้างจริงจัง แบบพกติดรถไปด้วยแทบจะทุกที่ เวลาไปเที่ยวก็พาไปด้วยทุกทริป บางทริปที่เป็นทริปสั้นๆ และไม่ได้กะถ่ายรูปจริงจัง เอาไปตัวเดียวด้วยซ้ำ …. ก็ได้เวลาเขียนรีวิวอย่างจริงจังแล้วครับ

ป.ล. เร็วๆ นี้ Nikon ก็เพิ่งจะออกกล้องตระกูล Coolpix P ตัวใหม่ คือ P7800 ซึ่งเป็นตัวเดียวกับ P7700 แตกต่างกันที่มีการวางปุ่มควบคุมต่างๆ และการเพิ่ม Electronic Viewfinder (EVF) แต่ยังคงใช้เซ็นเซอร์ เลนส์ และตัวประมวลผลภาพตัวเดียวกันทุกประการ ดังนั้นถ้าจะว่ากันด้วยเรื่องคุณภาพของภาพ และลักษณะภาพนั้น ก็จะเหมือนกับ P7700 ครับ

Continue reading

ว่าด้วย “ขนาด Sensor” [1]: Crop Factor และผลต่อ DoF & FoV

ไม่ได้เขียนบทความเชิงเทคนิคซะนาน เขียนซะหน่อยก่อนที่มือไม้จะขึ้นสนิม และนี่คงเป็นเรื่องที่ตอบคำถามคาใจของใครหลายต่อหลายคนได้ดีทีเดียว คำถามที่ว่านั้นก็คือ “กล้องตัวคูณ คืออะไร” หรือ “ทำไมคนนั้นใช้เลนส์ 20mm มันเหมือนจะถ่ายรูปได้กว้างกว่าผมใช้เลนส์ 18mm ครับ” และ “ทำไมกล้องตัวเล็กๆ ถึงถ่ายหน้าชัดหลังเบลอไม่ค่อยได้” ตลอดจน “ทำไมกล้องใหญ่ถ่ายที่แสดงน้อยดีกว่ากล้องเล็ก” แม้กระทั่ง “ทำไมไม่ทำเลนส์ 24-200 f/2.8 ขนาดเล็กๆ ใช้กับกล้อง D600/800 จะได้มีตัวเดียวเที่ยวทั่วโลก” และยังมีคำถามอื่นๆ อีกมากมายที่เป็น Variation ของคำถามเหล่านี้

ต้นตอสำคัญ เรื่องของเรื่อง ก็คือ “ขนาดของเซ็นเซอร์มันต่างกัน” ครับ และสำหรับบทความนี้เราจะว่ากันแค่เรื่องของ “ตัวคูณ” หรือ Crop Factor “Depth of Field” (DoF) และ “Field of View (FoV) แค่นั้นครับ ส่วนเรื่องการถ่ายในที่มืดค่อยว่ากันในบทความต่อไป และผมจะพยายามอธิบายโดยใช้ฟิสิกส์ให้น้อยที่สุดนะครับ :D

หลักการพื้นฐานง่ายๆ ที่ไม่เปลี่ยนของการถ่ายภาพก็คือเหมือนกับตาคนครับ แสงสะท้อนจากวัตถุ ผ่านเลนส์ ตกกระทบตัวรับภาพ ซึ่งในกรณีของกล้องก็คือฟิล์มหรือเซ็นเซอร์ ทีนี้ประเด็นมันอยู่ตรงที่ว่า เซ็นเซอร์ดิจิทัลในกล้องทั่วๆ ที่เราใช้ๆ กันอยู่เนี่ย มันดันมีหลายขนาด ถ้าเราเริ่มจากเซ็นเซอร์ขนาดเทียบเท่ากับฟิล์ม 35มม. หรือที่เรียกว่า Full-Frame เป็นหลัก แล้วไล่ขนาด “ลงมา” ถึงที่ใช้กันในกล้องมือถือแล้วล่ะก็ จะได้ประมาณนี้ครับ


sensor_size

ขนาดเซ็นเซอร์ที่ใช้ในกล้องทั่วไป ตั้งแต่ Full Frame (เท่ากับฟิล์ม 35มม.) จนถึงโทรศัพท์มือถือ

อันที่จริงแล้วฟิล์มเองก็มีหลายขนาดครับ ไม่ได้มีแค่ 35มม. แต่ว่าขนาดอื่นๆ เราจะไม่ค่อยคุ้นกันเท่าไหร่ เพราะมันมักจะอยู่ในวงแคบๆ ของคนเล่นจริงจังหรือมืออาชีพ เช่นพวก Medium/Large Format ที่มีขนาดใหญ่กว่า 35มม. เป็นต้น กล้องทั่วๆ ไปที่เรามีโอกาสใช้ ตั้งแต่กล้อง SLR ไปจนถึงกล้องคอมแพค ใช้ฟิล์มขนาดเดียวกันแทบจะทั้งหมด (ฟิล์มแบบที่เราเห็นขายทั่วไปน่ะแหละ) คนใช้กล้อง คนถ่ายรูปทั่วไปก็เลยแทบจะไม่มีประเด็นอะไรเรื่องของ “ขนาดฟิล์ม” แต่กล้องดิจิทัลเดี๋ยวนี้ เรามักจะเจอกับเซ็นเซอร์หลากหลายขนาด และส่วนมากเป็นเซ็นเซอร์ขนาดเล็กทั้งนั้น … ว่าแต่ .. แล้วขนาดเซ็นเซอร์มีผลยังไงบ้างล่ะ

Continue reading

The Three Monkeys

สุภาษิตโบราณว่าไว้เป็นปรัชญาชีวิต

“See no evil, Hear no evil, Speak no evil”

แปลตรงๆ ตัวว่า “ไม่เห็นสิ่งชั่วร้าย ไม่ได้ยินสิ่งชั่วร้าย ไม่พูดสิ่งชั่วร้าย”

ต่างวัฒนธรรมก็ตีความสัญลักษณ์นี้ต่างกัน โลกตะวันออกอย่างเราๆ ตีความเป็นคติเตือนใจให้กับชีวิตว่า “อย่าอยู่กับสิ่งชั่วร้าย” ไม่ว่าจะเป็นการพูด การได้ยิน หรือการมองเห็น ฟังดูแล้วเหมือนกับให้ “ปล่อยวาง” แต่อีกวัฒนธรรมหนึ่งอาจใช้สัญลักษณ์นี้ในเชิงตรงข้าม คือใช้แสดงถึงคนที่ปล่อยปละละเลยจากการมองเห็นความไม่ดีไม่งามไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว ฟังดูแล้วเหมือนกับให้ “ต้องเห็น/ต้องสนใจ”

แล้วใครถูกใครผิดเล่า กับสองมุมมองนี้? มันดูจะขัดกันมากมายใช่ไหม


DSC_5678.jpg

“三猿” (แปลว่า “ลิงสามตัว”) at the Tosho-gu shrine in Nikko, Japan

Continue reading

My Leica Story [3]: The M Typ 240 (M240) + Review

[อัพเดท: 10/17/2013] เพิ่มเรื่องไฟล์ RAW และภาพเปรียบเทียบ
[อัพเดท: 10/18/2013] เพิ่มเรื่อง JPEG Processing Capability


ความเดิม:

กล่องที่ยังไม่ได้แกะของ Leica M Typ 240 (ซึ่งต่อไปนี้ผมจะเรียกย่อๆ ว่า M240 นะ) วางอยู่ตรงหน้าผมแล้ว บอกตามตรงเลยว่าผมมี First Impression ที่ดีมากกับเจ้า M240 ตั้งแต่ผมเห็นกล่องล่ะครับ กล่องของ M240 มีรูปทรงเปลี่ยนไปจาก M8 และ M9 แบบเห็นได้ชัด ดูเล็กลง แต่ “Lean” ขึ้นอย่างรู้สึกได้ และเมื่อเปิดกล่องออกมายิ่งรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงในเชิงการออกแบบในทางที่ดีขึ้น การออกแบบการจัดเก็บต่างๆ ภายในกล่องถูกออกแบบในรูปแบบของลิ้นชัก แยกชัดเจนระหว่างตัวกล้อง อุปกรณ์ และสายไฟต่างๆ (แล้วในส่วนเก็บสายไฟ นี่เปิดมาเจอสายชาร์จในรถด้วยนี่รู้สึกฟินมาก เข้าใจผู้ใช้งานจริงๆ)


DSC_1178.jpg

The M

ผมค่อยๆ แกะดึงกล่องที่บรรจุตัวกล้อง ที่วางอยู่ที่ชั้นบนสุดภายในกล่องออกมา แล้วค่อยๆ เอาตัวกล้องออกจากพลาสติกที่ห่อมันเอาไว้ เอาเลนส์ 50mm f/1.4 Summilux ASPH ที่เอาไปด้วย เมาท์กับตัวกล้อง … ตั้งแต่ความรู้สึกแรกที่เอาเจ้า M240 ออกจากกล่อง มาถือในมือหลังจากเมาท์เลนส์ … ทุกความรู้สึกผมมันบอกล่ะครับว่า มันคือ ….

“The Best Digital M”

แต่มันจะเป็นยังงั้นจริงหรือเปล่า … เรื่องนี้ “ยาว” ครับ

ก่อนจะอ่านต่อ ต้องบอกไว้ก่อนว่า .. นี่ไม่ใช่ “รีวิว” ของ M240 นะครับ แต่เป็นการเขียนถึงความรู้สึกต่างๆ จากการใช้งานจริงของผู้ใช้คนหนึ่ง ถึงจะออกแนวรีวิวมากกว่าทั้งสองตอนที่ผ่านมาก็เถอะ … ถ้าไม่ชอบบทความอารมณ์ “เล่าเรื่องราว” ก็ข้ามไปนะครับ อย่ากดเข้าไปอ่านต่อ :-)

Continue reading

The Other Path, The Other Way

[อัพเดท: 10/08/2013] เพิ่มเนื้อหาเล็กน้อย และรูป 1 รูป


จำเป็นด้วยหรือ ว่าจะต้องดูเส้นทางที่คนอื่นกำลังเดินอยู่ตลอดเวลา จำเป็นด้วยหรือ ที่จะต้องเปรียบเทียบทุกสิ่งทุกอย่างกับคนรอบข้างอยู่ตลอดเวลา … บางครั้ง เส้นทางที่ดูเหมือนจะสวนกับเส้นทางที่คนอื่นทั้งหมดกำลังเดิน มันอาจจะเป็นเส้นทางที่ดีกว่าก็ได้นะ

ถ้าเราเดินทางสวนกับคนอื่น หรือคนละทางกับคนอื่นซะบ้าง เราอาจจะไม่ต้องเจอสิ่งที่คนอื่นเขากำลังเจอ กำลังบ่น กำลังจะเจอ กำลังเสียเวลาเพื่อเผชิญและไม่รู้จะแก้มันยังไง ก็ได้นะ

หลายคนไม่ได้อยากแข่งขันอะไรกับใครหรอก แต่พอเดินทางเส้นเดียวกับคนอื่นมากๆ เข้า ถึงเราจะไม่อยากแข่งขันอะไรกับใคร การแข่งขันและเปรียบเทียบต่างๆ มันจะตามเรามาเองโดยที่เราไม่จำเป็นที่จะต้องเรียกร้องหรือต้องการมัน


L1000777.jpg

Contrast in a Way (ป.ล. ภาพนี้มีคำใบ้สำคัญอยู่ในภาพ..)
แถวสาทร ตอนเลิกงาน

Continue reading