คิดว่ามันมีกันมั้ยล่ะ
ถามผมนะ “ไม่มีหรอก” และที่แย่ คือหลายคนพูดแบบนี้กันในลักษณะ generality มาก เช่น “คนนี้เป็นคนเก่งนะ” หรือว่า “คนนี้เป็นคนดีนะ” อะไรทำนองนี้
คำถามที่น่าจะตามมาก็คือ แล้ว metric อะไรล่ะ เป็นตัววัด แล้ว fitness landscape ที่มันอยู่ล่ะ คืออะไร
ใครเล่น Genetic Algorihtm (GA) น่าจะรู้ดี ว่า solution หนึ่งใน population ต่อให้มันดีแค่ไหน เปลี่ยน fitness function นิดเดียว อาจจะเปลี่ยนจาก solution ที่ดีที่สุด กลายเป็น solution ที่ห่วยที่สุด และจำเป็นต้องถูก “คัดทิ้ง” อย่างไม่ใยดี ในพริบตา ก็เป็นได้
แต่ทำไมบางทีพอมาถึง “คน” เรากลับ superficial กับมันจัง … เราพูดถึงมัน ยังกับมันวัดเป็น general ได้ หรือว่ามี universal fitness function ที่ครอบคลุมทุกอย่าง พอ “ดี” หรือว่า “เก่ง” อย่างหนึ่ง แล้วมันกลายเป็น general ได้มากมายมหาศาล
ยกตัวอย่างกันนิดนึงมั้ย
บางคน อาจจะเป็น programmer ที่ “เก่ง” (ไม่ใช่ผมนะ ผมกำลังพูดถึงใครก็ไม่รู้ เป็น Mr. T คนหนึ่งก็ได้นะ) แต่ว่าอยากจะทำอะไรบางอย่างที่ตัวเองไม่มีความสามารถ ความเหมาะสม เช่น อยู่ดีๆ อยากจะหยิบมีดมาผ่าตัด โดยตัวเองไม่มีความสามารถ
แล้วดันมีคนบอกว่า ก็น้อง/พี่/คนนี้ เป็นคน “เก่ง” นะ ก็ “ต้องช่วย” ให้ได้งานผ่าตัดนี้ให้ได้
Make sense มะ? ใครก็คงจะตอบได้ว่า “ไม่เห็นจะ Make sense ตรงไหน”
แต่ว่าพอมาถึงเรื่องความดี ทำไมมันไม่เป็นแบบนี้บ้างหว่า ทำไมมันเหมือนจะมี “ความดี” แบบ general กันได้ด้วยแฮะ ทั้งๆ ที่ environment และสิ่งที่อยู่ใน environment มันน่าจะเป็นตัวที่ define fitness function พวกนี้เหมือนกันนะ (เช่นเดียวกับที่ programmer คนนั้น อาจจะผ่าน fitness function ของการเขียนโปรแกรมด้วยคะแนนแบบ topๆ แต่ว่า fitness function ของการผ่าตัดกลับตกระนาว)
ผมกำลังพูดว่า คิดยังไงกับประโยคนี้
“ก็เค้าเป็นคนดี ก็ต้องช่วย”
อืมมม ส่วนมากอาจจะเห็นด้วยแบบไม่ต้องคิดมากก็ได้นะ แต่ว่าพอดีมันคนละ environment กันน่ะสิ ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุด ก็คงเป็นงี้:
มีแฟนคู่หนึ่งทะเลาะกัน จะเลิกกัน ฯลฯ หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ แล้วก็มีคนพยายามจะช่วยเหลือเกินที่จะเป็นตัวประสานระหว่างสองคนนี้ ว่า “ก็เค้าเป็นคนดี ก็ต้องช่วย”
อืมมม การเป็น “คนดี” ใน fitness function ของ “คนรู้จัก” หรือว่า “เพื่อนแฟน” หรือว่า “messenger” หรือว่าแม้แต่ “คนในสังคม” จำเป็นด้วยหรือว่าจะต้องเป็น “คนดี” ใน fitness function ของ “แฟน” ซึ่งแต่ละตัวมันก็คนละ environment คนละตัว evaluate คนละ fitness function
ซึ่งแน่นอนว่าอาจทำให้ solution ที่ “ดี” หรือแม้แต่ “ดีที่สุด” ของ landscape หนึ่ง กลายเป็น solution ที่ห่วยที่สุดไปเลยก็ได้
ให้คนที่เป็น “แฟน” เค้า เป็นคนพูดจะดีกว่ามั้ย สรุปว่า ไอ้พวก “เพื่อนๆ” หรือ “ผู้หวังดี” เนี่ย กรุณาสงบปากสงบคำ เงียบๆ ไว้ไม่ต้อง “เสือก” จักเป็นพระคุณยิ่ง
(ขอโทษที่ต้องใช้คำแรง อารมณ์มันพาไป แต่จริงๆ มัน nothing personal อ่ะนะ .. เพียงแต่ว่าเขียนแบบนี้ได้อารมณ์ดี ถ้าไม่เหมาะสมก็ขออภัยผู้อ่านด้วยครับ)
ก็ทำนองว่า นกมันจะบินเก่งแค่ไหน ลองจับมันไปว่ายน้ำเล่นสิ หรือว่าปลามันจะว่ายน้ำเก่งแค่ไหน ลองจับมันไปโยนขึ้นฟ้าสิ … นั่นแหละ
มันก็แปลกดีนะ พอเป็นเรื่อง “เก่ง” เนี่ย มันพอจะเข้าใจได้ง่ายหน่อย ว่ามันไม่ข้าม field of expertise เท่าไหร่หรอก ถึงจะมีหลายคนที่เก่งแบบ แทบทุกเรื่องก็ตาม
แต่ว่าพอมาเป็นเรื่อง “ความดี” เนี่ย มันกลับมีความคิดแบบ universal/general ได้ซะงั้น
เคยอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ตอนเรียน ป.ตรี (ซักปีสามได้มั้ง) ชื่อ The Labyrinth of Reason (หนังสือเก่าหน่อย ตั้งแต่ปี 89 ตอนนี้คงอยู่ในตู้ซักตู้ใน office) มีบทหนึ่งที่คิดว่าเข้าท่านะ คือ Anything confirms Anything หรือว่าอะไรทำนองนี้แหละ …. ก็เขียนเรื่องทำนองนี้ไว้เหมือนกัน ว่าบางทีเราก็เอาความจริงเรื่องหนึ่ง ไป confirm เป็นตุเป็นตะกับเรื่องโน้นนี้คนละเรื่อง ไว้วันหลังจะเล่าให้ฟังละกันครับ
ทิ้งท้ายนิดนึงดีกว่า …
All forms of generalization are false; including this one.