Pencast วิชา Visual Simulation ครั้งที่ 3

เริ่มใช้ pencast กับวิชาอื่นที่สอน นอกจาก User Interface บ้าง วิชานี้เป็นวิชา Visual Simulation สอนให้กับคณะ ICT ซึ่งเนื้อหาหลักเป็น “การสร้างแบบจำลอง” ที่เหมือนจริง ซึ่งผมอยากจะโฟกัสแค่การสร้าง Texture ของลวดลายต่างๆ ทั้งที่เป็นลวดลายธรรมชาติและไม่ธรรมชาติ และการจำลองสถานการณ์ต่างๆ ที่บางทีอาจจะไม่ใช่ Direct simulation แต่แค่ให้ได้ความรู้สึกเหมือนจริง ซึ่งก่อนอื่นจะต้องศึกษาเรื่อง Procedural Texture Generation และ “ธรรมชาติของ Patterns” เสียก่อน ทำให้วิชานี้อาจจะมี nature แปลกๆ หน่อยสำหรับสาขา animation เนื่องจากจะมีคณิตศาสตร์ปนๆ อยู่บ้่าง (แต่ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะว่าการสร้าง texture หรือการศึกษา CGI; computer generated imaginary นี่ แทบจะเป็น math กันล้วนๆ ในเบื้องหลัง) ก่อนที่จะไปถึงเรื่อง Fractals ซึ่งเป็น “พระเอก” ของวิชา ต่อไป

สำหรับ Pencast ครั้งนี้จะ ตะกุกตะกักเล็กน้อย (เนื่องจากตัวเองก็ไม่ได้พูดเรื่องทำนองนี้มานานพอควร แล้วปกติจะพูดเรื่องทำนองนี้แต่กับพวกที่มี background เป็น math) และมีบางส่วนที่ไม่ได้ลงตรงนี้ เนื่องจากเปิดหน้าหนังสือลงใน visualizer และตัว pencast ไม่ได้บันทึกตรงนั้นไว้ให้ และการสนทนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างพักจะถูกตัดหมด และ 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ไม่มีการบันทึกไว้ ดังนั้นหลายท่านที่มาฟัง อาจจะรู้สึกไม่ต่อเนื่อง หรือช่วงการ “Intro” มันหายไป ขออภัยด้วยครับ

ป.ล. สำหรับน้องคณะ ICT ที่ใช้งานครั้งแรกนะครับ ช่วย รอหน่อย นะครับ เพราะว่ามันต้องทำการ download ไฟล์เสียงทั้งหมดก่อน ไม่งั้นเสียงไม่มา ก็ขนาดไฟล์ตามที่ผมระบุนะครับ

  1. ตอนที่ 1: Procedural Generation Introduction ขนาด 7.5 MB

  2. ตอนที่ 2: Patterns & Textures ขนาด 8.9 MB

  3. ตอนที่ 3: 1D Texture generation with simple Dynamical Equation (& Glimpse of Fractals) ขนาด 4.3 MB

ไฟล์เอกสาร (PDF) ครับ: VS3_1.pdf, VS3_2.pdf, VS3_3.pdf

Life


Life

Nikon D3s, 14-24/2.8, 14mm, f/4, 1/800s, ISO 200. (click for bigger size)

ชีวิตเกิดขึ้นได้ทุกที่บนโลกนี้ ไม่ว่าสภาพแวดล้อมจะเป็นยังไง ถ้ามีความเหมาะสมต่อการเกิดได้แม้เพียงนิดเดียว ชีวิตก็เกิดขึ้นมาได้เสมอ

ผมถ่ายรูปนี้ด้วยความรู้สึกแบบนั้น รู้สึก amazing มากที่เห็นต้นไม้ที่มีลักษณะเป็นต้นไม้ยืนต้น โตขึ้นมาในบริเวณวัดจมน้ำ-เมืองบาดาล ที่สังขละบุรี ซึ่งปกติจะจมน้ำอยู่ และโผล่พ้นน้ำขึ้นมาเพียงปีละไม่นานเท่านั้น

ธรรมชาติยืนยาว อารยธรรมมนุษย์แสนสั้น สิ่งที่เราสร้างขึ้น ก็เหลือเพียงซากปรักหักพังไปตามกาลเวลา แม้มนุษย์จะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาเท่าไหร่ หรืออยู่นานค่ไหน จากสายตาของธรรมชาติแล้ว อารยธรรมมนุษย์ทั้งอารยธรรม ก็คงไม่ต่างอะไรจากประกายไฟแว๊บเดียว แล้วก็หายไป

เราเหนื่อยไหม กับการพยายามสร้าง? ไม่ว่าจะสร้างงาน สร้างเพื่อน สร้างความดี สร้าง ฯลฯ ลองดูธรรมชาติบ้าง ที่สร้างทุกอย่างขึ้นมาเรื่อยๆ อย่างไม่มีเหน็ดมีเหนื่อย ไม่ใช่แค่บนโลกนี้ แต่ทั้งจักรวาลที่กว้างใหญ่ไพศาล แม้ว่าเราจะทำลายธรรมชาติไปเท่าไหร่แล้วก็ตาม

เอ… หรือว่าที่ธรรมชาติไม่เหนื่อยที่จะสร้าง ก็เพราะว่าทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงประกายไฟแว๊บเดียวเท่านั้น เค้าไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรด้วย ไม่ว่าเราจะทำลายเท่าไหร่ …​หรือว่าสิ่งที่ธรรมชาติสร้างแล้วไม่กลับมาทำร้ายเค้า ในที่อื่นๆ มันเยอะเสียจนเศษเสี้ยวเดียวบนโลกใบนี้มันเล็กน้อยจนไม่มีความหมายอะไรก็ไม่รู้

ป.ล. ตอนที่ผมถ่ายรูปนี้ น้ำยังค่อนข้างจะเยอะอยู่ ไม่น้อยจนน่ากลัว/น่าเป็นห่วงเหมือนที่เราดูข่าวกันทุกวันนี้ ไม่รู้ว่าต้นไม้ต้นนี้จะเป็นยังไงบ้างแล้ว ถ้าน้ำจะเริ่มท่วมเขื่อนอีกทีเมื่อไหร่ คิดแล้วก็สงสารเหมือนกันนะ อุตส่าห์เกิดและโตขึ้นมาได้ทั้งที

Pencast จากวิชา UI วันที่ 6/21

วันนี้มี 4 ตอนครับ โดยไอเดียเป็นการเกริ่นเรื่อง Application Design ในโลกที่เต็มไปด้วย Data และแนวคิดที่ว่าโปรแกรมควรออกแบบเพื่อ maximize ความสามารถในการบริหารจัดการข้อมูล/สารสนเทศ … อ่อ แล้วครั้งนี้เสียงอาจจะแปลกๆ หน่อยนะครับ เพราะว่าใช้ไมโครโฟนครับ ปกติจะพูดดังๆ เอา แต่วันนี้ไม่ไหว เสียงค่อนข้างพัง พูดดังไม่ได้ เลยใช้ไมค์

  1. ตอนที่ 1: Data and UI Design (ไฟล์เสียง 6.1 MB และไฟล์ PDF UI_6_21_1.pdf)

  2. ตอนที่ 2: Metadata (ไฟล์เสียง 4.4 MB และไฟล์ PDF UI_6_21_2.pdf) เป็นเรื่อง surprise ผมมากพอสมควรเลยนะ ที่น้องๆ ปีสาม ไม่รู้จัก Metadata กัน หลายคนไม่เคยได้ยิน ไม่เป็นไร ก็สอนซะหน่อย เพราะว่านี่เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้เราเล่นกับข้อมูลได้หลากหลายและสนุกเลย

  3. ตอนที่ 3: Applications and Data (ไฟล์เสียง 5.6 MB และไฟล์ PDF UI_6_21_3.pdf)

  4. ตอนที่ 4: Application and Data (QA) (ไฟล์เสียง 2.9 MB และไฟล์ PDF UI_6_21_4.pdf) พอดีมีน้องคนนึงถามว่า “แล้วการเปลี่ยนจาก Application แบบเปล่าๆ เป็น Application+Data ต้องทำไงบ้าง” คิดว่ามีประเด็นดีะน ก็เลยพูดยาวหน่อย

น้องๆ ที่ลงวิชานี้อย่าลืมการบ้านนะครับ keyword ในการตั้ง subject ของ e-mail คือ app+data ครับ และช่วยๆ รบกวนทำการบ้านให้เหมือนกับว่าอยากจะผ่านวิชาหน่อยนะครับ

Positive Thinking to change Petsitive World

เป็นชื่อของ presentation ที่ผมนำเสนอในงาน Ignite Thailand (หรือ hashtag #igniteTH) ครับ ซึ่งจริงๆ แล้วผมอยากจะเปลี่ยนชื่อมันนิดหน่อย เป็น “How to Change Petsitive to Positive World” นะครับ แต่ไม่เป็นไร ชื่อเดิมก็สวยดี

ใจความสำคัญของ presentation นี้ อยู่ที่ทัศนคติพื้นฐาน 4 ข้อ ง่ายๆ เริ่มได้ที่ตัวเอง ในการที่จะเปลี่ยนโลกที่มัน “เ-ี้ย” (Petsitive World; ศัพท์บัญญัติเอง จากตัวการ์ตูน @petdo ซึ่งเป็น “สัญลักษณ์แห่งพฤติกรรมเ-ี้ย”) หรือโลกที่โคตรจะติดลบ ให้กลายเป็นโลกที่เป็นบวก

เนื่องจาก background ผมมาจากการศึกษา Chaos Theory ดังนั้นผมเชื่อว่าในระบบ Complex System ที่ Far-From-Equilibrium นั้น การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อเนื่องได้ ในทั้ง space-time (dynamical system) จะส่งผลกระทบอย่างมาก ถึงขนาดเปลี่ยนระบบจากหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อระบบมันรันตัวเองไปสักระยะหนึ่ง เช่น การกระพือปีกของผีเสื้อในบราซิล สามารถส่งผลให้เกิดพายุกระหน่ำกรุงโตเกียว ในอีกหนึ่งสัปดาห์หรือหนึ่งเดือนให้หลังได้

Slide สำคัญ 9 slides จากงานนี้ครับ โดยผมตั้งใจเล่นโทนขาว-ดำ ให้มันตัดกันชัดเจน (รวมทั้งการแต่งตัวของผมด้วย ที่ใส่เสื้อดำ กางเกงขาว … ตั้งใจเสียดสี ไม่ใส่เสื้อขาวกางเกงดำ เพราะ สีดำ มันจะได้ปิดทับหัวใจ และสีขาว อยู่ติดดินกว่า)


9 key slides from my ignite thailand

ธีมหลักคือ: เปลี่ยนทัศนคติพื้นฐาน แม้เพียงนิด อะไรๆ มันก็เปลี่ยนไปเยอะแล้ว

คนคิดลบ คิดทุกอย่างเป็นลบหมด ได้ยินทุกอย่างเป็นเสียงด่า และไม่มีความสุข ในขณะที่คนคิดบวก ได้ยินทุกอย่างเป็นการให้กำลังใจ และการให้โอกาสทั้งหมด ซึ่งใน Ignite นี้ ผมได้ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น คำว่า ไอ้ชั่ว ไอ้เชี่ย ไอ้เหี้ย … เราแน่ใจว่าเราได้ยินเช่นนั้น แต่เป็นแบบนั้นจริงๆ เหรอ? คิดบวกซะหน่อย มันอาจจะไม่ได้เป็นแบบนั้นก็ได้ เพราะคำว่า I sure, I cheer, I hear นั้นใกล้เคียงกันมาก ซึ่งเรื่องนี้มีผลนะครับ เช่น

  • ในวิชาสัมมนาของนักศึกษา นักศึกษาส่วนมากจะกลัวอาจารย์ถาม ไม่รู้จะกลัวไปทำไม เพราะคิดว่าอาจารย์จะดุ ด่า ว่า กล่าว หรือแย่กว่านั้นก็คือ อาจารย์แกล้งให้เสียหน้าต่อหน้าเพื่อนๆ ฯลฯ นั่นเป็นตัวอย่างของการคิดลบ ถ้าคิดบวก คำถามเดียวกัน อาจารย์คนเดียวกัน ก็จะกลายเป็น อาจารย์ถามเพื่อให้เรารู้ เพื่อให้เราได้ลองตอบ เพื่อชี้ทางให้เรา ฯลฯ

การจะเปลี่ยนโลกที่มันเ-ี้ยๆ ให้กลายเป็นโลกที่มันดี ไม่ยากอย่างที่เราคิด เริ่มที่ตัวเรา ด้วยทัศนติ ที่เปลี่ยนไปนิดเดียวพอ โดยคีย์ของมันคือ “มองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของระบบ” อย่ามองระบบแยกจากตัวเอง

  1. อย่าดีแต่เห็นแต่ปัญหา (See Problem) เหมือนกับป้ายโฆษณาหาเสียงผู้ว่า กทม. สมัยหนึ่ง เห็นปัญหาอย่างเดียว ไม่ยากหรอกครับ ท่านเห็นปัญหา ท่านไม่เก่งหรอกครับ เชื่อผมเถอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าปัญหาที่ท่านเห็น เป็นปัญหาที่อยู่กับคนอื่น ส่วนอื่น ให้ลองเปลี่ยนเป็น มองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เรามีส่วนในการทำให้ปัญหานี้เกิดขึ้นมาอย่างไร ถ้าเราแก้ที่ตัวเรา ปัญหามันก็จะแก้ตัวมันเอง (Solve Problem) หรือถ้ายุ่งยากนักล่ะก็ อย่าดีแต่ด่า ให้เสนอตัวมาแก้ปัญหาซะ
  2. อย่ามองระบบแบบแยกส่วน และพยายาม maximize แต่ละส่วน เพราะว่ามันน้อยครั้งเหลือเกิน ที่ optimum ของระบบ มาจาก maximum ของแต่ละส่วนของระบบ ใครที่เคยอ่านหรือศึกษา Game Theory (แค่ Prisoner’s Dilemma ก็พอ) จะเข้าใจดี ว่าหากว่าแต่ละส่วนย่อยของระบบ พยายาม maximize เฉพาะของตัวเองแล้ว ระบบใหญ่ ระบบหลัก มันจะห่วยมาก แย่มาก
  3. อย่าเลือกที่การได้รับประโยชน์ (Take) แต่ให้เลือกการได้สร้างประโยชน์ (Give) การที่คนหมู่มากเลือกด้วยเหตุผลที่ตัวเองได้รับประโยชน์ โดยไม่ต้องทำอะไร ก็ไม่ต่างอะไรกับการรวมหัวกันปล้นระบบหลัก ซึ่งการ maximize parts และ takes นี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “พลีชาติ เพื่อชีพ” ไม่ใช่ “พลีชีพ เพื่อชาติ”
  4. ทุกปัญหาย่อมมีสาเหตุ เช่นเดียวกับทุกๆ เรื่อง ที่ย่อมมีสาเหตุ แต่เรามักจะทุกข์กับผลของปัญหา (นั่นคือ ปัญหาเกิดจากสาเหตุบางประการ แต่เมื่อปัญหาเกิดแล้ว เราทุกข์จากผลของมัน) ถ้าเราแก้แค่เหตุที่เราทุกข์ (ผลของปัญหา) ปัญหานั้นจะไม่หายไป เพียงแต่เราปัดมันพ้นตัวเราไปเฉยๆ

แก้ได้แค่นี้ ก็ไม่ Petsitive แล้ว

ยกตัวอย่างเช่น เรื่องการจราจร ใครๆ ก็เบื่อ “รถติด” ใครๆ ก็รู้ว่า “รถติด” เป็นปัญหา ใครๆ ก็เห็น ดังนั้นอย่าดีแต่เห็น จะแก้มันยังไง? บางคนเริ่มบอกผู้ว่า กทม. บางคนเริ่มโยนให้คนโน้นคนนี้ บางคนเริ่มวิเคราะห์มากมาย เพราะทุกๆ อย่าง …. ลองดูนี่


P1000972.jpg

  1. ตอนที่เราบ่นว่ารถติด เราอยู่ที่ไหน? ครับ อยู่บนถนน งั้นเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้รถติดครับ ไม่เชื่อถามคันข้างหลังดูครับ ถ้างั้นก่อนที่จะไปบอกผู้ว่า กทม. มาดูสิ่งที่เราทำได้ก่อนครับ ว่ามีอะไรบ้าง
  2. ตระหนักเสียก่อน ว่ามันมี “ส่วนรวม” (Whole) คือ “ถนน” หรือ “การจราจร” และ “ส่วนย่อย” (Parts) ซึ่งก็คือรถแต่ละคัน เราแต่ละคน ถ้าเราคิดแต่จะ Maximize แต่ละ part นั่นคือ ฉันต้องได้ไปก่อน ขอฉันไปก่อน เลนฉันช้าเปลี่ยนไปอีกเลน ฯลฯ เอาแต่ตัวเองได้ไปก่อน คนอื่นช่างกัน โดยลืมกันไปหรือเปล่าว่า เราควร optimize “การจราจร” ให้ถนนทั้งเส้นมันเร็วที่สุด ไม่ใช่เอาแต่ตัวเองรอด ได้ไปก่อน คนอื่นช่างมัน
  3. งั้น Give vs. Take ล่ะ? อันนี้คือ “ทางเลือก” ของเรา เมื่อเรามีทางเลือก เราจะทำอะไรระหว่าง “ให้กับการจราจร” หรือ “เอาผลเข้าตัวเอง” นั่นคือ การเลือกให้ ในสิ่งที่จะทำให้การจราจรมันลื่นกว่า
  4. แล้วแก้ปัญหาที่เหตุล่ะ? ไหนล่ะ … ย้อนกลับไปดูตั้งแต่ข้อ 1 ครับ …. เป็นยังไงครับ แก้ที่เหตุแล้วหรือยัง? ไม่ใช่แค่ปัดพ้นๆ ตัว รีบๆ ขับ ขอกูไปก่อน ผ่านตรงนี้ไปก็พอแล้ว ฯลฯ ซึ่งเป็นการแก้ที่เหตุที่เราทุกข์ และให้คนอื่นทุกข์ต่อ ทั้งนั้น

แค่นี้แหละครับ ปัญหาหลายอย่างจะดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ โลกนี้จะน่าอยู่ขี้นอย่างไม่น่าเชื่อ …. เชื่อมั้ย?


บล็อกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (บอกกันได้นะครับ แล้วผมจะใส่ไว้เรื่อยๆ)

Pencast: Digital Camera Image Sensor 101

ตั้งแต่งาน WWDC มีเสียงเรียกร้องให้ผมอธิบายเรื่อง Backside Illuminated Sensor หลายเสียง และเนื่องจากตัวเองก็เคยเขียนเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว เลยจัดเต็มเลยดีกว่า ไม่เฉพาะกับ Backside Illuminated ล่ะ ก็พบกับ Pencast ความยาวประมาณ 9 นาทีครึ่งตอนนี้ได้ครับ

ป.ล. ขนาดไฟล์เสียงตอนนี้คือ 1.9 MB นะครับ น่าจะโหลดได้เร็วกว่าของตอนที่ผมบันทึกจากการสอนในห้องเรียนเยอะ แต่ก็เหมือนเดิมนะครับ รอโหลดนิดนึง

ส่วนนี่ก็เช่นเดิมครับ PDF ที่ export มา:
6.16.Digital_Image_Sensor_101.pdf

Pencast จากที่สอนวิชา UI วันที่ 6/14

Pencast ข้างล่าง 3 อันนี้ เป็นการบันทึกสดจากการสอนวิชา User Interface Design และ Human-Computer Interaction ครั้งที่ 3 (สองครั้งแรก ไม่มีการบันทึก เพราะยังไม่มีของเล่น แต่ว่าเนื้อหาจะยังคงไม่มีอะไรมากมายนัก และส่วนหนึ่งก็ได้พูดถึงซ้ำในวันนี้)

เนื้อหาคร่าวๆ ในวิชานี้ ผมไม่ได้ต้องการเพียงแค่ว่าหลักการในการออกแบบ User Interface เท่านั้น แต่จะรวมถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บ requirement เพื่อให้ได้มาซึ่ง User Experience (UX​) ที่ดี และการนำความรู้เรื่องอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นหลักการ 80:20 หลักการทำงานของสมองเพื่อให้ได้มาซึ่ง creativity การสร้าง innovation การศึกษาและระบุตลาดของซอฟต์แวร์ และความสร้างความสามารถในการแข่งขันโดยให้ User Interface, User Experience ที่เหนือกว่า เรื่องต่างๆ จาก Game Theory (เช่น Prisoner’s Dilemma) เป็นต้น

เนื้อหาด้านล่างนี้ แบ่งเป็น 3 ส่วน ตามที่ผม lecture ซึ่งในส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่ผมนึกออกระหว่างสอน ว่าน่าจะพูดถึง น.ศ. จะได้ทราบบ้าง ว่าสมองทำงานอย่างไร ไอเดียต่างๆ ซึ่งเป็นนวัตกรรมได้ มันจะมาจากไหน ก็เลยสอนสดๆ เลย โดยแต่ละส่วนนั้น ขั้นด้วย discussion ที่ไม่ได้บันทึกไว้ ซึ่ง น.ศ. ที่ไม่ได้มาเรียน ก็น่าเสียดายแทนด้วย แต่ไม่มีอะไรมากหรอกครับ เพราะว่าส่วนมากก็เป็นเกร็ดเล็กน้อยเสียมากกว่า

ป.ล. เสียงอาจจะมาช้านะครับ อาจจะต้องรอมัน stream เสียงนิดนึง ส่วนภาพคงไม่มีปัญหา เพราะจากที่สังเกต ทาง Livescribe ใช้วิธีการสร้างจาก coordinate data (x, y, t) ส่วนเสียงนี่เป็น audio streaming ธรรมดา

หมายเหตุ มีการแจ้งว่า กด play บนนี้แล้วเล่นไม่ได้ ไปเล่นบนหน้าเว็บของ livescribe เองก็ไม่มีเสียง …​ ผมเข้าใจว่าพอกด play ไปแล้ว มันจะเริ่ม download ไฟล์เสียงครับ ซึ่งจะใช้เวลาหน่อย ในกรณีที่ไฟล์เสียงมันใหญ่ การ streaming ของเสียงอาจจะไม่ดีพอครับ คิดว่าใช้การ download ทั้งไฟล์ ขออภัยในความไม่สะดวกครับ จะติดต่อกับทาง livescribe เพื่อบอกปัญหานี้ต่อไปครับ …. กด play แล้วรบกวน “อดทนรอ” หน่อยนะครับ

ส่วนนี่คือ PDF ที่ export มาจากที่เขียนครับครับ

หวังว่าคงเป็นประโยชน์นะครับ ฟังเล่นเพลินๆ ละกันนะครับ

Pencast: 80/20 & IT ตอนที่ 1

กฏ 80:20 หรือ Pareto’s Principle เป็นเรื่องที่ผมใช้งานค่อนข้างเยอะครับ และต้องอธิบายซ้ำไปซ้ำมาค่อนข้างบ่อยเลย ในแทบทุกคลาสที่ผมสอน กับแทบทุกคนที่ผมคุยด้วย จะต้องมีเรื่องนี้อยู่ด้วยเกือบจะเสมอ ก็เลยคิดว่า น่าจะทำ slideshare หรือว่า video ลง youtube เอาไว้อ้างอิงทีเดียวเลย

แต่ว่าพอดีเร็วๆ นี้ผมได้ของเล่นใหม่มา คือ Pulse Smartpen ของ Livescribe ซึ่งทำ “Pencast” ได้่ คิดว่าเจ๋งดี เลยลองซะหน่อย ถ้าเป็นไงก็บอกด้วยนะครับ จะได้ทำต่อไปครับ

อันนี้เป็น Embedded Video (Flash) นะครับ แล้วก็ดู Full-screen ได้ (ถ้าไม่ดู คงจะอ่านไม่ออก) และจะเป็นการ trace การเขียนคู่ไปกับการพูดเรื่อยๆ ส่วนไฟล์จริง upload ไว้ที่ Livescribe.com ครับ … อ่อ และขออภัยเรื่องเสียงนะครับ ยังตะกุกตะกักอยู่บ้าง เขินๆ น่ะ (และอดนอนด้วย ฮาๆ กันไป)

ป.ล. มัน fully-interactive นะครับ คือ คลิกตรงไหน มันจะเริ่มพูดที่ตรงนั้น

ป.ล.2 อีกอย่าง ผมลายมือห่วยครับ –‘

80:20 and IT #1
brought to you by Livescribe


ไฟล์ PDF ตามที่เขียนครับ
80-20-and-IT-1.pdf