2D Dock กับ Leopard

ผมไม่ค่อยจะถูกชะตากับ new 3D Dock ของ Mac OS X 10.5 Leopard ตั้งแต่มันถูกประกาศแล้ว เพราะว่านอกจาก eye-candy แล้วไม่เห็นมันจะช่วยให้ usability มันดีขึ้นตรงไหน เผลอๆ จะทำให้แย่ลงด้วยซ้ำ เพราะว่ามันทำให้ Dock มัน high-profile ขึ้น มันมีความรู้สึก in-your-face มากขึ้น มัน visible มากขึ้น ซึ่งพวกนี้มักจะไม่ค่อยดีต่อ usability เท่าไหร่ (ในกรณีนี้)

จากข่าวล่าสุด สำหรับ build 9A581 (ที่น่าจะเป็น Gold-master) รู้สึกว่า Dock มันจะกลายเป็น 2D เมื่อวางไว้ด้านข้างของจอ (macrumors.com) ก็ลองเทียบกันดูกับ build เก่าๆ ที่ยังเป็น 3D อยู่แล้วกัน ว่ามันดูดีกว่ากันแค่ไหน




(ภาพจาก macrumors.com และ rogueamoeba.com ตามลำดับ)

ไม่พอ มีคนเจอ ว่าถ้าต้องการจะเอา 3D ออกแม้ว่าจะอยู่ข้างล่าง ก็ยังคงทำได้โดยอาศัย trick เก่าๆ บน Terminal แล้วก็พวก defaults write [option] ทั้งหลายแหล่ที่มีมาตั้งแต่โบราณ (สมัย NeXT โน่น)

defaults write com.apple.dock no-glass -boolean YES

จากนั้นก็ restart Dock ใหม่ (อาจจะ killall Dock ไปเลยก็ได้) แล้วก็จะได้ 2D Dock ที่ “เกือบ” เหมือนเดิม


(ภาพจาก lime.quickshareit.com)

ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยัง high-profile อยู่ดี เทียบกับ Dock ตัวปัจจุบัน เพราะว่ามันยังมีขอบ มี texture มีอะไรมากเกินไป แต่ว่าก็ยังน่าจะดีกว่า 3D Dock ล่ะนะ

วิวัฒนาการของ Dock

อ้างอิง: Road to Mac OS X Leopard: Dock 1.6 โดย Prince McLean

Dock ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ Interface หลักใน Mac OS X (และ Desktop อีกหลายตัว) ซึ่งตัว Dock นี้วัตถุประสงค์หลักของมันก็คือไว้เก็บ Application ที่ใช้บ่อยๆ (ย้ำ บ่อยๆ) หรือว่าใช้เป็นงานหลัก เพื่อให้เข้าถึงง่ายและเรียกใช้ได้เร็ว แต่ว่าหลายๆ คนกลับเอาโน่นเอานี่ใส่ไว้เยอะแยะมากมายมหาศาล (โดยเฉพาะโปรแกรมในชุด iLife หลายตัวที่อาจจะแทบไม่ได้ใช้ หรือว่าใช้นานๆ ครั้ง) ทำให้ Dock มันรก และไม่สะดวกในการใช้งาน



[ภาพ Dock ใน OS X 10.5 จาก AppleInsider]

จริงๆ แล้วในปัจจุบันก็ค่อนข้างที่จะ controversial มากพอควร ว่าจริงๆ แล้วการใช้งาน Dock ในลักษณะแบบนั้นนี่จะเหมาะสมดีจริงๆ หรือเปล่า เพราะว่าจริงๆ แล้วมันทำให้มีการเลื่อน mouse เยอะพอดู (แต่ว่าก็ยังน้อยกว่าการค้นจาก Application folder หรือ Start Menu) และถ้าเราเป็นคนมักมากก็คงจะเอาโปรแกรมโน้นนี้ไปใส่ไว้ใน Dock เกือบหมด ซึ่งทำให้การใช้งาน Dock มีความสะดวกน้อยลง (เพราะว่า icon เล็กลง การหาเสียเวลามากขึ้น) … ยิ่งถ้าเป็น QuickLaunch ของ Windows ด้วยยิ่งไปกันใหญ่ เพราะว่ามันไปแย่งที่อยู่กันเองกับ Taskbar



[ภาพจาก QuickLaunch & Taskbar จาก AppleInsider]

Controversial ที่ผมว่านี้ ส่วนหนึ่งก็คือ Dock ไม่ได้เหมาะสมเท่าไหร่ในฐานะของ Application Launcher หรือเปล่า เพราะว่าเวลาเราจำโปรแกรม ส่วนหนึ่งเราจะจำเป็นชื่อ และหลายครั้งที่เราใช้งานคอมพิวเตอร์ มือของเราจะอยู่ที่ keyboard ไม่ใช่ mouse ทำให้มีคนพัฒนาโปรแกรมในลักษณะ Application Launcher ที่เรียก shortcut (มักจะเป็นการกดปุ่มบน keyboard สองปุ่มหรือว่าสามปุ่มพร้อมกัน) แล้วพิมพ์ชื่อโปรแกรมลงไปมากกว่า เช่น QuickSilver บน Mac OS X เป็นต้น

บทความที่ผม link มาด้านบน​ มีเรื่องวิวัฒนาการของ Dock ตั้งแต่เริ่มต้นใน RISCOS เป็น NeXT เป็น Newton เป็น … และมาลงเอยด้วย Mac OS X และครอบคลุมถึง feature ใหม่ๆ ใน Mac OS X 10.5 Leopard ด้วย (เช่น Stacks) เป็นบทความที่ยาว 3 หน้า แต่ว่าเป็นเรื่องวิวัฒนาการของ Dock หน้าเดียว นอกนั้นเป็น Dock ใน Leopard

Stacks สำหรับ Dock ใน OS X 10.5 นี่เท่าที่อ่าน (ยังไม่ได้สัมผัส) ก็น่าจะเข้าท่าทีเดียว แต่ว่าจะทำให้การใช้งานง่ายขึ้น หรือว่าเพิ่มความซับซ้อนในการใช้งาน (และ visual effect) โดยใช่เหตุ ก็ยังเป็นประเด็นที่จะต้องขอดูต่อไปก่อน

เสียดาย ที่บทความที่ว่า ไม่ได้พูดถึง Dock ใน Desktop Environment อื่นๆ เลย แต่ว่าก็ไม่เป็นไร เพราะว่าเค้าอยากจะเขียน focus ไปที่ Dock ของ OS X รุ่นใหม่ ก็เลยไม่ได้ focus ไปที่ตัวอื่น

เอาไว้ถ้ายังไงผมจะลองเขียนๆ ให้อ่านเองก็แล้วกันครับ (สัญญาอีกล่ะ) เหมือนกับที่เคยเขียนเรื่อง History of Modern Mac Operating Systems: Mac OS 8, 9 and X ไว้เมื่อนานมาแล้ว (จริงอยากจะขยายเป็นหนังสือ เรื่องประวัติ Modern OS ซักเล่ม แต่ว่าท่าทางจะยาว…… ข้อมูลมันเยอะมาก ยิ่งพวกสาย Linux, BSD เนี่ย เยอะสุดๆ)

Caps Lock บน Apple Keyboard ใหม่ แข็งเพราะจงใจ?

ตอนที่เขียน รีวิว Apple Keyboard ใหม่ ไปใน blog คราวก่อน ผมค่อนข้างจะบ่นเรื่องที่ปุ่ม Caps Lock มันแข็งกว่าปกติ ซึ่งก่อปัญหาให้กับผมเวลาใช้งานพอสมควร เนื่องจากตัวเองใช้ปุ่ม Caps Lock ในการสลับภาษาแบบเร็วๆวันนี้ไปเจอมา ว่าจริงๆ แล้วนี่อาจจะเป็น ความตั้งใจ ของ Apple ที่ทำให้ Caps Lock แข็งกว่าปกติ

อืมมม ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง และลองคิดถึงว่า จริงๆ แล้วก็มีคนกดปุ่ม Caps Lock ผิดแบบไม่ได้ตั้งใจ (เพราะว่าคิดจะกด tab หรือ shift ด้านซ้ายมือ) เยอะพอสมควร … จะว่าไปปุ่ม Caps Lock มันก็เป็นปุ่มที่ใช้งานน้อยพอสมควรปุ่มหนึ่งล่ะนะ ดังนั้นถ้าจะมองจาก Usability design ที่จะป้องกันความผิดพลาดล่ะก็ มันก็ make sense อยู่ล่ะ คือ ถ้ากดผ่านๆ แบบแตะๆ มันก็จะไม่ถือว่าเรากด ดังนั้นต้องกดนานกว่าปกตินิดนึง ซึ่งก็จะทำให้จังหวะการพิมพ์มันเสียไปนิดหน่อย หรือว่ากดแบบเน้นๆ นิดนึง ซึ่งจะเปลืองพลังงานมากกว่าปกตินิดหน่อยสรุปว่า อืมมมม คนแบบผมมันคงจะเป็นส่วนน้อยล่ะนะ หรือว่าคนที่ใช้ปุ่ม Caps เพื่อวัตถุประสงค์ในการเปลี่ยนภาษาเร็วๆ นี่คงจะเป็นส่วนน้อย เพราะว่าถ้าจะพิมพ์ตัวใหญ่แค่ตัวสองตัว ก็คงจะกด shift เอามากกว่าอืมมม make sense ล่ะครับ แต่ว่าสำหรับการใช้งานส่วนตัว ผมยังอยากให้มันอ่อนเท่ากับ key อื่นๆ เหมือนเดิม (ส่วนหนึ่งเพราะลักษณะการใช้งานของผม และส่วนหนึ่งมาจาการที่ผมไม่เคยกด Caps ผิด) …​ แต่ว่าครั้งนี้ ถ้า Apple ได้วิเคราะห์พฤติกรรมของผู้ใช้แล้วจริงๆ ว่ามีการกด Caps ผิดแบบไม่ได้ตั้งใจเยอะพอ และปุ่ม Caps ก็เป็นปุ่มที่ใช้งานน้อยอยู่แล้ว … ดังนั้นการออกแบบคีย์บอร์ดมาแบบนี้ก็เหมาะสมดีอยู่