How to Become A Hacker

บทความที่ดีมาก….

ผมอ่านเรื่องนี้นานมากแล้ว ตั้งแต่เรียนปริญญาตรีได้มั้ง และเป็นหนึ่งในบทความในหัวใจเลย ต่อมาก็กลายเป็น source of inspiration หนึ่งที่ทำให้ผมเขียนบทความ (ที่ยังเก็บต้นฉบับไว้อยู่ แต่ว่าขี้เกียจรื้อ) เรื่อง Hackers: Their True Stories

Hacker คือ ฮีโร่ของผมมาตลอด แต่ว่าคำๆ นี้ ในสายตาของ public แล้ว พวกที่ถูกเรียกว่า Hacker หรือว่าพวกที่สื่อต่างๆ และหลายๆ คนเรียกว่า Hacker คือคนไม่ดี ที่คอยทำลายระบบต่างๆ รื้อข้อมูล ทำลายข้อมูล เอาข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาตไปใช้ในทางไม่ดี หรือแม้แต่อะไรที่เบาและแรงกว่านั้น​ (ตั้งแต่แงะซอฟต์แวร์ไปเรื่อย ถึงสร้างความเสียหายระดับชาติ)

ผมจะไม่พูดถึง Hacker ที่แท้จริง หรือว่าความหมายดั้งเดิมของมันในนี้หรอก เพราะว่ามันควรจะเป็นบทความยาวๆ ได้อีกครั้งเลยมากกว่า แต่ว่าผมอยากจะบอกอีกครั้ง ว่า ความเจริญหลายอย่างในโลกเทคโนโลยี โลกคอมพิวเตอร์ ได้มาจากน้ำพักน้ำแรง สมองและสองมือ หรือมากกว่านั้น ของบรรดา Hackers … จริงๆ แล้วเราเป็นหนี้พวกเขาพอสมควร

บทความของ ESR นั้น ถ้าอ่านดีๆ และปฏิบัติตามได้จริงๆ คุณอาจจะกลายเป็น Hacker ก็ได้ ใครจะไปรู้ ….

ส่วน Hacker คืออะไรกันแน่? ถ้าอยากจะรู้คำตอบ ก็ลองเริ่มอ่านบทความนั้นดู แล้วอ่านไปอ่านมาคุณจะพบคำตอบเอง ..​ อ๊ะๆ อย่าบอกว่ามันเป็นภาษาอังกฤษเลยไม่อ่านนะ ถ้าแค่นี้เป็นกำแพงที่คุณไม่อยากข้ามแล้วล่ะก็ คุณคงจะเป็น Hacker ลำบากล่ะครับ

ก่อนที่จะถามผมนะ ว่า แล้วจะเป็นไปทำไมล่ะ ทำไมฉันถึงต้องเป็นด้วย …. ก็ลองถามตัวเองดูก่อนนะครับ ว่าอ่านชื่อบทความ อ่านที่ผมเขียนมาแล้ว สนใจมั้ยล่ะ ถ้าไม่สนใจ ก็คงจะปกติที่คุณจะถามเช่นนั้น แต่ว่าถ้าสนใจ ก็จะรอช้าอยู่ทำไม (ใบ้นิด: มีคนแปลเป็นไทยไว้ด้วย แต่ว่าไม่แน่ใจว่า revision มีคนแปลหรือยัง…)

หนังสือที่อยากได้ (Complex Systems) และ amazon.com

เมื่อวานนี้ Amazon ส่ง e-mail มาโฆษณาหนังสือ … เห็นเล่มนี้แล้วอยากได้มาก



Complex and Adaptive Dynamical Systems: A Primer โดย Claudius Gros มีกำหนดออกวันที่ 1 พย. ปีนี้ น่าจะเป็นของขวัญวันเกิดให้ตัวเองได้ดีเลยนะเนี่ย

มี description (เอามาจาก Amazon):

We are living in an ever more complex world, an epoch where human actions can accordingly acquire far-reaching potentialities. Complex and adaptive dynamical systems are ubiquitous in the world surrounding us and require us to adapt to new realities and the way of dealing with them.

This primer has been developed with the aim of conveying a wide range of “commons-sense” knowledge in the field of quantitative complex system science at an introductory level, providing an entry point to this both fascinating and vitally important subject.

The approach is modular and phenomenology driven. Examples of emerging phenomena of generic importance treated in this book are: – The small world phenomenon in social and scale-free networks; – Phase transitions and self-organized criticality in adaptive systems; – Life at the edge of chaos and coevolutionary avalanches resulting from the unfolding of all living; – The concept of living dynamical systems and emotional diffusive control within cognitive system theory.

Technical course prerequisites are a basic knowledge of ordinary and partial differential equations and of statistics. Each chapter comes with exercises and suggestions for further reading – solutions to the exercises are also provided.

อยากได้ชะมัด .. นี่ถ้ายังอยู่ญี่ปุ่นนี่คงจะสั่งไปแล้วนะเนี่ย..

นี่แหละ power ของการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้ ผมเคยซื้อหนังสือเกี่ยวกับ Chaos Theory, Fractals, Complex Systems theory จาก Amazon ไว้หลายสิบเล่ม (นอกจากหนังสืออื่นๆ นะ ไว้วันหลังจะทำ reading list ให้) ไม่พอนะ ผมอาจจะมีพฤติกรรมการซื้อหนังสือจากสำนักพิมพ์ Springer เยอะด้วย พอเอาข้อมูลนี้มาวิเคราะห์นะ ระบบ computer ที่ Amazon ก็เลยไม่ลังเล (computer มันลังเลเป็นที่ไหน) ในการที่จะส่ง e-mail มาบอกผมว่า มีหนังสือใหม่เล่มนี้นะ สนมั้ย

  • ถ้า Amazon ส่งโฆษณามามั่ว มีหนังสือใหม่อะไรก็ส่งมาหมด ผมก็คงสั่งโปรแกรม e-mail client ของผมให้ filter มันไปเป็น junk แบบถาวร
  • ถ้าส่งมาแบบ 50 mail มีดีซักอัน ผมก็คงจะ filter มันเข้าไปอยู่ใน mailbox ที่ไม่สำคัญ อยากอ่านก็อ่านอยากลบก็ลบ (แต่ไม่ใช่ junk) แล้วปกติก็จะลบมากกว่าอ่าน
  • ถ้ามันส่งมาแบบ 10 mail ผมคิดว่าเข้าท่าซัก 1 เนี่ยสิ ค่อยน่าสนหน่อย

อีกอย่าง ยิ่งผมซื้อเยอะเท่าไหร่ Amazon ก็ยิ่งวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของผมได้ดีขึ้นเท่านั้น ยิ่งมีคนซื้อของจาก Amazon เยอะขึ้นเท่าไหร่ Amazon ก็ยิ่งวิเคราะห์พฤติกรรมของทุกคนโดยรวมได้ดีขึ้นเท่านั้น เพราะว่านอกจากจะวิเคราะห์แค่จากตัวผมเองแล้ว ก็ยังวิเคราะห์จากคนที่ซื้อของใกล้เคียงกับที่ผมซื้ออีกด้วย ว่าคนพวกนั้นซื้ออะไร ผมน่าจะสนใจตาม อะไรทำนองนี้

ซึ่งมันก็เป็น hit-and-miss

แต่ว่าทุกครั้งที่ผมซื้อ Amazon ก็ยิ่งมีโอกาสได้เงินจากผมมากขึ้นในอนาคต

การใช้ computer และทฤษฎีต่างๆ อย่างฉลาดในเชิงธุรกิจ บางทีมันเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจ ในการขายของ ในการเชื่อมโยง ในการบริหารจัดการมากขึ้นอย่างมากมาย

แต่น่าเสียดาย (อีกล่ะ พักนี้มีแต่เรื่องน่าเสียดาย) ที่หลายๆ คนในบ้านเราที่ศึกษาทฤษฎี ไม่สามารถนำตรงนี้ไปใช้งานจริงได้เท่าไหร่ และไม่สามารถประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร หรือไม่ได้เอาเสียเลย

ปล. ใครมีประสบการณ์สั่งหนังสือจาก Amazon พักหลังๆ ช่วยบอกหน่อยนะครับ ว่าดีมั้ย (การขนส่งและ delivery นะ) เพราะว่าเคยสั่งครั้งนึงเมื่อนานมาแล้วตอนกลับมาเยี่ยมบ้าน ตอนนั้น delivery ในบ้านเราห่วยสุดๆ…. เลยเข็ด

ทำไม arithmetic ในคอมพ์จึงยาก?

วันก่อน peter (ซี้เก่าสมัยเรียนที่ Tsukuba) ส่งเรื่อง bug ใน Excel 2007 มาให้อ่าน (อันที่ peter ส่งมาไม่ใช่อันนี้นะ แต่ว่าก็เรื่องเดียวกัน)



ก็ตกใจเล็กน้อยนะ แต่ว่าก็ไม่ได้มากอะไร เพราะว่าจริงๆ ก็รู้อยู่ว่า computer arithmetic มันยาก …..

อ่าว มันจะยากได้ไงล่ะ ก็วิธีการก็รู้ๆ กันอยู่นี่นา จริงๆ แล้วไม่หรอก เพราะว่าการทำ computer arithmetic มันมีปัจจัยเยอะมาก .. อย่างที่ว่าน่ะแหละ devils are in details … แทบทุกเรื่องน่ะแหละ เราจะลง details แค่ไหนเท่านั้นเอง

พอดีไปเจอนี่มา

ที่มีคำอธิบายค่อนข้างจะละเอียด แต่ว่าอ่านตามได้ง่ายๆ และที่สำคัญ ถ้าใครคุ้นๆ ชื่อ ก็คงจะร้องอ๋อ ว่านี่มันพวกที่ทำ Mathematica ซึ่งเป็น Mathematical Package ที่ถือกันว่าดีที่สุดตัวหนึ่งนี่นา (มีชื่อมากเรื่องประสิทธิภาพ เรื่อง programmability .. ภาษา Mathematica นี่สุดยอดมากเหมือนกัน และเรื่องความแม่นยำ — แต่ว่าแพงมาก) ใน blog นั้นเขาเขียนขาย/เชียร์ Mathematica มากไปนิด (ก็แน่นอน) ผมก็เลยเอาใจความตรงที่เป็นสาระของเรื่องนี้มาเขียนให้อ่านกันใหม่เป็นภาษไทยก็แล้วกันนะ ตามนี้เลย

  • มันยากเพราะว่าวิธีการทำ arithmetic ที่อยู่ในตำราคณิตศาสตร์เบื้องต้น (วิธีที่เราชอบคิดกัน) มันไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่นการคูณเลข ถ้าเราต้องการคูณเลขที่มีตัวเลขทั้งหมด n ตัว จะต้องใช้การคูณทั้งหมด n^2 ครั้ง แต่ว่าจริงๆ แล้วจาก algorithm ขั้นสูง เราก็รู้วิธีการที่จะทำได้ใน n^1.58, n log n หรือแม้แต่น้อยกว่านั้นสำหรับ n ที่มีค่ามากๆ ดังนั้นถ้า n มันใหญ่พอ มันจะเห็นความแตกต่างได้ชัดเจนมาก เรื่องเวลาที่ใช้ในการคำนวณ (เสี้ยววินาที เทียบกับเป็นนาที อะไรทำนองนั้น) ตัวอย่างของ algorithm ดังกล่าวก็เช่น Karatsuba algorithm
  • Algorithm เหล่านี้ แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า (และมีความแม่นยำสูงกว่า) วิธีการแบบ school-book มาก .. แต่ว่าเนื่องจากความซับซ้อนของมัน ก็ทำให้พวกมันมี bug ง่ายกว่าเช่นกัน
  • นอกจากนั้นยังมีเรื่องของการเก็บค่าตัวเลขทศนิยมไว้ในหน่วยความจำ ซึ่งปกติจะเก็บเป็นฐาน 2 เพื่อคำนวณ แต่ว่าเมื่อจะนำมาแสดงผล จะต้องเปลี่ยนฐานเลขให้เป็นฐาน 10 ซึ่งโดยปกติจะต้องทำการ round ตัวเลขฐาน 2 พวกนั้นให้เป็นเลขฐาน 10 ที่มีความใกล้เคียงที่สุด จากรูปข้างล่างนี่จะเห็นว่ามีความคลาดเคลื่อนในการแสดงผล


  • ปัญหาหลักๆ จริงๆ มาจากการทำ base conversion ซึ่งจาก binary เป็น decimal จะใช้การคูณเป็นหลัก และจาก decimal เป็น binary จะกลับกันคือใช้การหารเป็นหลัก ประเด็นมันอยู่ที่ว่า บางที (สำหรับตัวเลขบางตัว) การคูณหรือหารนั้นจะต้องทำที่ precision ที่มากกว่าตัวเลขนั้นๆ เพื่อให้ได้ค่าที่ถูกต้อง
  • แต่ว่าระบบคำนวณหลายระบบดันผูกติดกับ fixed precision ของ hardware ที่ใช้งาน ดังนั้นในหลายๆ งานจึงไม่สามารถที่จะได้การแปลงเลขฐานที่ถูกต้องสำหรับตัวเลขหลายๆ ตัว
  • ความผิดพลาดยังเกิดได้จาก “เลขทด” (carries) หรือตัวเลขที่เกิดจากกระบวนการทดเลขน่ะแหละครับ ซึ่งระบบซอฟต์แวร์หลายตัวก็จะทำงานพลาดถ้ามีการทดมากๆ ไป ซึ่ง bug แบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยไหนสมัยไรแล้ว โปรแกรมหลายตัวในปัจจุบันก็ยังมีปัญหาเรื่องนี้อยู่นะ
  • ปัญหาหนักอีกที่หนึ่งสำหรับ computer arithmetic ก็คือ ในกรณีทั่วๆ ไป มันค่อนข้างจะ “ง่าย” ที่จะทำให้มัน “เกือบถูกต้อง” (คือ ถูกกับ input case ทั่วๆ ไป แต่ว่ากับ input บางตัวจริงๆ จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา)
  • และปัญหาที่หนักที่สุดก็คือพวก bug กับตัวเลขบางตัวที่มี bit pattern บางประเภทจริงๆ พวกนี้จะหาเจอยากมากในระหว่าง testing หรือว่าเรียกได้ว่า rare bug เลยก็ว่าได้ มันหายากขนาดที่ว่าเราอาจจะทดสอบกับตัวเลขเป็นพันๆ ล้านตัว แต่ว่าไม่เจอพวกมันเลยก็ได้

ยังเชื่อใจโปรแกรมหลายตัวของท่านอยู่อีกหรือเปล่าเนี่ย?

อ้างอิง: Wolfram Blog: Arithmetic is Hard — To Get Right

ปล. หลังจากคุยกันเสร็จ ผมกับ peter ก็ joke เล่นกันต่อว่า เฮ้ย นี่แหละ เห็นมั้ย OpenOffice.org ไม่ compatible กับ MS-Office อีกอย่างแล้วนะ (ค่าที่คำนวณมันได้ไม่เท่ากัน ใส่ตัวเลขข้างบนเข้าไปแล้ว OO.o มันคำนวณถูก…) แถม peter เล่าให้ฟังว่า บางคนตลกร้ายกว่านั้น บอกให้เพิ่ม tag MultiplyLikeExcel2007 ลงไปใน spec ของ OOXML ด้วยนะ ขำกลิ้งเลย

ปล.2 จริงๆ Slashdot ก็มีลง แต่ว่าพักหลังๆ ผมอ่าน /. น้อยลงมั้ง ก็เลยไม่ค่อยได้สังเกตหรือว่าใส่ใจ อันนี้ link:

นับถอยหลัง Boot Camp Beta

Apple ได้ ออกโรงเตือน ผู้ใช้ Boot Camp ว่าซอฟต์แวร์รุ่นทดลอง (beta) ตัวนี้ได้หมดอายุลงไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวานนี้​ (30 กันยายน) สำหรับ Boot Camp รุ่น 1.2 หรือก่อนหน้า โดยที่เมื่อหมดอายุแล้วจะไม่สามารถใช้งาน Boot Camp Assistant ได้อีกต่อไป

To continue using Boot Camp Beta for Microsoft Windows on your Intel-based Mac, you’ll need to update to Boot Camp Beta 1.4, until Mac OS X 10.5 Leopard is available.

อันนี้ confirm เพราะว่าเครื่องผมลงไว้เป็น 1.2 เท่านั้น (แต่ว่าไม่เคยใช้เลย)

สำหรับรุ่นหลังจากนั้น (ถึง 1.4) ทาง Apple ก็ได้บอกว่าจะยังคงทำงานต่อได้อีกสักพักจนกว่า Leopard (ซึ่งจะมี Boot Camp ตัวจริง) จะออกมาในเดือนนี้ ซึ่งเมื่อวันนั้นมาถึง ทาง Apple ก็ได้บอกว่าการที่จะใช้งาน Boot Camp ต่อไปนั้นจะต้อง upgrade เป็น Leopard จาก statement นี้นะ

To continue using Boot Camp at that time, upgrade to Mac OS X 10.5 Leopard.

เอาล่ะสิ ท่าทางจะเป็นเรื่องแฮะคราวนี้ ไม่รู้จะโดนอะไร ไม่รู้จะมาไม้ไหน แต่ว่าตอนนี้ผมไม่เดือดร้อนนะ เพราะว่าก็ไม่ได้ใช้ Windows อยู่แล้วด้วย (แบ่ง partition เผื่อไว้ตั้งนาน ว่าจะลงๆ ก็ไม่ได้ลงซักกะที ลงไปก็คงไม่ได้ทำอะไรมากกว่าเล่นเกม กับทดสอบพวกโปรแกรมบน Windows เพื่อเก็บข้อมูลในการทำงานล่ะมั้ง …)

แต่ว่าอนาคตเป็นเรื่องไม่แน่นอน ยังไงอาจจะมี Boot Camp รุ่นสำหรับ Tiger ตัวเต็มออกมาให้ใช้งานก็ได้นะ (แต่ว่าอ่านจาก statement ของ Apple แล้วไม่อยากจะหวังอะไรมากแฮะ ยิ่งพักหลังๆ นี่ยิ่งเขี้่ยวๆ อยู่ด้วยกับเรื่องพวกนี้)

ทำไมผมรู้สึก negative กับ Apple พักหลังๆ ยังไงก็ไม่รู้แฮะ ส่วนหนึ่งก็เข้าใจอ่ะนะ ว่า policy ส่วนมากมันก็ผูกพันกับการตลาด ธุรกิจ แล้วก็ผลประโยชน์ร่วมกัน (เช่นเรื่อง iPhone เป็นต้น) แต่ว่าเรื่องเล็กน้อยแบบ Boot Camp นี่ ทำไมถึงกับต้องให้ upgrade เป็น Leopard ทั้งๆ ที่ตอนนี้มันก็ยังทำงานได้ไม่ขัดข้องอะไร หรือว่ามันจะต้องไปใช้ feature อะไรที่ Leopard มันมีแต่ Tiger ไม่มี? อันนี้ไม่น่าใช่หนัก แล้วเพราะอะไร? คนอยากจะใช้ Leopard เต็มบ้านเต็มเมืองอยู่แล้ว คิดว่าไม่ต้องพยายาม force คนทุกครั้งที่มีโอกาส และทุก feature หลักที่ทำให้หลายคนยอมใช้ Mac อยู่ก็ได้นะ

แต่ว่าก็มองอีกแง่นึงแฮะ เพราะว่าคนที่แคร์กับ Boot Camp “ส่วนมาก” ย้ำ “ส่วนมาก” จะเป็นพวก switcher ที่อาจจะไม่ค่อยจะสนใจ OS X หรือเปล่านะ ก็เลยต้องหาเรื่อง force แบบนี้ ไม่งั้นอาจจะไม่สนใจ upgrade กัน ทำให้เสียโอกาสและ revenue?

แต่ช่างเถอะ … ยังมีเวลาเหลืออีกหน่อย ไว้ค่อยดูกัน

อ้างอิง: When does Boot Camp Beta expire?, Apple Support Article ID: 306583

review Apple Keyboard ใหม่

ทั้งๆ ที่ผมเป็นคนใช้ laptop เป็นคอมพิวเตอร์ตัวเดียว ไม่มี desktop ใช้ แต่ว่าเวลาทำงานกับโต๊ะก็จะต่อจอนอก (ยังๆ ผมยังไม่มีงบไปซื้อ Cinema Display หรอกนะ ถึงจะอยากได้ก็เถอะ ตอนนี้ใช้ Acer AL2216W อยู่) ต่อ keyboard กับ mouse แล้วก็ยกเครื่อง laptop มาตั้งบนแท่นอะไรซักอย่างให้มันอยู่ระดับสายตา … และเมื่อสักพักแล้วล่ะ ผมก็ซื้อ Apple Keyboard ตัวใหม่ (แบบมีสาย ไม่ค่อยชอบแบบ Wireless ตัวใหม่เท่าไหร่)



หลังจากใช้งานมันทุกวันมาซักพัก (จนปุ่มน่าจะเลิกแข็งเพราะว่าเป็นของใหม่แล้ว) ก็มีข้อสรุปดังนี้

  • มันค่อนข้างที่จะแบนเกือบราบลงไปกับโต๊ะจริงๆ เรียกได้ว่าแทบไม่มีอะไรยกขึ้นมาเลย แต่ว่าเชื่อไหม ว่าองศาที่มันเอียงขึ้นมาค่อนข้างจะพอเหมาะกับการพิมพ์แบบพรมนิ้วบน keyboard นะ และผมถือว่านี่เป็นข้อดีในการออกแบบ (ส่วนตัว) เพราะว่าคนทำ keyboard ส่วนมากจะออกแบบให้มีขาตั้งเล็กๆ ที่จะต้องจับตั้งเอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าจะต้องทำแบบนั้นถึงจะพิมพ์ถูกสุขลักษณะ(กว่า)
  • เนื่องจากความเล็กและบางของมัน มันก็เลย low profile มากๆ บนโต๊ะ จะ slide เก็บไว้ที่ไหน หรือว่ายกไปวางพิงไว้ที่ไหน ไม่ต้องห่วงเรื่องเกะกะ
  • Key เป็นปุ่มแบบหมากฝรั่ง (ที่อาจจะเริ่มฮิต วันก่อนไปเดิน PowerBuy เห็น Sony Vaio รุ่นใหม่ๆ เป็นปุ่มแบบนี้เพียบ) โดยส่วนตัวแล้วเทียบกับ Apple Keyboard ตัวเก่า (ที่ก็ยังอยู่ใน lab แต่ว่าไปต่อกับเครื่องอื่น) คิดว่าดีกว่าเยอะ เพราะว่ามันสะสมฝุ่นน้อยกว่า ตัวเก่านี่มีร่องให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกต่างๆ เข้าไปได้เยอะมาก และดันทำใสอีก ก็เลยยิ่งเห็นชัด ถอดทำความสะอาดยาก อันนี้ให้สองดาวเลย
  • แต่ว่านะ ผมก็ยังชอบปุ่ม สี และสัมผัสแบบ PowerBook อยู่ดี เครื่อง PB17″ ที่ตอนนี้ให้ลูกศิษย์ใช้อยู่เนี่ย ชอบมากเลย Keyboard เครื่องนั้น สำหรับ MacBook Pro ที่ใช้อยู่ตอนนี้ รู้สึกว่าแข็งไปนิด
  • แม้ว่ามันจะเป็นแบบเดียวกับ Keyboard ของ MacBook แต่ว่าความรู้สึกส่วนตัวของผมคือ มันแข็งกว่าเยอะเหมือนกัน หรือว่าผมยังใช้มันไม่เยอะพอก็ไม่รู้ เลยยังไม่อ่อนเท่าไหร่ (แต่ว่าเราก็กดมันค่อนข้างจะเยอะแล้วนะ หรือว่าผมยังไม่รุนแรงกับมันพอให้มันอ่อนหว่า :-P)
  • ปุ่น plastic สีขาว บน aluminum สีเงิน นี่ไม่ค่อยจะเข้าเท่าไหร่เลยแฮะ แต่ว่ามันก็ยังทำให้ Mighty Mouse ดูแปลกปลอมน้อยลงนะ (อันนี้เป็น comment จากคุณวีร์ ที่ทำ dualGeek ด้วยกัน)
  • ไม่รู้จะเป็นกับทุกตัวหรือเปล่า แต่ว่าตัวที่ผมมีนี่ caps lock ค่อนข้างที่จะแข็งและบางทีกดลงยากกว่าปุ่มอื่น เรียกได้ว่าต้องตั้งใจกด ไม่ใช่ลากนิ้่วผ่านๆ หรือว่าสัมผัสเฉยๆ แล้วมันจะลงเหมือนกับ MacBook/MBP ซึ่งอาจจะดีถ้ามองว่ามันช่วยให้กดพลาดยากขึ้น เพราวะ่าปกติไม่น่าจะมีคนใช้อยู่แล้ว แต่วาผมใช้มันเป็นปุ่มเปลี่ยนภาษาแบบเร็วๆ เนี่ยสิ​ …. (สำหรับคนที่ไม่ทราบนะครับ ใน OS X เราสามารถเปลี่ยนภาษาแบบเร็วๆ ได้ โดยการเลือก input mode เป็นภาษาไทยไว้ แล้วเวลาอยากจะพิมพ์ภาษาอังกฤษแทรกๆ เข้าไปในข้อความภาษาไทยอย่างเร็วๆ โดยไม่อยากจะเปลี่ยนภาษา เพราะว่ามันต้องกด  cmd+space ล่ะก็ ให้กด caps lock ครับ)
  • แต่ว่าผมพิมพ์กับมันค่อนข้างที่จะเร็วกว่า Apple Keyboard ตัวเก่านะ ไม่รู้ว่าอุปทานหรือเปล่า ยังไงอาจจะต้องลองวัดกันดู
  • ตำแหน่งของ fn key มันแปลกๆ นะ ถ้าใช้คีย์บอร์ดของเครื่อง Apple laptop มาซักพักอาจจะงง ว่ามันอยู่ตรงไหน

สรุปว่าก็ชอบแหละครับ ถือว่าเป็น improvement จากตัวเก่าอย่างเห็นได้ค่อนข้างชัดในเรื่องของการออกแบบ ให้ใช้พื้นที่น้อยลงและเก็บออกไปจากพื้นที่ทำงานง่ายขึ้น รูปลักษณ์ก็สวยดีแล้วก็ low-profile มากขึ้น แต่ว่าก็มาเสียคะแนนนิดหน่อยในเรื่องความแข็งของปุ่มที่อาจจะมากไปนิด แต่ว่าก็ไม่ถึงกับมากจนน่าเกลียดอะไร ยังพอที่จะนั่งพิมพ์แบบพริ้วๆ เบาๆ ได้บ้าง แต่ว่าพอถึงเวลาจะเปลี่ยนภาษาเนี่ย อาจจะเหนื่อยนิดหน่อย เพราะว่าอาจจะต้องกดหลายทีนิดนึง อีกอย่างนึงนะ มันค่อนข้างที่จะแบนราบกับโต๊ะจริงๆ ดังนั้นมืออาจจะกดกับพื้นโต๊ะมากขึ้นนะ ถ้าใครชอบกดมือระวังจะไม่ค่อยดี อีกอย่างถ้าใครชอบเอาอะไรมารองที่ palm อาจจะลำบากนิดนะ เพราะว่ามันจะราบกว่า keyboard ตัวอื่นๆ อยู่เอาเรื่อง อาจจะต้องวางมันบนอะไรซักอย่างที่บางๆ พอ (วางบนกล่องของมันก็อาจจะสูงไปนิด) แต่ว่าถ้าใครพิมพ์แบบมือลอยๆ นิดหน่อยคงจะไม่มีปัญหาอะไร

Computer Stupidities

มี website อยู่ที่หนึ่งนะ ที่ผมเคยชอบเข้าไปดูเมื่อก่อน (ตอนนี้ก็ once in a while) เข้าไปหาเรื่องสนุกๆ อ่านเล่น

ไม่มีอะไรมากกว่าการเป็น web รวมเรื่องราวต่างๆ ที่มีคน submit กันเข้ามา ส่วนมากจะเป็นเรื่องตลกๆ เวลาที่มีใครไปเจอคนทำอะไรเปิ่นๆ เพราะว่าความเข้าใจผิดแบบไม่น่าเชื่อ มีแบ่งเรื่องราวไว้เยอะแยะ เช่น

  • Piecing it together (เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาจับแพะชนแกะกันมั่ว)
  • Operating System (ความเข้าใจผิด เรื่องขำขัน เกี่ยวกับ OS)
  • Programming (ใครเรียน CS/IT/CE ต้องอ่าน!)
  • Mincing Words (เอาคำมายำกัน)
  • Paranoia (ความกลัวจากความเชื่อผิดๆ จนเข้าขั้นวิตกจริต)
  • Stupid Tech Support (อันนี้ขำมาก)
  • Stupid Salesman (อันนี้ด้วย)
  • ……. เยอะแยะ เข้าไปอ่านเองนะครับ

เมื่อก่อนอ่านก็ขำนะ แต่ว่าทำไมเดี๋ยวนี้มันต้องหัวเราะแห้งๆ ก็ไม่รู้ ขำไม่ออกมากขึ้นหลายๆ อย่าง แต่ว่าก็ยังเข้าไปอ่านอยู่ดี มีความรู้สึกว่าดีกว่าอ่านกระทู้ที่ web หลายๆ web หน่อยนึงมั้ง

อืมมม แต่ว่าจริงๆ คงต้องมองย้อนกลับไปที่ต้นตอของปัญหามากขึ้น ด้วยความรู้สึกส่วนตัวอย่างหนึ่งที่มีมานานแล้วนะ คือ computer แล้วก็ information technology มันกลายเป็น mainstream เร็วเกินไป เร็วเกินกว่าที่คนจะมี literacy กับมันมากพอ คือทุกวันนี้ computer กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานอย่างหนึ่งในการใช้ชีวิต การทำงาน การเรียน การติดต่อ ฯลฯ แต่ว่ามันต่างจาก TV, วิทยุ, โทรศัพท์, projector, ฯลฯ มากมายมหาศาล เรียกว่ามันคนละ order of magnitude เลยก็ว่าได้

พูดง่ายๆ ว่าเราสามารถใช้ TV ได้โดยไม่ต้องคิดว่ามันจะตีกับวิทยุหรือเปล่า แต่ว่าถ้าเราเปิดโปรแกรมดูหนังพร้อมกันกับโปรแกรมฟังเพลง มันอาจจะตีกันทำให้ crash กันได้ไม่ยากเย็นเลย หรือว่าเราสามารถที่จะใช้เครื่องคิดเลข กับเครื่อง word processor ได้โดยไม่ต้องคิดว่าพวกมันแย่งทรัพยากรกันยังไง (นอกจากค่าไฟค่าแบตเตอรี่จากกระเป๋าเรา) หรือว่าเรื่องไวรัสที่ติดกับโปรแกรมตัวนึงอาจจะทำลายไฟล์ได้ทั้งเครื่อง ฯลฯ

เท่าที่ทดสอบดูนะ ทั้งคนในวงการคนนอกวงการ เป็นพวกนักศึกษาก็เยอะ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์จริงๆ มีความเข้าใจหลายเรื่องที่ผิดพลาด สับสน ซึ่งขอออกตัวเลยนะ ว่า “มันไม่ใช่ความผิดของเค้า” แต่ว่าผมเป็นห่วงน่ะ

ช่วยกันได้ก็ช่วยๆ กันไปนะครับ เรื่อง computer/information literacy กับคนใกล้ตัวเนี่ย สำคัญเชียวแหละ อ่าน web นั้น อ่านกระทู้ทั่วไปตาม webboard หรือว่าเจอคนใกล้ๆ ตัว ก็ช่วยกันสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้นกับ computer เถอะครับ มันใกล้ตัวกว่าที่เราคิด