เล่าประสบการณ์ “iPad”: #2 อ่านหนังสือ

หากท่านยังไม่ได้อ่าน “ตอนที่ 1: Background” กรุณาอ่านก่อนนะครับ เพราะมันต่อกัน

ผมยอมรับอย่างหนึ่ง ว่าผมไม่ได้ดู Keynote งานเปิดตัว iPad เพราะว่าผมไม่ค่อยสนใจเรื่องอื่นๆ มากนัก ทุกวันนี้ผมอ่านหนังสือกับ iPhone ผ่านโปรแกรม Stanza บ้างอยู่แล้ว และก็ค่อนข้างพอใจกับมัน แต่มันก็ยังไม่เหมือนกับอ่านหนังสือจริงๆ เนื่องจาก form factor ของมันทำให้อุปกรณ์ต้องอยู่ใกล้กับตัว (ตา) มากกว่าที่ผมชอบ (ถ้าอ่านหนังสือจะวางมันไกลกว่านั้น อาจจะเป็นบนตักหรือบนโต๊ะ)

แต่ผมกลับทำใจอ่านหนังสือ (PDF, Kindle) บน Laptop เป็นหลักไม่ได้ ไม่ใช่เพราะว่าเหนื่อยสายตาหรอกครับ (ทุกวันนี้ดูจอคอมพ์ตลอดก็ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว) แต่เพราะเหตุผลเดียวกับ iPhone และท่าทางการอ่านมันยิ่งผิดธรรมชาติมากขึ้นไปอีก เพราะคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้มันถูกออกแบบมาสำหรับ “นำข้อมูลเข้า” มากกว่า “บริโภคข้อมูล” ทำให้เมื่อผมใช้งานมัน dominant mode คือ “พิมพ์”

เอาล่ะ เสียเวลากันมากไปแล้ว ลองดูกันสักที ว่าถ้าผมมี requriement ตั้งต้นแบบนี้แล้ว เจ้า iPad จะตอบผมได้ดีแค่ไหน

อย่างแรกที่ผมทำ นั่นคือ ตรวจสอบว่ามีโปรแกรมอ่านหนังสือมากแค่ไหน และมีหนังสือเป็นดิจิทัลแค่ไหนแล้ว ซึ่งก็พบว่า มีมากพอสมควร และไม่ได้ lock อยู่ในรูปแบบเดียว โปรแกรมที่อ่านหนังสือได้ก็มีอยู่หลายตัว เช่น iBooks ของ Apple เอง ที่รองรับรูปแบบ ePub, Kindle ของ Amazon ที่เอาไว้อ่าน Kindle format (mobi) ที่ซื้อจาก Amazon (ในขณะที่ Kindle for Desktop ใช้ได้ แต่ว่า sync มาลงไม่ได้ นอกจากจะหาวิธีงัดแงะเอา) Zinio สำหรับอ่านวารสารนิตยสารที่ซื้อผ่าน Zinio เอาแค่นี้ก่อน

ทำไมต้อง check ขนาดนี้ … ไม่งั้นมันก็เข้าทำนอง “มีดโกนฟรี อาจราคาถูกไม่ถูกนัก ตราบใดก็ตามที่มีที่ซื้อใบมีดโกนที่เดียว” น่ะสิ นอกจากนี้ก็ต้องดูหน่อย ว่ามีโปรแกรมที่แปลงรูปแบบกันไปมาได้หรือเปล่า และผมก็พบว่า โปรแกรม Stanza บน Desktop นั้นสามารถแปลงรูปแบบได้ดีพอสมควร แต่ถ้าต้นทางเป็น PDF ก็ลองใช้ calibre ก็ได้ แต่อย่าคาดหวังมากนัก เนื่องจาก “รูปแบบของการจัดหน้า” ของ PDF ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะกับการพิมพ์ printed version และอาจเน้นการจัดหน้าเป็นหลัก เช่นวารสารทั่วไป หรือหนังสือแนวออกแบบ กับรูปแบบของ ePub, mobi ที่เน้นการจัดให้เรียบง่ายสุดๆ มันทำให้แปลงกันยาก

เมื่อตรวจสอบทั้งหมด จนแน่ใจว่าถ้าซื้อมา อย่างน้อยๆ ก็ซื้อหนังสืออ่านได้แน่ๆ และมีหนังสือที่อยากอ่านอยู่ใน Amazon store เป็นอย่างน้อยที่สุด และเอา Stanza แปลงเป็น ePub เพื่อโยน iBooks ได้ด้วยเนี่ย ผมก็โทรไปบอกคุณลิฟท์ @L77 ทันที โดยไม่สนใจว่าราคามันจะถูกหรือมันจะแพง เพราะว่าน่าจะเป็นอุปกรณ์ที่รอมานานแล้ว และก็เข้าไปเอาเครื่อง เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ผ่านมา (วันที่ 9)

และเมื่อได้เครื่องมาอยู่ในมือแล้ว Step ถัดมา คือ การทำให้ตัว iPad เอง มีลักษณะคล้ายกับ “หนังสือที่พกไปมา” มากที่สุด …. ซึ่งตรงนี้ ผมเดินเข้า B2S ครับ เพื่อหา “แฟ้มเอกสาร” เอามาดัดแปลง ซึ่งรูปแบบแฟ้มเอกสารที่ผมต้องการคือ ไม่มี binder และมีที่ให้เสียบกระดาษประมาณ 50 แผ่น และมีขนาดประมาณ A5 ซึ่งจะพอดีกับขนาดของ iPad ก็มีให้เลือกหลายแบบหลายสีหลายราคา เลือกหากันตามสะดวกเลยครับ โดยอันที่ผมซื้อมานี่เป็นหนัง ราคาประมาณ 7xx บาท จากนั้นก็เอาคัตเตอร์มาเจาะรูด้านบน สำหรับหูฟัง และปุ่ม lock และด้านล่าง เพื่อเสียบสายขาร์จ และหน้าตาของมันก็ออกมาแบบนี้


P1010768.jpg


และพอเปิดออกมาแล้ว ก็จะเป็นแบบนี้


P1010771.jpg


อืมมม ไม่เลว ทีนี้ก็ลองมาดูสิว่าเวลาอ่านหนังสือมันจะหน้าตาและความรู้สึกยังไง

Untitled.001.jpg

จากซ้ายบน ตามเข็มนาฬิกา: iBooks+Bookmarks (highlight), Kindle+highlight+notes, Zinio, Zinio

ขอไล่ไปเป็นข้อๆ เลยละกันนะครับ โดยอันนี้จะอ้างอิงจาก requirement พิ้นฐานที่เขียนถึงไปแล้วในตอนที่ 1 เป็นหลักนะ

  • Form factor ต้องบอกว่า “ใช่เลย” ถึงน้ำหนักมันจะหนักไปสักนิดในการใช้งานจริง แต่ว่าถ้าวางไว้บนตักก็จะไม่รู้สึกอะไรเลย
  • วิธีการอ่านหนังสือ โดยใช้นิ้วเขี่ยในการเปลี่ยนหน้าหนังสือ ก็ต้องบอกว่า “ใช่” มากๆ โดยจะมี animation ของการเปลี่ยนหน้าหรือไม่มีก็แล้วแต่ (แต่ยอมรับแต่โดยดีครับ ว่ามี animation การเปลี่ยนหน้าให้ feel ดีกว่าเยอะมากๆ)
  • iBooks ทำงานลื่นไหลดีมาก ส่วน Kindle จะออกอาการอืดนิดๆ ถ้าให้มี animation …​ไม่เป็นไร ยอมได้นิดหน่อย ถ้าคิดว่ามันอืดก็ปิดซะ เรียกว่า iBooks เรื่อง feel และความเร็ว เหมือนอ่านหนังสือจริงๆ มาก ส่วน Kindle ถ้าจะเอา feel ในแง่ของรูปลักษณ์และความรู้สึกของการเปิดหน้ากระดาษ ก็จะเสีย feel ในแง่ของการตอบสนองนิดหน่อย
  • เรื่องการขนตู้หนังสือไปด้วยทั้งตู้ นี่ใช่เลย ถ้าหนังสือเป็น ePub อยู่แล้ว ให้โยนลง iBloat เอ๊ย iTunes เลยครับ มันจะจัดการเอง เหมือนกับเราใช้ iPod น่ะแหละ แต่ว่าถ้าเป็น Kindle เราต้องเข้าไปจัดการให้มัน deliver มาที่ iPad เราก่อน ซึ่งคนใช้ Kindle น่าจะคุ้นเคยกับ process นี้อยู่แล้ว (อีกครั้งนะครับ มัน sync กันโดยตรงระหว่าง Desktop และ iPad ไม่ได้ ต้องผ่าน services ของ Amazon เท่านั้น ซึ่งจริงๆ ก็ดีไปอีกแบบ)
  • การ highlight ทำได้ค่อนข้างดีและเป็นธรรมชาติค่อนข้างมาก ทั้งสองตัว
  • แต่ว่าทำไมหนอ … สิ่งที่ผมให้อภัยไม่ได้เลย ก็คือ ทำไม iBooks มัน annotate ไม่ได้? หมายถึงว่า ทำไมเราถึงเขียน note อะไรเพิ่มเติมไปไม่ได้เลย เพราะว่านี่เป็นสิ่งที่ผมทำบ่อยมาก (และผมเชื่อว่าหลายท่านทำบ่อยเหมือนกัน) คือ อ่านไปเขียนไป เวลาคิดอะไรออก ก็เขียนมันลงตรง margin หน้าน่ะแหละ ซึ่งตรงนี้เสียดายเป็นอย่างยิ่ง ถ้าทำระบบ note ดีๆ หน่อย ว่าตรงที่เรา annotate เนี่ย มันอยู่ตรงไหน หน้าไหน ย่อหน้าไหน ข้อความไหน กับ bookmark ไหน มันจะสุดยอดมากๆ และถ้ามัน search ได้ด้วยจะเป็นพระคุณมากๆ
  • ลองคิดเล่นๆ ว่าถ้าเรา export ข้อความจากหนังสือที่เรา highlight พร้อมกับ note ที่เราเขียนเพิ่มเข้าไป ออกมาเป็นไฟล์หรือว่าอะไรก็แล้วแต่ และเชื่อมกับ Pages หรือ Keynote ใน iPad ได้เลย จะเป็นอุปกรณ์ทำงานที่เยี่ยมมาก เพราะว่าอ่านหนังสือจบเล่ม เราก็จะได้หนังสือเล่มเล็กๆ ของตัวเองเล่มหนึ่ง ชื่อว่า “My Hightlights and Annotated Thoughts in Reading (ชื่อหนังสือ .. อะไรก็ว่าไป)” ออกมาเลย นี่คงจะดีไม่น้อย (ผมทำอยู่บ่อยๆ แต่ว่ามันต้องพิมพ์ซ้ำไปซ้ำมา)
  • เลยยิ่งนึกยิ่งเสียดาย เพราะว่าคีย์บอร์ดที่มีมาให้ด้วย นี่ “ดีมาก” โดยเฉพาะใน Landscape mode ที่ผมพิมพ์ได้ความเร็วสูงพอสมควร คิดว่าสูงกว่า 45 WPM สบายๆ แต่ว่าถ้าเป็น Portrait mode นี่จะพิมพ์ลำบากกว่ามาก คือ สรุปว่า สำหรับตัวผมเอง ผมพิมพ์บน iPad ด้วยคีย์บอร์ดใน Landscape mode เร็วกว่าบน NetBook ของ Acer ที่เคยใช้อยู่แป๊บนึง … ถ้ามัน annotate ได้นะ คงอ่านหนังสือสนุกมากๆๆๆๆๆ เลย
  • ก็ได้แต่หวังว่า iBooks รุุ่นต่อไปจะแก้ปัญหาตรงนี้มานะ
  • อีกโปรแกรมที่ลงไว้ คือ Zinio ก็ถือว่าทำงานได้ดีเลย รู้สึกได้ชัดมาก ตอนที่จะนั่งอ่านอะไรที่มัน casual หน่อย เข่น เข้าห้องน้ำ แล้วเกิดอยากอ่านวารสาร เมื่อก่อนก็ต้องคุ้ยตู้หนังสือเพื่อหาวารสารเข้าไปอ่าน ก็มีแต่อ่านแล้ว อ่านแล้ว และอ่านแล้ว ก็เลยพกคอมพิวเตอร์เข้าไปนั่งเล่นเน็ตแทน อย่างน้อยก็มีอะไรใหม่ๆ ให้อ่าน หรือไม่ก็พก iPhone เข้าไป ซึ่งก็อ่านไม่สนุกอีก เนื่องจากจอมันเล็กไปนิด (แต่ว่าจริงๆ แล้ว iPhone ทำให้ผมอ่านเยอะขึ้นกว่าตอนใช้แต่คอมพ์เพียวๆ นะ เพราะว่ามัน consume ง่ายกว่า input/create) …​คราวนี้ก็เลย “ซื้อวารสารใหม่” มาอ่านมันซะตรงนั้นเลย เยี่ยมมาก
  • ถ้าเป็นวารสารที่มีรูป … เนื่องจากจอมันเจ๋งครับ แสดงผลได้สวยงามมาก (จากรูปด้านบน เป็น National Geographics)
  • นิดนึง ในกรณีที่อ่านด้วย Kindle ก็คงจะทราบกันแล้ว ว่ามัน deliver ให้กับอุปกรณ์ทุกตัวที่เราสั่งไป และ sync ให้หมด ดังนั้นถ้าผมอ่านอะไรค้างๆ อยู่บน iPad จะมาอ่านต่อบน iPhone หรือว่า Kindle ของ Amazon เองเลย ก็ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด
  • ถามว่าเมื่อยตามั้ย …. ไม่เมื่อยนะ เพราะว่าสิบปีผ่านไปกับการนั่งดูแต่ LCD ทำให้สายตามันคงจะชินแล้วล่ะ
  • ยังไม่ได้ลองอ่าน PDF ด้วย Goodreader แต่ว่าซื้อมาแล้วล่ะ เดี๋ยวจะจัดการต่อว่าเป็นไง แต่ทำไมมันไม่ทำให้ iBooks อ่านได้ด้วยก็ไม่รู้

สามวันผ่านไป ผมอ่านหนังสือจบไป 2 เล่ม ซึ่งเล่มหนึ่งเป็นหนังสือที่จริงๆ ซื้อ printed version มาดองไว้นานแล้ว แต่ยังไม่ได้อ่าน …. ส่วนอีกเล่ม ซื้อมาและอ่านได้ส่วนหนึ่งใน Stanza แต่ว่าไม่ได้ไปถึงไหนมาก เพราะว่ามันอ่านไม่ค่อยสนุกเท่าไหร่ แต่ว่าพอมาใช้ iPad นี่อ่านสนุกมาก

แค่นี้ก็คุ้มมากแล้วในความรู้สึกผม …. สรุปสั้นๆ ว่า

“iPad เป็นอุปกรณ์ที่ผมรอมานานมาก นับสิบปีแล้วที่อยากให้มีของแบบนี้”


เพราะว่ามันจะทำให้ผมอ่านหนังสือได้เยอะกว่านี้ เสียเงินซื้อหนังสือ (ต่อเล่ม) น้อยกว่านี้ ลำบากในการขนส่งหนังสือน้อยกว่านี้มาก (ตอนซื้อ Amazon นี่ ค่าหนังสือและค่าขนส่งนี่หนักเหมือนกัน เคยคิดกับพ่อเล่นๆ ว่าผมซื้อหนังสือไปเท่าไหร่แล้ว …. ก็เอาเรื่องอยู่เยอะ) และพอหนังสือมันเป็นดิจิทัลแล้ว เวลามีอัพเดทก็สามารถ download ใหม่ได้ (ถ้า publisher ทำให้) เฮ้อ แต่เสียดายมากๆ ที่ “ทำไม iBooks มัน annotate ไม่ได้วะ” (อันนี้โคตรแค้นฝังหุ่น) … เดี๋ยวตอนหน้าจะเล่าประสบการณ์เรื่องที่เหลือนะครับ เรื่องการใช้มัน “ทำงานแบบ casual”

เล่าประสบการณ์ “iPad”: #1 Background

ไหนๆ ก็ซื้อมาแล้ว ลองใช้งานก็หลายวันแล้ว ก็ขอเขียนถึงมันซะหน่อยก็แล้วกัน ผมไม่อยากจะถือว่านี่เป็นการรีวิวนะ ถ้าเรื่องรีวิวมีคนเขียนไว้ดีมากอยู่หลายที่แล้ว สำหรับที่เป็นภาษาไทยก็มีที่ Siampod นะ ที่แนะนำ (เขียนดีมาก) อยากให้อ่านกันดู

สำหรับที่นี่ ผมขอเขียนในลักษณะแชร์ประสบการณ์ก็แล้วกัน

ก่อนอื่น ขอบอก profile ของตัวเองก่อน … จะได้เข้าใจว่าผมมีความคาดหวังอย่างไรกับอุปกรณ์ตัวนี้ และทำไมผมถึงสนใจมัน

ผมเป็นพวกอ่านหนังสือเยอะ แต่ส่วนมากจะหนักไปทางพวก non-fiction, popular science, technical, software philosophy ฯลฯ กับพวกวารสารนิตยสารซะเป็นส่วนมาก นอกจากนั้นก็มีพวกบทความวิชาการ (academic paper) ที่ต้องอ่านอยู่เป็นประจำ เมื่อก่อนไปไหนมาไหนขนหนังสือไปหลายเล่ม จนคนหมั่นไส้ก็มี ว่าขนมาสร้างภาพ –‘ (ซึ่งเป็นเรื่องตลก — บังเอิญที่บ้านเลี้ยงด้วยหนังสือตั้งแต่เด็ก) ในช่วงที่อ่านหนังสือมากที่สุดในชีวิต ผมอ่านหนังสือพวก popular science เฉลี่ยแล้ว 1-2 วัน/เล่มเห็นจะได้ นอกจากนั้นก็จะมีพวกวารสารนิตยสาร พวก Time, Economist, Discovery, National Geographcis และอีกหลายๆ เล่ม ที่รับและซื้อตลอด

ผมมาพบว่า ตัวเองอ่านหนังสือน้อยลงมากในช่วงเวลา 3 ปีหลัง รวมทั้งวารสารด้วย (อ่าน Time ไม่จบทุกเล่มเหมือนที่เคย บางเล่มยังไม่ได้แกะเลย) เพราะสาเหตุหลายอย่าง เช่น

  • ความไม่สะดวกในการพกหนังสือไปหลายๆ เล่มอีกต่อไป
  • หนังสือเล่มที่เราอยากจะอ่าน มักไม่อยู่กับเราเวลาที่เราอยากจะอ่านมันเสมอๆ
  • การพิมพ์ note หรือ quote ลงในคอมพิวเตอร์เป็นอะไรที่ขัดธรรมชาติ (แต่จำเป็นเวลาต้องใช้อ้างอิง) ซึ่งใครเคยมาห้องทำงานผมจะทราบดี ว่าผมมักเดินไปหยิบหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ ที่เคยอ่าน มาชี้ให้ดูประเด็นตรงนั้นตรงนี้เสมอ (เคยมีคนถาม ว่าจำทั้งหมดได้ยังไง … อันนั้นมันเป็นความสามารถของสมองส่วน R-mode)
  • ตัวเองอ่านอะไรในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมี iPhone
  • (ต่อจากข้อที่แล้ว) สิ่งที่ “อ่านได้” มันอยู่ในอินเตอร์เน็ทมากขึ้น และมันเหมาะกับ casual reading มากกว่า มัน bookmark ง่ายกว่า มัน “พกติดตัว” ง่ายกว่า (ก็แค่ต่อเน็ต ก็อ่านต่อได้แล้ว)

เมื่อเอาทั้งหมดมาประกอบร่างกัน จะพบว่าสิ่งที่ผมต้องการคือ “iPod สำหรับตู้หนังสือ” ในรูปแบบเดียวกับที่ iPod ที่ผ่านมา มันเป็นตู้เพลงเคลื่อนที่ทั้งตู้ โดยที่ Requirement พื้นฐานของผม สำหรับ “iPod สำหรับตู้หนังสือ” ที่ว่านี้ก็คือ

  • มี form factor ที่กำลังพอดี ไม่เล็กไม่ใหญ่ไม่หนักเกินไป และมีความสว่างของหน้าจอพอให้อ่านสบาย
  • ลักษณะการใช้งาน มันต้อง intuitive เหมือนกับการอ่านหนังสือจริงๆ ไอ้กดปุ่มเพื่อไปหน้าถัดไป นี่ไม่เอาด้วย
  • มันต้องขนหนังสือไปด้วยได้ทั้งตู้ และต้องอ่านหนังสือได้ทุกรูปแบบที่ผมมี (หมายถึงหนังสือดิจิทัลเท่านั้นนะ)
  • ต้องมีระบบ bookmark และการเขียน note (annotation) ที่ดีพอ และนั่นก็หมายถึงว่าต้องมีคียร์บอร์ดหรือส่วนของ input ที่ดี
  • ต้องทำงานในลักษณะ rich media/content ได้ นั่นคือเล่นภาพและเสียง เนื่องจากหนังสือหลายเล่มที่ผมมี มันเป็นมีเนื้อหาหลักเป็นภาพที่เล่าเรื่อง ไม่ต้องคิดไกล คิดแค่ National Geographics ก็พอแล้ว

และไหนๆ ก็ไหนๆ ในเมื่อโดยพื้นฐานแล้วมันก็ต้องเป็นคอมพิวเตอร์ด้วยอยู่แล้ว (เนื่องจากขนาดมันก็คงไม่เล็กเท่าไหร่ จาก requirement สองข้อแรก) ดังนั้นก็เลยพ่วงพวกนี้เข้ามาหน่อยก็แล้วกัน

  • เอาไว้ทำงานแบบ casual แทนคอมพิวเตอร์ได้บ้าง ไม่ต้องมากหรอก แค่ทำได้ดีกว่า iPhone นิดหน่อยผมก็พอใจแล้ว พวกตอบ e-Mail ดูตารางนัดหมาย ปฏิทิน ที่เหลือก็ต่อเน็ทใช้ web browser ได้ ก็ทำได้เกือบหมดแล้ว (ตราบใดก็ตามที่มี Google Doc) แต่ถ้ามีโปรแกรมเฉพาะทางโน่นนี่ให้หน่อย ก็จะดีไม่น้อย
  • ซื้อหนังสือเพิ่มเติมได้ ไม่งั้นคงเซ็งแย่
  • มีเกมเล่นบ้างตามสมควร

ทำไมผมต้องเล่าอะไรไม่รู้ยืดยาวด้วย แค่รีวิวๆ มันให้จบๆ เรื่องไม่ได้หรือ? อย่างที่บอกล่ะครับ ว่าผมไม่ได้จะรีวิว แต่จะแชร์ประสบการณ์ในฐานะที่เขียนไว้ด้านบน และด้วยความคาดหวังเบื้องต้นอย่างที่เพิ่งบอกไป …. แต่ว่ามันชักจะยาวไปแล้ว ขอเล่าต่อในตอนต่อไป (จะเขียนต่อเลย)

Camera Usability Factor

อ่านจาก Steve Huff Photos (http://www.stevehuffphotos.com/) ซึ่งเป็นเว็ยไซต์ที่เขียนรีวิวอุปกรณ์ถ่ายรูป จากมุมมองตากล้อง และการใช้งานจริง มากกว่าจากมุมแบบเชิงเทคนิค ที่พวกเรามักคุ้นเคยกัน (test chart, color plates, MTF chart, โหมดต่างๆ, 100% pixel peep ที่ทุก ISO, ฯลฯ) ซึ่งเป็นแนวรีวิวที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์มากๆ สำหรับคนถ่ายรูป และอยากหัดถ่ายรูป ถึงเจ้าของเว็บไซต์จะบ้าจุดแดง (Leica) ไปนิดหน่อยก็เถอะ

สิ่งที่ผมอยากจะเขียนถึง คือ Camera Usability Factor ที่เจ้าของเว็บได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจ

“USABILITY FACTOR: A camera that you can not put down. One that you want to take with you wherever you go. A camera that will not weigh you down and break your back. A camera that will sleep next to you on your nightstand. A camera that produces exquisite image quality while making YOU look good as well as it hangs from your neck! A camera that will improve your skills and one that you just love shooting day in and day out!”

แปลเป็นไทย (แบบมีดัดๆ แปลงๆ นิดหน่อย) คือ

“USABILITY FACTOR: กล้องตัวที่คุณวางมันไม่ลง กล้องตัวที่คุณอยากจะหยิบมันติดไปด้วยไม่ว่าจะไปไหนก็ตาม กล้องตัวที่จะไม่ทำให้รู้สึกหนักหรือทำให้คอหัก กล้องตัวที่จะอยู่ที่หัวเตียง (หรือโต๊ะ หรืออะไรก็ตามที่มือคว้าได้ทันทีเมื่อตื่น) กล้องที่ให้ผลลัพธ์ที่เยี่ยมในขณะที่ทำให้คุณดูดี (หล่อ/สวย) ขึ้นที่ถือมัน ห้อยมัน หรือใช้งานมัน และที่สำคัญ เป็นกล้องที่จะทำให้คุณถ่ายรูปเก่งขึ้น และเป็นตัวที่คุณรักที่จะใช้งานมันทั้งวันทั้งคืน!”

เป็นนิยามที่ผมชอบมาก จะเห็นว่าไม่มีเรื่องเกี่ยวกับเชิงเทคนิคเลยสักกะนิด ไม่ได้มีว่า กล้องที่ดีจะต้องมี ฯลฯ (ล้าน scene mode, autofocus ร้อยแปดแบบ, ฯลฯ) ก็เลยอยากจะแชร์กันไว้ครับ

สำหรับตัวผมเอง กล้องตัวนี้เป็นตัวไหน? เมื่อก่อนผมมีกล้องอยู่สอง 2 ตัวหลักๆ นะ คือ Nikon D3 และ Leica M8 ตัวนึงเป็นกล้องที่ผมรักที่จะทำงานด้วย หวังผลได้ คุมได้ดังใจ เชื่อใจได้ที่สุด ไม่ต้องดู LCD เพื่อดูผลลัพธ์หลังจากกดชัตเตอร์เลยก็ได้ … อีกตัวหนึ่งเป็นกล้องตัวที่รักที่จะอยู่ด้วย อยากจะพาไปไหนมาไหนด้วย แต่คุณเธอพยศซะเหลือเกิน

ตอนนี้ผมคิดว่าผมเจอกล้องตัวที่ลงตัวพอดีแล้วล่ะ คือ Panasonic GF1 กับ 20mm/f1.7 (แต่นะ มันยังไม่หล่อเท่า Olympus E-P1 ฮ่าๆ)

ของเล่นใหม่ ในที่สุดก็มี Leica กับเค้า!

อ่อ ยังไม่ถึงขนาดจะไปถอย Leica M มาเล่นหรอกครับ (เห็นราคา M8 แล้วกุมกระเป๋าตังค์แน่นต่อไป และไม่คิดจะไปขอลองกดชัตเตอร์เล่นด้วย) แต่ว่าเป็นหมอนี่ครับ

lumix_lx3011.jpg

ครับ Panasonic Lumix LX3 ซึ่งจริงๆ ก็เป็นฝาแฝดกับ Leica D-Lux 4 น่ะแหละครับ (ต่างกันแค่ Image processing engine เท่านั้นเอง)

ผมก็เลยมี Leica กับเค้าซะที … มียังไงเหรอ? ถึงมันจะเป็นฝาแฝดกับ D-Lux 4 แต่ว่ามันก็ยังเป็น Lumix ไม่ใช่เหรอ?

อ่าฮะ ไม่ผิดๆ แต่ว่าเหตุผลที่ผมเลือก LX3 เพราะเหตุผล 4 ข้อครับ

  1. นโยบายสวนทิศทางของความเชื่อสาธารณะ: ไม่เพิ่ม pixel count!
  2. นโยบายที่ถูกทิศทาง แม้ตลาดส่วนมากจะไม่รู้: เพิ่มขนาด sensor!
  3. รูปร่างหน้าตาที่ลอกแบบ Rangefinder หรือกล้องโบราณๆ อีกหลายตัว
  4. เลนส์ Leica DC Vario-Summicron 24-60mm (35mm eq.) f/2.0-2.8

อย่างน้อยๆ ก็มีเลนส์เป็น Leica ล่ะน่า (ฮาฮา) จริงๆ Panasonic ก็ใช้เลนส์ Leica ใน Lumix หลายรุ่นนะครับ แต่ที่พิเศษกับรุ่นนี้ ก็คือ การเลือกทางยาวโฟกัสที่สั้น เพื่อให้ได้คุณภาพที่มากขึ้นในแต่ละช่วง และมีขนาดรูรับแสงที่กว้างมาก (f/2.0-2.8) ซึ่งเมื่อประกอบกับการที่มี sensor ที่มีขนาดใหญ่กว่า compact ทั่วไป (ถึงแม้จะยังเล็กกว่า DSLR รวมถึงพวกที่ sensor เล็กๆ อย่าง 4/3 format หรือ compact ที่ยัด DSLR-class sensor อย่าง Sigma DP1 อยู่มากโข) ทำให้เพิ่มโอกาสได้ภาพค่อนข้างมากทีเดียว และพอจะเล่นกับ Depth-of-Field สวยๆ ได้บ้างเล็กน้อย (เอาไว้ถ่ายหน้าชัดหลังเบลอได้นิดหน่อย)

เท่าที่ทดสอบเล่นๆ มา ก็เข้าท่าทีเดียว กล้องตัวนี้กลายเป็นกล้องติดรถ ติดกระเป๋าถือ ใส่กระเป๋ากางเกง ฯลฯ สำหรับกรณี “เผื่อมีภาพอยู่เบื้องหน้า” จะได้ไม่พลาดการได้ภาพเหล่านั้น

การตอบสนองถือว่าทำได้ดีพอสมควร ในเรื่องของประสิทธิภาพและการใช้งาน การตอบสนองเยี่ยม เสียงเงียบมาก มีข้อเสียนิดๆ หน่อยๆ ตรง command dial ด้านบนมันเปลี่ยนตำแหน่งง่ายไปนิด กับ lens cap ที่น่ารำคาญหน่อยๆ (ทำให้ใช้งานมือเดียวลำบากมากๆ เมื่อเทียบกับพวกที่ใช้การเปิดปิดเลนส์แบบอัตโนมัติ) อ่อ แล้วก็อยากให้มี optical viewfinder หน่อยนึงด้วย (เดี๋ยวซื้อ optional เพิ่มเอาก็ได้)

อ่อ มีอีกหน่อย แล้วก็การเลือก aspect ratio ที่มีตัวเลื่อนตรง lens ซ้ายสุดเป็น 4:3 ตรงกลางเป็น 3:2 และขวาสุดเป็น 16:9 ซึ่งมันก็เปลี่ยนไปมาค่อนข้างง่าย คนชอบถ่าย 3:2 อย่างผมก็เลยเซ็งหน่อย เพราะว่าเวลาเอาใส่กระเป๋ากางเกง บางทีมือไปโดนนิดหน่อยพวกก็ชอบเลื่อนไปซ้ายทีขวาที เช่นเดียวกับ Focus mode แต่ว่าอันนี้ยังดีหน่อย ที่ AF อยู่บนสุด แต่ไม่แน่ใจว่าถ้าอยู่ล่างสุดมันจะดีกว่าหรือเปล่า (กดลง ง่ายกว่าดันขึ้น ดังนั้นถ้า AF อยู่ล่างสุด มันก็จะกดลงไม่ได้อีกแล้ว)

ส่วนเรื่องคุณภาพของภาพ ถือว่าทำได้เยี่ยมเกินคาด แต่อย่างหวังเอาไปเทียบกับ DSLR มากมายนัก แต่ว่าถ้ากรณีทั่วๆ ไป และเอาไว้ถ่าย street หรือว่าถ่ายเล่นถ่ายเที่ยว รับรองว่าคุณภาพไม่น่าเกลียดแน่นอน เรียกได้ว่าสวยเลยล่ะ โดยเฉพาะสีสันดีมาก ถึงจะใช้ Film mode เป็น standard ถ้าใช้ Film mode เป็น smooth ก็ถ่ายคนได้เนียนดี

แถมให้รูปนึงละกันนะครับ นอกนั้นเจอกันใน multiply รูปนี้ถ่ายที่หน้าวิหารเซียน ตอนบรรยากาศอึมครึมสุดๆ ระหว่างฝนตกหนักระลอกแรก กับก่อนฝนหนักๆ ระลอกถัดไปจะเทลงมา ใช้ Auto White Balance ตั้ง Film mode เป็น standard แล้วเพิ่ม sharpness ไป +1 ในกล้อง นอกนั้นไม่ได้ทำอะไรเลย ทั้งสีทั้งคอนทราสท์ และไม่ได้ post-process ทั้งสิ้น (ปกติผมไม่ post-process รูปอยู่แล้ว อันนี้คนรู้จักรู้กันดี) ย่อแล้วลงเลย ไม่ได้ทำการ sharpen เพิ่มเติมก่อนหรือหลังย่อ

lumix_lx3012.jpg

พอใจกับภาพและสีสันที่ได้มากมายครับ

Tamron Depth-of-Field Tool

ไม่ค่อยได้เข้าเว็บของ Tamron แฮะ วันนี้เข้าไปดู spec ของ AF28-300mm F/3.5-6.3 XR Di VC LD Aspherical (IF) Macro ชื่อยาวเป็นบ้า …. (กำลังหา walkabout lens แบบตัวเดียวเที่ยวทั่วไทยอยู่ สำหรับวันที่ไม่อยากพกเลนส์เยอะ — เมื่อวานมีเวลา 20 นาทีไปนั่งลองเล่นมา ใช้ได้เลย แต่ไม่ได้เอาไฟล์กลับมานั่งส่องที่บ้าน) ก็ไปเจออันนี้เข้า

Tamron Depth of Field comparison tool

tamrondof.png

เจ๋งดีครับ เลยเอามาแชร์กันต่อ

Nikon Digital Rangefinder?

ตอนแรกอ่าน ข่าวลือ (link: nikonrumors.com) ว่า Nikon อาจจะออก High-end Compact รุ่นสูงกว่า P6000 และจะใช้ APS sensor จาก D60 แล้วฟังหูไว้หู ถึงจะตื่นเต้นกับมันก็เถอะ

คิดๆ อยู่ เมื่อไหร่พวกค่ายใหญ่ๆ พวกนี้จะเอา Sigma เป็นตัวอย่างบ้าง เพราะว่า Sigma DP1 ที่ใช้ sensor ใหญ่ นี่ค่อนข้างดีเลยในเรื่อง image quality (จากการไปนั่งเล่นใน BIG Camera วันหนึ่ง และการอ่านรีวิวจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่าที่หาได้) ถึงจะมีประเด็นถกเถียงกันเรื่องจำนวน pixel ที่แท้จริงของ sensor ตัวนั้นก็เถอะ

คุยไปคุยมากับเพื่อนสนิท (คุณวีร์; Vman) ถึงเรื่องนี้ สรุปว่าคงยากแฮะ

แต่ว่าก็เจอมาอีกน่ะแหละ ข่าวลือ (อีกล่ะ; link ที่เดิม) ว่ามีคนเห็นต้นแบบของ Nikon Digital Rangefinder ในโตเกียว

อืมมม อันนี้น่าสนแฮะ …. และชักเข้าเค้า ว่าไอ้เจ้าตัว High-end compact ตัวที่ว่า นี่มันจะหมายถึง Rangefinder ตัวนี้หรือเปล่า? (เพราะว่าจะว่าไป ด้วยรูปร่าง ลักษณะของมัน หลายคนอาจจะมองเห็น Rangefinder พลาดเป็น compact ก็ได้ ไม่แปลก จริงๆ ก็มีหลายคนน่ะแหละ)

น่าสนใจแฮะ เพราะว่าเอา DSLR ไปถ่าย street candid/street life เนี่ย ขนาดใช้เลนส์ตัวเล็กที่สุดเท่าที่มี (35mm F/2) แล้วนะ คนยังแตกตื่นเลย ความเป็นมิตรของมันค่อนข้างน้อยจริงๆ

แต่ว่าถ้าเอากล้อง compact หรือว่ากล้องติดมือถือมาถ่าย คนมองว่าเป็นเรื่องปกติกว่าเยอะ ……. แบบว่า คงถ่ายเล่นๆ สนุกๆ มากกว่า ดูเป็นมิตรมากกว่า และเป็นเรื่องธรรมดามากกว่า … ใครๆ เค้าก็มีกัน เดี๋ยวนี้น่ะ

D700 ก็ออกไปแล้ว D90 ก็คงจะเร็วๆ นี้ และท่าทางจะมีหมัดเด็ดเรื่องถ่ายวีดีโอได้ พวก Coolpix ก็อัพเดทกันไปแล้วทั้งไลน์ ….. จะมีอะไรซ่อนอยู่อีกหว่า

APS-size sensor Rangefinder หรือว่า APS-size sensor Compact (ที่​ “เงียบหน่อย”) ก็แล้วแต่ ถ้าจริงจะกรี๊ดให้ (อย่าให้เห็นราคาแล้วกรี๊ดสลบยิ่งกว่าเดิมก็แล้วกัน)

ที่มาของ Nikkor 35mm F/2 ในกระเป๋าผม

เลนส์ที่ชอบที่สุดตัวนึง (แต่ว่าไม่ค่อยได้ใช้ … ถ่าย moving life portrait ไม่เก่ง ….. พยายามอยู่) แต่ไม่ค่อยได้ยินคนพูดถึงกันเท่า 50mm F1.4/1.8, 85mm F1.4/1.8 เท่าไหร่

เขียน blog นี้ไม่ใช่ว่าจะรีวิวเลนส์ตัวนี้หรอกนะ แต่ว่าจะ note เหตุผลทางประวัติศาสตร์เอาไว้ ว่าเหตุผลที่อยากได้เลนส์ตัวนี้คืออะไร

เรื่องของเรื่อง คือบังเอิญวันนึงไปเจอเว็บนี้เข้า

The World Through My Eyes: Nikon 35mm F2 Natural Light Portraits

ก็เลยคิดว่า อืมมม จริงๆ ตัวเองก็น่าจะมี prime lens ระยะขนาดนี้ไว้เหมือนกัน เพราะว่า 50mm พอใช้กับ FOV 1.5 sensor แล้วมันจะครึ่งๆ กลางๆ ไม่ normal ไม่ tele เป็นเลนส์ติดหน้ากล้องใช้ถ่ายไปเรื่อยๆ ตอนเดินๆ เล่นๆ ลำบากพอตัว …. 35mm น่าจะกำลังสวยเลย

อีกอย่าง เห็นในเว็บนั้น อืมม ถ่าย portrait ในที่แคบๆ ระยะใกล้ๆ สวยพอตัวเลยนี่นา (เพราะว่าเหตุผลหลักของผมในการซื้อของเล่นพวกนี้ก็คือถ่ายคน)

ก็เลยไปสอยมาซะ เร็วๆ นี้ว่าจะหาเรื่องใช้เลนส์ตัวนี้มากขึ้นอีกซักหน่อย แต่ว่าก็มีเรื่องให้อารมณ์ไม่ค่อยดีก่อนที่จะได้ใช้ซะงั้น

เอามาโน๊ตไว้ใน blog เพื่อบันทึกความจำของตัวเอง และแชร์กันครับ

จังหวะดีของคนอยากเล่น DX format?

ดูตาม webboard ที่มีการขายกล้องมือสอง ตอนนี้คนปล่อย D300, D200 กับเลนส์ DX format ดีๆ กันหลายคนเลย ตัวยอดฮิตที่ปล่อยกันก็ 17-55mm F2.8 ที่เห็นปล่อยในช่วง 35,000-40,000 กันเยอะมากผิดปกติ

สงสัยสมทบทุนเล่น D700 เป็นส่วนมาก ก็เลยปล่อยทั้งกล้องและเลนส์ที่คิดว่าจะไม่ได้ใช้

แต่ว่าตัวรองๆ ลงมาไม่ค่อยมีปล่อยแฮะ สงสัยต้องรอ D90 ออก อาจจะได้เห็นการปล่อย D80, D60 กันเยอะขึ้นเช่นเดียวกัน (ไม่รู้เหมือนกันแฮ​ะ … ถ้าผมมี D60 ยังไงๆ ก็คงไม่ปล่อยมัน เก็บไว้เป็นกล้องสำรอง)

Wishlist

เขียนระบายกิเลสตัวเอง

D700 กับ AF Nikkor 135mm F/2 DC.

ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดกิเลสน่ะเหรอ …. ที่นี่ Portrait Photo Gallery by Pablo Lee at pbase.com เห็นใช้ D3 กับ 135mm แล้ว ……. กิเลสพุ่ง

พักหลังๆ ยิ่งเห็นคนเริ่มเอาภาพจากดอยเจ็ดลี้มาโพสท์เล่นกันตามพันธ์ทิพย์ ตามไทยดี ตามฯลฯ อยู่

ก็เลยเอามาอยู่ใน Wish list ไว้ก่อน แต่ว่าจะเมื่อไหร่นี่อีกเรื่อง (คงอีกพักใหญ่ๆ มากๆ) (วีร์เคยแซวว่า อีกหน่อยคงจะเห็นผมถอย 3 กษัตริย์ตัวสุดท้าย 14-24 F2.8 … บอกได้เลยว่าตัวนั้นน่ะ ไม่อยู่ในโครงการ คงอีกนานกว่าจะเห็น ฮ่าๆ)

หูฟัง iPhone ของ Apple

เคยใช้หูฟัง Bluetooth ของ Sony Ericsson มาสองรุ่น ตัวแรกเป็นรุ่นที่เกี่ยวหู ตัวล่าสุดก็รุ่นที่เป็น in-ear จริงๆ ตัวแรกที่ใช้ก็ค่อนข้างจะ OK นะ (เพราะว่าใช้นานจนชิน) แต่ว่า background noise มันเยอะไปหน่อย เรียกว่าเก็บเสียงรบกวนในการสนทนาไม่ค่อยดีเลย (ซึ่งทำให้คุยกันไม่รู้เรื่องในกรณีที่เราขับรถอยู่แล้วเสียงเครื่องมันดัง) ส่วนตัวหลังนี่ ไม่ไหว ยังไงๆ ผมก็ไม่ชินกับพวก in-ear แฮะ (หูฟัง in-ear มีอยู่สองตัวก็ไม่ค่อยได้ใช้ รับมันไม่ค่อยได้)

ก็เลยลองหักดิบ ซื้อสิ่งที่น่าจะเป็นของเล่นราคาแพงมาเล่นอีกชิ้นหนึ่ง (ซึ่งจริงๆ ซื้อก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้ D300 นะ แต่ว่าเพิ่งจะเอามาเขียน) นั่นก็คือ Apple iPhone Bluetooth Headset ซึ่งแน่นอนว่ายังไม่มีในบ้านเรา มีแต่ของหิ้วเข้ามา ซึ่งราคามันก็จะแพงเวอร์กว่าที่ขายในต่างประเทศแน่นอน ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำใจ(ว่ะ)

แต่ว่ามันก็เป็นหูฟังที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยใช้มาน่ะแหละ ตั้งแต่ดีไซน์ที่มันไม่รกหูรกตา เรียบ และไม่เรียกร้อง คือ ทั้งคนที่ใส่มันและคนทั่วไป ไม่ต้องไปสนใจมันมากเลย มันไม่เรียกร้องสายตา ไม่เรียกร้องความรู้สึก ไม่เรียกร้องอะไรทั้งสิ้น บางครั้งผมใส่มันอยู่ยังคิดอยู่เลยว่า เอ๊ะ เราใส่มันอยู่หรือเปล่า หรือว่าหล่นหายไปไหนแล้ว แล้วก็ต้องเอามือเอื้อมไปจับที่หูดูว่ายังอยู่หรือเปล่าทุกที

เรียกว่า การดีไซน์ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราให้เนียนที่สุด put-on-and-forget มากกว่าจะดีไซน์ให้กลายเป็นจุดที่เราต้องสนใจหรือกังวลมากขึ้นกับชีวิต

ขนาดของหูฟังก็พอเหมาะกับหูผมเกือบพอดีนะ พอใส่ฟองน้ำเข้าไปแล้วก็คับนิดๆ แต่ว่าพอถอดออกมาแล้วพอดีเลย แต่ว่าก็นั่นแหละ แต่ว่าก็ใส่ไปน่ะแหละ รู้สึกแน่นดี ให้ความมั่นใจกว่าว่ายังไงๆ มันก็ไม่หลุดออกมาหรอก (อีกอย่าง ขนาดใส่ไปแล้วนะ บางทียังไม่รู้สึกว่ามีมันอยู่เลย)

คุณภาพเสียงถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเอาเรื่อง

การเชื่อมต่อกับ iPhone ทำได้ง่าย ไม่ต้องมา pair ด้วยการกดรหัสใดๆ ทั้งสิ้น แค่ชาร์จไฟคู่กับ iPhone ที่เราต้องการ pair ก็เป็นที่เรียบร้อย (ในกล่องจะมีแท่นชาร์จมาให้ และจะมีสายชาร์จ USB มาให้อีกเส้นด้วย)

ข้อเสียเท่าที่นึกออกตอนนี้ก็คือ มันมีให้เลือกสีเดียว คือสีดำ ถ้าอยากจะได้สีอื่นก็หมดสิทธิ์ (แต่ว่าผมชอบสีดำอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ถือเป็นข้อเสียสำหรับผม) แล้วก็อีกอย่างก็คือ แบตฯ หมดเร็วไปหน่อย (ถ้าเทียบกับของ Sony) ผมมีความรู้สึกว่าแบตฯ มันไปเร็วมากพอควร

อ้อ ข้อดีอีกข้อก็คือ UI ของมันที่ถือว่า killer มาก นอกจากจะเรื่องการ pair ที่โคตรจะ no-brainer แล้วก็ยังบอกปริมาณแบตฯ ที่เหลือบนโทรศัพท์ (คู่กับตัวบอกปริมาณแบตฯ ของ iPhone เอง) ซึ่งสำหรับ Bluetooth headset ตัวอื่นๆ เท่าที่รู้จักนั้นจะไม่มีวิธีการบอกปริมาณแบตฯ ที่เหลืออยู่อย่างง่ายๆ ให้เราพอจะรู้ได้เลย มารู้ตัวอีกที อ้าว แบตฯ หมดแล้ว แล้วตอนชาร์จไฟ ก็จะขึ้นปริมาณแบตฯ ควบคู่ไปกับแบตฯ ของ iPhone เองด้วยเช่นกัน

มันน่าเอาไปสอนการออกแบบ product กับการออกแบบ user interface และ usability design จริงๆ ให้ตายเถอะ

ปล. สุดท้ายนะ ผมลืมหูฟังน้อยลง เพราะว่าถอดมันออกมาด้วยความรำคาญน้อยลง